×

‘Self-Care’ และนวัตกรรม ทางออกเปลี่ยนระบบสุขภาพไทยที่ไม่พร้อม ให้พร้อมรับมือสังคม 100 ปี

โดย THE STANDARD TEAM
25.11.2023
  • LOADING...
Self-Care

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023: FUTURE READY THAILAND เศรษฐกิจไทยไล่ล่าอนาคต เวที ‘The 100-Year Life: Thailand’s Action for a Super-Aged Society เตรียมประเทศไทยให้พร้อมรับสังคม 100 ปี’ ที่ร่วมเสวนาโดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และ นันทิวัต ธรรมหทัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA)

 

นพ.ฉันชาย คิดว่าการทำให้ระบบสาธารณสุขไทยพร้อมจะรองรับสังคมผู้สูงอายุ และเป็นสังคมสูงอายุที่สุขภาพดี ตายจากไปแบบสงบนั้น ต้องใช้หลายอย่างประกอบกัน หนึ่งในนั้นคือเทคโนโลยีที่ต้องให้มีการเข้าถึงมากขึ้น แต่ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าจะใช้เพื่ออะไร ซึ่ง ดร.ฉันชายเน้นย้ำกับทีมเสมอว่า เทคโนโลยีต้องมีไว้แชร์ ไม่ใช่เอาไว้โชว์ และประเด็นสำคัญที่สุดของการมีระบบสุขภาพที่ยั่งยืนได้เริ่มต้นที่ ‘Self-Care’

 

เทคโนโลยีต้องทำให้ผู้ป่วยหรือคนธรรมดาดูแลตัวเองได้ดีขึ้น หรือเข้าถึงบริการโดยที่ไม่ต้องมาโรงพยาบาล รวมถึงควรนำ Genetics Medicine มาประยุกต์ใช้ มียาที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคบางอย่างได้ ตลอดจนมีระบบสุขภาพที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งข้อดีของไทยคือเรายังใช้เงินในระบบสุขภาพไม่เกิน 5% ของ GDP แต่ต้องคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้ยั่งยืนด้วย 

 

ทั้งนี้ นพ.ฉันชายยังเน้นย้ำว่า ความยั่งยืนของระบบสุขภาพประเทศไทยในอนาคตคือ ‘Self-Care’ ที่หมายถึงทุกคนมีบทบาทในการดูแลตัวเอง รู้จักป้องกันไม่ให้เป็นโรค เมื่อป่วยก็วินิจฉัยให้ได้เร็ว ร่วมมือกับหมอในการรักษา และเมื่อป่วยมากก็มีสิทธิ์ตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะตายอย่างไร 

 

ทางด้าน ดร.ศุภวุฒิ เห็นด้วยว่า Healthcare จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ เราไม่สบายก่อน และถึงค่อยไปรักษา แต่ในระยะหลังมานี้มีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจดูยีนส์ได้ตั้งแต่เกิดเลยว่า เรามีความเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรบ้างในชีวิต ดังนั้น เรื่องของประกันสุขภาพจึงจะเป็นเรื่องของ Co-Financing มากกว่า ว่าแต่ละคนจะเป็นโรคอะไร มากเท่าไร และหากรัฐบาล บริษัทประกัน และประชาชนมาเป็น Co-Financing ร่วมกันน่าจะดียิ่งขึ้น และทุกวันนี้เทคโนโลยีการตรวจยีนส์ก็ถูกลงเรื่อยๆ แล้ว 

 

สำหรับ นันทิวัต ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) กล่าวว่า ในมุมมองของอุตสาหกรรมยา สิ่งที่ดีที่สุดคือการที่ทุกคนช่วยกันดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเรื่องของอาหารการกิน และการออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด แต่หลายครั้งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในคนหมู่มาก ถ้าหากปรับพฤติกรรมไม่ได้ ยาก็มีบทบาทช่วยลดอาการบางส่วนลง หรือทำให้คนที่ไม่มีอาการน้อยไม่เพิ่มขึ้นเป็นอาการหนัก ยาจึงเข้ามาตอบโจทย์เรื่องคุณภาพชีวิต และ Productive Workforce ที่หายไปจากการเป็นโรคต่างๆ ของคนไทย 

 

ดังนั้น นวัตกรรมจะมาตอบโจทย์คุณภาพชีวิต และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Genetics Medicine ทั้งหมดนี้จะกลับมาตอบโจทย์ว่า ถ้าไม่มีนวัตกรรมที่แพงในช่วงเริ่มต้นก่อน ในอนาคตก็ไม่สามารถมีนวัตกรรมที่ถูกได้ 

 

ประเทศไทยมีระบบสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดีด้วยงบประมาณที่ลงทุนในปัจจุบัน และการผลักดันในเรื่องนโยบายของสุขภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพแต่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจด้วย โดยการวิจัยยา Biologics เครือข่ายในไทยมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว บริษัทยาในต่างประเทศก็มีการเข้ามาลงทุนการวิจัยทางคลินิกในไทยมากมาย ดังนั้น ข้อเสนอที่จะยกระดับระบบสุขภาพของไทยได้คือ พยายามทำให้เครือข่ายสุขภาพและบุคลากรเข้มแข็ง เพื่อให้มีการเข้ามาลงทุนการวิจัยทางคลินิกในไทยเพิ่มมากขึ้น ที่นอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาบุคลากรและการให้บริการระบบสุขภาพแล้ว วันหนึ่งไทยอาจเป็นฮับการวิจัยและพัฒนายา Biologics ได้ รวมถึงข้อมูลหรือ Data เองก็เป็นเรื่องสำคัญ การจะทำวิจัยต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นไทยจะต้องให้ความสำคัญในส่วนนี้ด้วย 

 

ในส่วน ดร.ยศชนัน ชวนมองว่า วันนี้ถ้าเราดูการทำนวัตกรรมทางการแพทย์ในไทย จะมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ มหาวิทยาลัย รัฐบาล องค์กรด้านสุขภาพ หรือโรงพยาบาล 

 

ในบางครั้ง HealthTech Start-up ก็มีงานวิจัยบางอย่างที่ผาดโผนมาก แต่ภาคเอกชนไม่พร้อมรับนำไปขาย และ HealthTech Start-up บางทีก็ไม่มีเงิน Angel Investor และ Venture Capitalist จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยกำลังขาดอยู่ อีกทั้งไทยยังขาดนวัตกรรมที่เกี่ยวกับด้านสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค ที่มีสัดส่วนกว่า 64% ด้วย แต่ไทยมีความสามารถที่จะสร้างนวัตกรรมจาก Medical Service ที่เราเป็นผู้นำได้ เพราะเรามีข้อมูลในส่วนนี้เยอะได้ 

 


 

Post Content

📌 อัปเดตเทรนด์โลกกว่า 20+ Sessions ซื้อบัตรชมย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/TSEF2023ED 

 

✅ ราคาพิเศษ! 2,500 บาท ถึง 31 ธ.ค. 66 เท่านั้น

✅ รับชมออนไลน์ทุกที่ทั่วโลก 

✅ ดูย้อนหลังนาน 6 เดือน (1 ธ.ค. 66 – 31 พ.ค. 67)

✅ สรุปเนื้อหา Visual Summary ทุกเวที

 

Media Partner

📌 รับสรุปเนื้อหาทุกเวที 20+ Sessions 

ซื้อบัตรชมย้อนหลังวันนี้ดูได้นานถึง 6 เดือน

https://bit.ly/TSEF2023MP 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X