×

‘From Challenge to Opportunity พลิกความท้าทายเป็นโอกาส ฉบับธุรกิจครอบครัว’ คู่มือต่อยอดความสำเร็จให้รอดทุกรุ่นจาก THE SME HANDBOOK by UOB Season 7 [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
10.10.2023
  • LOADING...
THE SME HANDBOOK by UOB Season 7

The Family Firm Institute สมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำกับธุรกิจครอบครัว เผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลกพบว่า ธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดอยู่ที่ 100% รุ่นที่ 2 อัตราการอยู่รอดอยู่ที่ 30% รุ่นที่ 3 อัตราการอยู่รอดเหลือเพียง 12% และรุ่นที่ 4 อัตราการอยู่รอดเหลือแค่ 3% เท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็นับเป็นความท้าทายอย่างมากทั้งกับผู้ส่งมอบและทายาทที่รับไม้ต่อ 

 

ธุรกิจครอบครัวมีความท้าทายของการทำธุรกิจที่ต่างไป ทั้งเรื่องการสื่อสารภายในครอบครัว ผลประโยชน์ ความโปร่งใส ความเชื่อใจ และโครงสร้างองค์กร แต่ถ้าจะมองสิ่งเหล่านี้เป็นกำแพงที่ต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ หรือมองเป็นประตูที่แค่ใช้กุญแจให้ถูกดอกก็สามารถออกไปเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

 

 

ศ.พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ อดีตประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ในฐานะผู้ที่เห็นธุรกิจมาหลายรูปแบบและให้คำแนะนำธุรกิจมากมาย มองว่า หนึ่งในความท้าทายของการทำธุรกิจครอบครัวในช่วงเวลานี้คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล วิกฤตโควิด-19 หรือแม้แต่เรื่องของภูมิศาสตร์การเมืองทั้งรัสเซีย-ยูเครน และจีน-อเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เศรษฐกิจของจีนที่เชื่อมโยงมาถึงไทย

 

“การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กระทบธุรกิจครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ ธุรกิจบริการของไทยก็กระทบ เพราะพลังที่ขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs ไทยส่วนใหญ่จะเป็นภาคบริการ เช่น โรงแรมและการท่องเที่ยว ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมในช่วงหลังๆ จะมีปัญหาเรื่องของกฎกติกาการค้าโลกหรือภาษีคาร์บอนเครดิต (CBAM) ซึ่งหลายธุรกิจครอบครัวของไทยที่ยังมีขนาดเล็ก อาจไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงเวลาที่จะต้องเรียนรู้ ปรับตัว หรือเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจไปเลย”

 

แต่หากพลิกมุมมอง ธุรกิจครอบครัวมีข้อแตกต่างในเรื่องของการมีเจ้าของคนเดียว หรือ 2-3 คน ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้รวดเร็ว แต่คำถามที่น่าสนใจคือ เจ้าของ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้น มีความพร้อมแค่ไหนที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ศ.พิเศษ กิติพงศ์ ยังบอกต่อว่า “ธุรกิจครอบครัวที่อยู่มาอย่างน้อย 20-30 ปี เริ่มมีลูกหลานเข้ามาทรานส์ฟอร์มและดูแลต่อ เข้ามาสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้ ซึ่งตรงนี้ถ้าเจ้าของหรือลูกหลานสามารถนำ Know How หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับได้ ก็นับว่าเป็นโอกาส เพราะสามารถเปลี่ยนง่าย ไม่ต้องไปขอผู้ถือหุ้น ไม่ต้องเข้าประชุม นี่คือโอกาส

 

“การปรับตัวเร็วเพื่อคว้าโอกาสให้ทันเป็นเรื่องสำคัญ” ศ.พิเศษ กิติพงศ์ ยังย้ำว่า “ถ้าไม่ยอมเปลี่ยน ไม่ยอมรับ ยังยึดติดกับความสำเร็จแบบเดิมๆ ที่เคยทำมา ก็จะรอดยาก” 

 

 

ธุรกิจครอบครัวจำเป็นต้องใหญ่ถึงจะขยับตัวไปอีกสเต็ปหรือไม่ ศ.พิเศษ กิติพงศ์ บอกว่า ความใหญ่ไม่ใช่ประเด็น สิ่งสำคัญคือพื้นฐานของธุรกิจครอบครัวต้องดี เพราะโครงสร้างดีมีชัยไปกว่าครึ่ง พร้อมชี้ให้เห็นถึงรูปแบบของธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจะมี 3 สิ่งที่เหมือนกัน คือ

 

  1. สมาชิกในครอบครัวมีเป้าหมายร่วมกัน 
  2. ผู้ก่อตั้งหรือรุ่นส่งมอบพร้อมส่งต่อธุรกิจให้ลูกหลาน 
  3. สื่อสารบ่อยๆ 

 

เมื่อถามว่า แล้วอะไรคือวิธีเชื่อมธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นให้ไปต่อได้ โดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างการส่งมอบธุรกิจไปสู่เจเนอเรชันถัดไป ศ.พิเศษ กิติพงศ์ บอกว่า สิ่งสำคัญคือ ‘การเปิดใจ’

 

“ต้องเปิดใจที่จะรับความรู้ใหม่ๆ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เปิดใจที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงานของครอบครัว ถ้าทำไม่ได้ก็อาจลองหามืออาชีพเข้ามาช่วยแนะนำในเรื่องการวางแผน โครงสร้างทุน การระดมทุน การหาหุ้นส่วน หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเอง แต่หลักๆ ถ้ามันจะสะดุดคงเป็นเรื่องของการสื่อสาร มีการทำวิจัยพบว่า ธุรกิจครอบครัวที่ล่มสลายกว่า 60% เกิดจากการขาดการสื่อสาร พอไม่สื่อสารกันก็นำไปสู่ความไม่เชื่อใจ ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จใหญ่โตบนโลกนี้เกิดจากการร่วมมือของคนในครอบครัว” 

 

 

คำถามต่อมาคือ แล้วควรส่งต่อให้ลูกหลานหรือส่งต่อสู่มืออาชีพดี มีอะไรเป็นตัวชี้วัดก่อนตัดสินใจ

 

“ถ้าธุรกิจไม่ได้ใหญ่มาก คนที่ควรจะส่งมอบให้คือลูกหลาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องถามความสมัครใจก่อนว่าลูกหลานอยากทำไหม ต้องเริ่มด้วยการสื่อสารกัน ถ้าอยากให้ลูกหลานสืบต่อก็ต้องปล่อยวาง แล้วทำหน้าที่แค่กำกับดูแลอยู่ห่างๆ เพราะถ้าพ่อแม่เผด็จการ สั่งโน่นสั่งนี่ ก็คงไม่มีใครอยากทำ

 

“แต่ถ้าหากลูกหลานไม่อยากทำ เราสามารถให้มืออาชีพมาช่วยจัดการ แล้วจัดสรรหุ้นให้กับลูกหลานเพื่อสืบทอดธุรกิจต่อ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องคุยกันให้มากๆ ระหว่างทั้งสองรุ่น ก่อนที่จะเอามืออาชีพเข้ามาจัดการ” ศ.พิเศษ กิติพงศ์ กล่าว 

 

สูตร 6C เพื่อคนทำธุรกิจครอบครัวที่กำลังมองหาโอกาสบนโลกที่มีแต่ความท้าทาย

 

  • Corporate Structure จัดโครงสร้างให้ดี ทำเอกสารกฎหมายให้ครบ และเสียภาษีให้ถูกต้อง เพราะโครงสร้างดีมีชัยไปกว่าครึ่ง 
  • Compensation กำหนดความเป็นเจ้าของและผลตอบแทนให้ลูกหลานอย่างชัดเจน ทั้งการแบ่งหุ้น เงินเดือน โบนัส และเงินปันผล 
  • Communication คนในครอบครัวต้องมีการสื่อสารกันบ่อยๆ ทั้งในแง่นโยบายและการทำธุรกิจ
  • Conflict Resolution การทำธุรกิจย่อมต้องมีความขัดแย้ง แต่ไม่ควรมีการฟ้องร้องเป็นคดีมรดก จนอาจทำให้ธุรกิจล่มสลาย ควรใช้วิธีเจรจาไกล่เกลี่ย 
  • Care Compassion มีความเอื้ออาทรและความกรุณา เอาใจเขามาใส่ใจเรา 
  • Change ต้องเปลี่ยนแปลงให้เร็ว ทั้งในแง่ของความคิดและการทำงาน 

 

ตัวชี้วัดที่บอกว่าธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จคืออะไร

 

ศ.พิเศษ กิติพงศ์ บอกต้องวัดกันที่ ‘ความยั่งยืน’

 

“ลองสังเกตดูว่า ธุรกิจครอบครัวไทยที่มีอายุเกินร้อยปีนั้นมีไม่ถึง 10 บริษัท และในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งเดียวที่เป็นเจ้าของเดิม ส่วนที่เหลือถูกเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว เช่น โรงแรมโอเรียนเต็ล หรือบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ดังนั้นถ้าผมจะดูว่าบริษัทไหน ‘ยั่งยืน’ แปลว่าเขา ‘ยังอยู่’ จนถึงทุกวันนี้ อยู่แล้วลูกหลานยังรับช่วงต่อ บริษัทยังสร้างรายได้ สิ่งนี้นับว่าเป็นความสำเร็จแล้ว”

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising