×

Networking Q&A – Neurotechnology เจาะลึกสมองมนุษย์สู่การตลาดแห่งอนาคต

โดย THE STANDARD TEAM
05.09.2024
  • LOADING...
Neurotechnology

พงศกร เวชการ ทีมนักวิจัย จาก Brain-computer Interface Lab, Mahidol University เล่าภาพรวมของ Neurotechnology ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายได้ในเชิงธุรกิจ ใน ‘Networking Q&A Session’ เซสชันพิเศษในงาน The Secret Sauce Summit 2024: Winning the New Wave เกมธุรกิจชนะโลกใหม่

 

Neurotechnology เครื่องวัดสัญญาณสมองทำงานอย่างไร?

  • สมองคนมีกระแสไฟฟ้าแล่นอยู่ทั่ว เครื่องวัดสัญญาณสมองทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าจากสมองแต่ละส่วน แล้วทำหน้าที่ประมวลผลออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ แบบเรียลไทม์
  • สมองส่วนไหนความถี่สูงขึ้นแสดงว่าทำงานมากขึ้น เช่น สมองส่วนหน้าเกี่ยวข้องกับการคำนวณ การใช้ความคิด และจินตนาการ สมองส่วนข้างเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว สมองส่วนหลังเกี่ยวกับการมองเห็น

 

Neurotechnology ช่วยเรื่องการตลาดอย่างไร?

  • คลื่นสมองไม่โกหก เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้บริโภคชอบหรือไม่ชอบอะไร
  • รู้ผลแบบเรียลไทม์ และลดภาระการทำแบบสอบถาม เช่น การดูวิดีโอหนึ่งคลิป แล้วให้ผู้บริโภคตอบแบบสอบถาม เราจะรู้คร่าวๆ ว่าเขาชอบหรือไม่ชอบวิดีโอส่วนไหน
  • ขณะที่เทคโนโลยีนี้สามารถระบุได้ทันทีว่าวินาทีไหนที่เขาชอบที่สุด และทำให้เราประมวลได้ทันทีว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่เขาสนใจ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวินาทีเป็นอย่างไร
  • เมื่อเราวิเคราะห์และเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งในระดับสมอง จึงนำไปสู่การสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดได้ตรงใจมากขึ้น

 

Neurotechnology มีความแม่นยำแค่ไหน?

  • อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกหรือลบขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล จึงไม่อาจใช้ข้อมูลจากสัญญาณสมองของคนเพียงคนเดียวได้
  • บางอารมณ์ความรู้สึกที่ใกล้เคียงกัน เช่น ความสุข สนุกสนาน เราอาจแบ่งชัดไม่ได้ว่าคืออารมณ์แบบไหน แต่จะบอกว่า ‘มีแนวโน้ม’ จะไปทางอารมณ์แบบไหน โดยวัดว่าเร้าอารมณ์แค่ไหน และอารมณ์นั้นไปในเชิงบวกหรือลบ

 

Neurotechnology ต่อยอดกับ AI ได้อย่างไร?

  • เมื่อ AI คือการใช้ข้อมูลที่มีในการประมวลผล การให้ AI ใช้ข้อมูลที่ได้จาก Neurotechnology จะทำให้เราเข้าใจสมองมนุษย์ในแบบที่ลึกขึ้น

 

Neurotechnology ช่วยอะไรได้อีกบ้าง?

  • สามารถให้ผู้พิการที่ขยับร่างกายไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในการสื่อสาร กระทั่งเล่นเกมได้
  • เด็กออทิสติก หรือผู้ป่วยติดเตียงที่สมองบางส่วนอาจทำงานน้อยหรือมากเกินไป สามารถวัดสมองแล้วออกแบบกิจกรรมให้สมองแต่ละส่วนทำงานได้มากขึ้นหรือน้อยลงได้
  • ออกแบบเป็นอุปกรณ์ป้องกันการหลับใน เมื่ออุปกรณ์จับสัญญาณคลื่นสมองและคาดการณ์ได้ว่าเรากำลังจะหลับ ก็จะมีการส่งสัญญาณเตือน
  • ใช้ในการช่วยทำกายภาพบำบัด ฟื้นฟูประสาทสัมผัสจนถึงกล้ามเนื้อ
  • ใช้ในวงการศิลปะ เช่น การทำ Interactive Art

 

#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #TheSecretSauceSummit2024

 
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X