×

กินผงชูรสมากไปทำให้ผมร่วงจริงไหม? คุณหมอแนะสาเหตุที่แท้จริงของผมร่วง

25.07.2021
  • LOADING...
กินผงชูรสมากไปทำให้ผมร่วงจริงไหม?

HIGHLIGHTS

2 mins. read
  • ไม่เคยมีรายงานถึงความสัมพันธ์ของการบริโภคผงชูรสและการเกิดผมร่วง แม้บางครั้งคนไข้มักจะชอบโยงเหตุการณ์ต่างๆ หรือสิ่งที่ทำเป็นประจำกับอาการผมร่วง เช่น การใส่หมวกกันน็อก หรือการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปริมาณมาก แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุ 

 

หลายคนที่เคยสงสัยว่ากินผงชูรสมากๆ ทำให้ผมร่วงจริงหรือไม่?  

 

ขอตอบว่า ไม่จริงค่ะ เพราะเรื่องนี้ไม่เคยมีรายงานถึงความสัมพันธ์ของการบริโภคผงชูรสและการเกิดผมร่วง แม้บางครั้งคนไข้มักจะชอบโยงเหตุการณ์ต่างๆ หรือสิ่งที่ทำเป็นประจำกับอาการผมร่วง เช่น การใส่หมวกกันน็อก หรือการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปริมาณมาก เป็นต้น เพราะทางการแพทย์นั้นได้ระบุสาเหตุที่ทำให้เส้นผมของเราร่วง ดังนี้ 

 

10 สาเหตุของอาการผมร่วงที่แท้จริง

 

1. พันธุกรรม 

เมื่อโรคผมบางจากพันธุกรรมถ่ายทอดผ่านทางหลายยีนร่วมกัน โดยมาก 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายที่มีภาวะผมบางศีรษะล้านจะมีบิดาที่มีปัญหานี้เช่นกัน

 

2. ฮอร์โมนเพศชาย 

ภาวะผมบางจากพันธุกรรม (AGA) ที่ทำให้เส้นผมเปราะบางกับฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เส้นผมเล็กลงเรื่อยๆ ก่อนหลุดร่วงไปในที่สุด โดยเริ่มจากมีแนวผมที่เถิกร่น หรือผมบางช่วงกลางกระหม่อม 

 

3. ผมร่วงหลังคลอด 

ภาวะผมร่วงฉับพลันจากการไม่สบาย เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล หรือมีไข้สูงต่อเนื่อง เช่น ไข้เลือดออก การผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น

 

4. อาการเจ็บป่วยเรื้อรังและโรคของต่อมไร้ท่อ

เส้นผมสามารถร่วงได้จากผลข้างเคียงของโรคอย่างโรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง เอชไอวี รวมถึงโรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ต่ำ ไทรอยด์สูง ไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคถุงน้ำรังไข่ เป็นต้น 

 

 

5. ภาวะขาดวิตามินบางชนิด และภาวะทุพโภชนาการ 

การขาดวิตามินก็ส่งผลเช่นกัน​ โดยเฉพาะวิตามินอย่างสังกะสี, ธาตุเหล็ก, วิตามินบี 2 (Riboflavin), วิตามินบี 7 (Biotin), วิตามินบี 12, วิตามินดี, โฟเลต และซีลีเนียม เป็นต้น รวมถึงการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะการขาดโปรตีน (Protein-calorie Malnutrition) ที่ส่งผลให้ผมเส้นเล็กหรือร่วงง่าย 

 

6. ภาวะหนังศีรษะอักเสบ (Severe Seborrheic Dermatitis)

ข้อนี้รวมถึงการแพ้สัมผัสอย่างรุนแรงบริเวณหนังศีรษะ (Severe Contact Dermatitis) เช่น แพ้ยาย้อมผมอย่างรุนแรง

 

7. การกินยาบางชนิด 

เช่น ยาสิวในกลุ่ม Isotretinoin, ยาลดความดันกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์, ยาในกลุ่ม Lithium, ยาลดไขมัน 

 

8. การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย  

เมื่อร่างกายสะสมสารพิษประเภทโลหะหนักต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน หรือได้รับปริมาณมากแบบฉับพลัน เช่น สารหนู หรืออาร์เซนิก (Arsenic), แทลเลียม (Thallium), และซีลีเนียม (Selenium)

 

9. ความเครียดรุนแรง 

หลายคนอาจไม่ทราบว่าความเครียดก็ส่งผลต่อเส้นผลของเราเช่นกัน 

 

10. การถอนดึง หรือแกะเกาเส้นผมตนเอง

เส้นผมบริเวณที่ถูกถอนดึงเป็นประจำจะบางลง ถ้ายิ่งถอนต่อเนื่องกันนานๆ อาจทำให้ผมไม่ขึ้นกลับมาใหม่ 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X