หลังจากมีการตกลงความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba ที่มีการลงนามความร่วมมือในด้านการลงทุน 4 ฉบับ เพื่อต้องการขับเคลื่อนธุรกิจของไทยและขยายกำลังการค้า การผลิตของภาคธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น โดยหนังสือความร่วมมือ 4 ฉบับ มีการเน้นหนักในเรื่องต่างๆ คือ
- ความร่วมมือในด้านการค้าการลงทุนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
- ความร่วมมือด้านการลงทุน Smart Digital Hub ในพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
- ความร่วมมือด้านการพัฒนา SME และบุคลากรด้านดิจิทัล
- ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวผ่านดิจิทัลและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง
และหลังจากมีความร่วมมือเกิดขึ้น ผู้บริหาร Alibaba ยังได้ลงนามในสัญญาซื้อทุเรียนกับรัฐบาลไทย 3 ปี มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท (3,000 ล้านหยวน) โดย Tmall ได้เปิดช่องทางให้ลูกค้าชาวจีนสั่งซื้อทุเรียนหมอนทองหนัก 4.5-5 กิโลกรัม ที่ราคาลูกละ 199 หยวน (ประมาณ 990 บาท) รวมค่าจัดส่งและภาษีแล้ว จนเป็นที่มาของยอดขายถล่มทลายสองล้านลูกภายในไม่กี่ชั่วโมง (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ thestandard.co/chinese-consumers-snap-80000-durians-after-alibaba-signs-3-billion/)
จากข่าวดังกล่าว เรามองเห็นแนวโน้มและทิศทางที่ดีของภาคธุรกิจ หลายภาคส่วนก็ขานรับนโยบาย และที่น่าจับตามองคือภาคธุรกิจ SME ซึ่งนับเป็นฐานเศรษฐกิจใหญ่ของไทย และเป็นหนึ่งแกนสำคัญที่อยู่ในข้อตกลงความร่วมมือ เพราะถือเป็นโอกาสทองที่ภาคธุรกิจ SME จะได้ขยายสนามและทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้ร่วมมือกับ Alibaba เปิดหลักสูตรเพื่ออบรม SME ไทย เพื่อยกระดับธุรกิจของผู้ประกอบการ SME พร้อมผลักดันพัฒนาในด้านอีคอมเมิร์ซและการขนส่ง (อ่านเพิ่มเติมที่ thestandard.co/alibaba-sme/)
จากภาพรวมเมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโต SME ไทยควรรับมือและเตรียมความพร้อมอย่างมากสำหรับตลาดที่กำลังจะขยายขึ้น เพราะสำหรับ SME ไทยเองยังมีข้อจำกัดหลายด้านในการขยายให้ธุรกิจเติบโต เช่น ความรู้ในด้านการตลาด ความรู้ในการหาเงินลงทุน และการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจ THE STANDARD จับกระแสและชวนวิเคราะห์บริการของธนาคารพาณิชย์ที่ลงมาจับกลุ่มลูกค้าธุรกิจอย่าง SME หนึ่งประเด็นที่หลายธนาคารแห่ทำกันก่อนหน้านี้คือการเริ่มยกเลิกค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสนามใหญ่ที่ทุกธนาคารกระโดดเข้ามาต่อสู้เพื่อมัดใจลูกค้า ทั้งรายย่อยและกลุ่มธุรกิจ การยกเลิกค่าธรรมเนียมอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะยกตัวอย่าง ธนาคารทีเอ็มบี (TMB) ได้มีการรุกตลาดในการฟรีค่าธรรมเนียมมานานแล้ว รวมถึงการพัฒนาในเรื่องของดิจิทัล ที่ทีเอ็มบีนับเป็นผู้ริเริ่มรายแรกๆ ในการให้ลูกค้าได้บริหารจัดการการทำธุรกรรมด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพาสาขา เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเป็นหลัก
กลับมาที่เรื่องของ SME หลายธนาคารก็ลงสนามแข่งขันกันอย่างจริงจัง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งปล่อยโปรดักต์ออกมามากมายเพื่อจับกลุ่มธุรกิจ SME ในทุกระดับ และมีหนึ่งโปรดักต์ที่น่าจับตามองคือ TMB BIZ WOW ที่ธนาคารทีเอ็มบีปล่อยออกมาเพื่อเป็นหมัดเด็ด โดยเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ บริการนี้น่าสนใจอย่างไร ลองมาถอดดูไอเดียไปพร้อมกัน จากการพูดคุยกับทีมงานที่ดูแล เราได้ข้อมูลว่า การเริ่มทำโปรดักต์นี้ได้เกิดขึ้นจากการทำรีเสิร์ชอย่างจริงจังถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าธุรกิจว่าสิ่งที่อยากได้คืออะไร อยากพัฒนาธุรกิจของตัวเองในส่วนไหนสำหรับเรื่องของสิทธิประโยชน์ เราเห็นชัดว่าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มรายย่อย บริการของบัตรเครดิต แต่นี่นับเป็นครั้งแรกที่มีการหันมาทำสิทธิประโยชน์เพื่อกลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME อย่างแท้จริง
TMB BIZ WOW แตกต่างและโดดเด่นอย่างไร นี่คือสิ่งที่เราอยากรู้ และเมื่อหาข้อมูล สิ่งที่เราจับจุดเด่นได้คือ การดึงสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมความต้องการของกลุ่ม SME สอดคล้องกับข้อจำกัด โดยภาพรวมที่กลุ่ม SME กำลังเผชิญนั่นคือ สิทธิประโยชน์ที่ได้ คือการนำคะแนนสะสมเลือกรับการอบรมหรือการเรียนรู้ในคอร์สที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ทั้งในแง่การจัดการ ระบบขนส่ง และด้านการตลาดของ SME นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า ให้ได้มากกว่า คือการให้ความรู้เพื่อต่อยอดให้กับลูกค้า นี่คือการตีโจทย์ที่ชาญฉลาดและมองอย่างเข้าใจกลุ่มธุรกิจ ส่วนสิทธิประโยชน์ในด้านไลฟ์สไตล์ก็ยังคงมี และดูจากข้อมูลก็พอจะจับไอเดียได้ว่า เป็นการคัดสรรมาเพื่อธุรกิจ SME ระดับบน เพราะในแง่ไลฟ์สไตล์คือเจาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจในระดับผู้บริหาร
ในการเดินเกมด้านบริการที่ยึดความเข้าใจในธรรมชาติของกลุ่มลูกค้าเป็นหลักถือว่าเป็นการข้ามขั้นของธนาคารพาณิชย์ TMB BIZ WOW สามารถเรียกได้ว่าเป็นสิทธิประโยชน์ที่ร่วมพัฒนาศักยภาพของ SME ไทย ให้ได้ขยับเข้าไปแข่งขันในระดับภูมิภาคได้อย่างมีความพร้อมด้วยแนวคิด ‘เป็นมากกว่าแค่ธนาคารผู้ให้บริการ’ นี่คือการปรับตัวที่ขยับเข้าไปใกล้ลูกค้าด้วยการมองเห็นความต้องการและความจำเป็นในแบบพาร์ตเนอร์ของธุรกิจ ที่มุ่งหวังต้องการให้ทั้งธนาคารและลูกค้าเติบโตไปพร้อมกัน
- TMB BIZ WOW เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ หรือ SME เมื่อเปิดบัญชี TMB SME One Bank แล้วทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน TMB BIZ TOUCH
- ดูข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ www.tmbbank.com/bizwow/ หรือโทร SME Center 0 2828 2828