×

อุปกรณ์กู้หัวใจ AED กับภารกิจยิ่งใหญ่บนพื้นที่เล็กๆ ของ AP [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
13.09.2017
  • LOADING...

     รู้ไหมว่า ระยะเวลา 1 ชั่วโมงที่เราใช้ไปกับการนอนดูซีรีส์โปรดอยู่บนเตียงหนานุ่ม มีคนไทยถึง 6 คนเสียชีวิตลงอย่างไม่มีสัญญาณบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ‘โรคหัวใจ’

     เพราะชีวิตคนเรานั้นแสนสั้นและคาดเดาไม่ได้ ส่วนใหญ่อาการแรกที่แสดงออกว่าคุณเป็นโรคหัวใจ มักเป็นอาการสุดท้ายและส่งผลให้เสียชีวิตทันที จากสถิติพบว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันคร่าชีวิตคนไทยไปกว่า 54,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 6 คนต่อชั่วโมง ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดอันดับ 3 รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุ

 

 

     อธิบายอย่างรวบรัด ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้กะทันหัน ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกที่ทุกเวลา ผู้ที่สมองขาดเลือดจากภาวะนี้จะหมดสติลงในเวลาไม่กี่วินาที และควรได้รับการช่วยเหลือภายใน 4 นาที ก่อนที่เนื้อสมองจะเริ่มเสียหาย

     แน่นอนว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่นนี้มักจะเกิดนอกโรงพยาบาล ประชาชนทั่วไปจึงมีความสำคัญในการช่วยเหลือมากที่สุด หน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรเอกชนหลายประเทศได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ และมีโอกาสฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตเกือบ 50% มากกว่าโอกาสรอดชีวิตด้วย CPR เพียงอย่างเดียว ซึ่งอยู่ที่ 27%

 

 

รู้จัก AED อุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ต้องการพื้นที่น้อยนิด

     เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ Automatic External Defibrillator (AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดพกพาที่สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และรักษาด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานปกติ สิ่งที่ผู้ช่วยเหลือหรือผู้ใช้อุปกรณ์ต้องทำก็แค่เพียงปฏิบัติตามเสียงอธิบายแต่ละขั้นตอนจาก AED

     ด้วยคุณประโยชน์มหาศาลและอาศัยพื้นที่ติดตั้งไม่มาก (กว้างและสูงราวๆ ผู้ใหญ่ 1 คน) ปัจจุบัน AED กลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ควรติดตั้งในพื้นที่สาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมาก เช่น สนามบิน ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า อีเวนต์วิ่งมาราธอน รวมถึงอาคารที่พักอาศัยต่างๆ ซึ่งญี่ปุ่นครองแชมป์การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตไซส์กะทัดรัดนี้ด้วยจำนวนกว่า 600,000 เครื่องทั่วประเทศ

     แม้ในประเทศไทยจะยังไม่มีการติดตั้ง AED ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยง แต่หลายองค์กรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เครื่อง AED ทั้งภาครัฐอย่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่รณรงค์การเรียนรู้ขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำปรึกษาผ่านสายด่วน 1669 และภาคเอกชนอย่าง AP (Thailand) ที่เพิ่งเปิดตัวแคมเปญเพื่อสังคมใหม่ล่าสุด มุ่งติดตั้ง AED ในคอนโดมิเนียมกว่า 40 โครงการ

 

 

พื้นที่ช่วยชีวิตขนาด 0.1 ตารางเมตรในคอนโด AP

     ‘ขอพื้นที่เล็กๆ ให้หัวใจได้เต้นต่อ’ หรือ ‘The Smallest Space to Save Lives’ คือชื่อแคมเปญเพื่อสังคมอันล่าสุดของ เอพี ไทยแลนด์ ที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่เล็กๆ ให้เป็นพื้นที่ที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน จึงริเริ่มจัดสรรพื้นที่ 0.1 ตารางเมตรเพื่อติดตั้ง AED ภายในคอนโดทุกโครงการ

 

 

     นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าคอนโดมิเนียม บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่า “ปัจจุบัน เอพีมีคอนโดที่สร้างเสร็จและบริหารจัดการโดยบริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด อยู่รวมกว่า 40 โครงการ และราวกว่า 25,000 ครอบครัวที่เราดูแล เราจึงไม่ลังเลที่จะติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED ให้ลูกบ้านรู้สึกอุ่นใจและมั่นใจในคุณภาพชีวิต โดยเรากำลังเดินหน้าติดตั้ง AED และจะติดตั้งให้ครบทั้งหมดกว่า 40 โครงการโดยเร็วที่สุด และสำหรับคอนโดมิเนียมที่กำลังจะก่อสร้างเสร็จในปี 2560 เป็นต้นไป บริษัทก็จะจัดเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง AED ไว้เช่นกัน”

 

 

จุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่เป้าหมายยิ่งใหญ่

     ไม่ใช่เพียงติดตั้งอุปกรณ์ที่ดี แต่ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย เอพีต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม จึงจับมือกับ พ.ต.อ.นพ.โสภณ กฤษณะรังสรรค์ ประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิตและที่ปรึกษาคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท รักษาความปลอดภัยไทยซีคอม จำกัด เพื่อถ่ายทอดความรู้การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้เข้าถึงคนทั่วไปมากที่สุด

 

     “การสอนแพทย์กู้ชีพเพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ เนื่องจากภาวะนี้มักเกิดนอกโรงพยาบาล และผู้ป่วยไม่สามารถถึงโรงพยาบาลภายใน 4 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทัน ดังนั้นการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือการส่งต่อความรู้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เมื่อประสบเหตุ และควรมีอุปกรณ์ AED ติดตั้งอยู่ในจุดที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ทันที” พ.ต.อ.นพ.โสภณ กฤษณะรังสรรค์ กล่าว

 

 

     นอกจากคอนโดมิเนียมภายใต้การดูแล เอพียังมอบ AED ให้กับศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ท่าเรือสาทร และศูนย์ประสานงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เขตธนบุรี เพื่อติดตั้งเป็นสาธารณประโยชน์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นด้วย

     คงไม่น่าแปลกใจ หากนับจากนี้ไปเราจะได้เห็นการร่วมมือกันของเอพีและองค์กรมากมาย เพื่อก้าวสู่เป้าหมายสูงสุดที่ว่า ‘การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับสังคมไทย โดยเริ่มต้นที่สังคมเล็กๆ ในโครงการต่างๆ ของเอพี’

 

อ้างอิง:

FYI
  • บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ถือเป็นผู้นำด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สำหรับคนเมืองและคอนโดมิเนียมติดแนวรถไฟฟ้า โดยเน้นแบบบ้านที่ตรงกับความต้องการผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม แต่ละทำเล ภายใต้แบรนด์ดังต่อไปนี้
  • คอนโดมิเนียม ได้แก่ VITTORIO, THE ADDRESS, RHYTHM, LIFE และ ASPIRE 
  • บ้านเดี่ยว ได้แก่ THE PALAZZO, THE CLASSE, SOUL, BAAN KLANG KRUNG, THE CITY, MIND, CENTRO และ GRANDE PLENO
  • ทาวน์โฮม ได้แก่ บ้านกลางเมือง และ PLENO
  • โฮมออฟฟิศ ได้แก่ DISTRICT
  • บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด คือบริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเครือเอพี ทำหน้าที่ดูแลหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุด ทั้งงานบริการลูกค้า งานซ่อมแซมบ้าน งานสาธารณูปโภคภายในโครงการ ตลอดจนจัดตั้งนิติบุคคลเข้าไปช่วยในการบริหารงาน อำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ลูกบ้าน
  • ติดตามข้อมูลแคมเปญ ‘The Smallest Space to Save Lives’ เพิ่มเติมได้ที่ www.smallestspacetosavelives.com
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising