×

คู่มือเข้าใจโลกเสมือน ก่อน ‘เปิดประตู Metaverse เชื่อมโลกธุรกิจ SMEs’ และเฟรมเวิร์กพร้อมใช้งาน จาก THE SME HANDBOOK by UOB Season 4 [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
15.07.2022
  • LOADING...
THE SME HANDBOOK by UOB Season 4

แม้ว่าตอนนี้ Metaverse จะอยู่ในช่วง Early Adoption แต่ ARK Invest บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่บริหารกองทุน Active ETF คาดว่าภายในปี 2025 รายได้จาก Virtual World จะมีมูลค่ามากถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

หากมองประเทศใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่นที่มีโครงการ Cybernetic Avatar (CA) ลงทุนพัฒนาเพื่อผลักดันวิถีชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น หรือเกาหลีใต้ไปไกลถึงขั้นบรรจุแผน Metaverse เข้าไปในการพัฒนาเมือง ศิลปะ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว บริการสาธารณะ และด้านอื่นอีกมากมายด้วยการทำ ‘Metaverse Seoul’ 

 

ประเทศไทยเองก็มีความพร้อมหลายด้าน แต่อาจยังขาดการพัฒนาอย่างจริงจัง ณัฐเศรษฐ์ ไตรทิพย์เจริญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจโนไซส์ ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ผู้ก่อตั้ง Brandverse และร่วมมือกับหลายภาคส่วนเพื่อสร้างแพลตฟอร์ม Metaverse ให้กับประเทศไทยผ่าน T-Verse เชื่อว่า หากได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จะกลายเป็นพื้นที่สำคัญในการทำธุรกิจในอนาคต จึงชวนผู้ประกอบการที่อยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลนฤมิต เจาะลึกคำตอบเรื่อง Metaverse สำหรับคนทำธุรกิจ และค้นหาโอกาสที่มีในพอดแคสต์ THE SME HANDBOOK by UOB Season 4 รวม Know-How การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ SMEs 

 

 

รู้จัก Metaverse จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ 

ถ้าไล่กันตั้งแต่ความหมาย ณัฐเศรษฐ์ให้คำตอบว่า Metaverse ประกอบร่างจาก Meta แปลว่า เหนือกว่า และ Verse มาจาก Universe เกิดเป็นความหมายใหม่ว่า ‘จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ’ 

 

แต่ถ้าสรุปแบบเข้าใจได้ในทันที Metaverse คือ โลกเสมือนบนอินเทอร์เน็ต ที่เราสามารถสร้างตัวตนใหม่ในแบบที่เราอยากจะเป็นผ่านตัวละครจำลอง หรือที่เรียกกันว่า Avatar เมื่อมีตัวตนก็สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับ Avatar อื่นๆ ทำกิจกรรม เข้าสังคม พบปะพูดคุยกับเพื่อน ประชุมงาน ช้อปปิ้ง หรือเล่นเกมร่วมกันกับผู้คนทั่วโลกในโลกเสมือนได้ 

 



แล้วที่บอกว่า หากโลกเสมือนนี้ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จะกลายเป็นพื้นที่สำคัญในการทำธุรกิจในอนาคต SMEs ที่อยากเข้าร่วมจะต้องมีความรู้เรื่องใดบ้างนั้น ณัฐเศรษฐ์ให้เริ่มต้นจากการเรียนรู้ระบบนิเวศของ Metaverse ที่มีความเชื่อมโยงกันใน 4 มิติ ได้แก่

 

  1. ชีวิต (Identity) ในโลกเสมือนจะเป็นการสร้างตัวตนแบบ 3D Avatar ในรูปแบบที่เราอยากจะเป็น เมื่อมีตัวตนแล้วจึงจะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนผ่านกิจกรรมต่างๆ
  2. ความปลอดภัย (Security) ในแต่ละกิจกรรม เช่น การเรียน การกู้เงิน หรือการเล่นเกม ต้องมีระบบยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสอบว่าคนที่เข้ามาคือคนจริงๆ จึงอาจต้องมีการให้ข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง จึงต้องมีเรื่องของความปลอดภัยในการใช้ชีวิตว่าเราจะไม่ถูกคุกคามหรือแฮ็กข้อมูล
  3. ระบบเศรษฐกิจและการเงิน (Economy) เนื่องจากทุกคนในโลกเสมือนจะมีกระเป๋าเงินไว้จับจ่ายใช้สอย อีกด้านหนึ่งก็ต้องมีผู้ขาย ผู้ซื้อ ผู้ให้บริการ ดังนั้นธุรกิจหรือแบรนด์ต้องสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อมาตอบโจทย์ชีวิตบนโลกเสมือน
  4. ธุรกิจ (Business) คือสิ่งที่ครีเอเตอร์หรือผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ เพราะทุกธุรกิจสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สินค้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน การให้บริการ การออกแบบประสบการณ์ หรือคอนเทนต์ก็ได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เรียกว่า NFT (Non-Fungible Token)

 

ณัฐเศรษฐ์อธิบายเสริมถึงเหตุผลที่ต้องมีเทคโนโลยี NFT มาเกี่ยวข้อง ก็เพื่อทำให้สินค้าบนโลกดิจิทัลมีจำนวนจำกัด มีความยูนีก และจับต้องได้

 

 

ประเทศไทยอยู่ระยะไหนใน Metaverse 

ถ้ามองในเชิงธุรกิจ ประเทศไทยยังเป็น Early Adoption จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการว่าจะเอาเครื่องมือนี้ไปปรับใช้ในโลกธุรกิจอย่างไร

 

“ง่ายที่สุดสำหรับการเริ่มต้นคือ ธุรกิจต้องโฟกัสเรื่องการสร้างสรรค์สินค้าบนโลกดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับโลกความเป็นจริง จะทำสินค้าและบริการที่มีอยู่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร จะสร้างสรรค์ประสบการณ์อะไรให้กับลูกค้าในโลกเสมือน ทำคอนเทนต์แบบไหนให้ลูกค้าเข้ามาแล้วเกิดคอมมูนิตี้ หรือสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานได้จริงๆ” ณัฐเศรษฐ์กล่าว 

 

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เขาชวนให้นึกถึงภาพของ E-Learning ในปัจจุบันเราสามารถเรียนผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ แน่นอนว่าในอนาคตจะเกิดขึ้นใน Metaverse อีกหน่อยผู้เรียนอาจเห็นระบบสุริยะลอยขึ้นมาตรงหน้า และสามารถอินเตอร์แอ็กทีฟกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ทันที 

 

ในมุมของผู้สร้างสรรค์หรือครีเอเตอร์ จากที่เคยผลิตงาน 1 ชิ้น ขายได้เงินเพียง 1 ครั้ง หลังจากมีเทคโนโลยี NFT เกิด Royalty Fee ไม่ว่าจะขายงานผ่านกี่มือ ครีเอเตอร์จะได้เงินกลับมาทุกครั้ง โดยที่ตัวสินค้าก็มีชิ้นเดียวในโลก และสามารถแทร็กได้

 

โลกของนักการตลาดน่าจะสนุกยิ่งขึ้น จากที่เคยทำตลาดแบบ O2O ในอนาคตการตลาดผ่าน Metaverse จะผนวกทุกอย่างรวมเป็นหนึ่ง เพื่อสร้าง Immersive Experience มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้น และอาจเกิดเป็นโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคและธุรกิจอีกมหาศาล เช่น Pay to Earn, Learn to Earn หรือ Engaged to Earn

 

“นี่คืออินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่เราเรียกว่า Metaverse” 

 

SMEs

 

 

เฟรมเวิร์กสำหรับ SMEs ที่อยากหาโอกาสจากโลก Metaverse

Metaverse เป็นเครื่องมือที่จะทำให้คุณมีโอกาสมากกว่าคู่แข่ง และถ้าคุณไม่อยากแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม ณัฐเศรษฐ์แนะให้เริ่มด้วยการถามตัวเองว่าอะไรคือ Business Objective หรือจุดประสงค์ทางธุรกิจของคุณ ลองเช็กจากเฟรมเวิร์ก 3 ข้อนี้

1. ใช้ Metaverse เพื่อการตลาดและประชาสัมพันธ์ ทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูทันสมัย ทำเพื่อปรับภาพลักษณ์
2. เชื่อว่า Metaverse มาแน่ๆ ในธุรกิจ และอยากเป็นเจ้าแรกที่เข้าไปก่อนต้องทำอย่างไร นำธุรกิจเดิมที่มีไปอยู่บน Metaverse หยิบของเดิมที่มีไปขึ้นได้เลยหรือไม่ เช่น ขายของออนไลน์ใน Metaverse หรือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะขายที่ดินโลกเสมือนอย่างไร ก็ต้องปรับใช้ นำองค์ความรู้การพัฒนาที่ดินจากโลกเดิมไปพัฒนาในโลกเสมือน
3. มอง Metaverse เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ Pay to Earn, Learn to Earn ทำ Ecosystem จับกลุ่มคนรุ่นใหม่ และสร้างธุรกิจใหม่ 

 

เมื่อได้คำตอบชัดและอยากเริ่มต้น รีเช็กอีกครั้งจากเฟรมเวิร์ก 5 ขั้นตอนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ 

 

1. หา Business Objective ให้เจอ เช่น ทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ ค้าขาย หรือสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่

2. หาช่องทางที่เหมาะสมในการสร้าง Metaverse หากต้องการแค่ประชาสัมพันธ์ การเช่าพื้นที่ก็เพียงพอ แต่ถ้าต้องการสร้างโมเดลทางธุรกิจ การสร้างโลกเสมือนของตัวเองเหมาะสมกว่า เพราะสามารถปรับแต่ง Verse ในแบบที่ต้องการได้

3. การออกแบบทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่พื้นที่ โปรดักต์ บริการ และประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับ 

4. พัฒนาโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อระบบ เช่น ระบบสมาชิก, CIM หรือ E-Commerce เพื่อให้สิทธิประโยชน์กับลูกค้าที่เข้ามาในโลก Metaverse ของเรา

5. เริ่มดำเนินการพร้อมกับแผนทางการตลาดที่ชัดเจน 

 

ณัฐเศรษฐ์บอกว่าเฟิร์มเวิร์กเหมือนการทำแอป คุณต้องเริ่มจากหาคำตอบให้เจอว่า ทำเพื่ออะไร จะใช้เทคโนโลยีอะไร ออกแบบอย่างไร สร้างประสบการณ์อะไร จากนั้นก็พัฒนาและ Launch 

 

“การค้นหาจุดประสงค์ทางธุรกิจที่ต้องการให้เจอถือเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะมันจะชี้ว่าคุณเดินไปถูกทางหรือไม่ และมันสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจของคุณที่จะไปต่อในอีก 5 ปีข้างหน้าอย่างไร” 

 

ส่วนใครที่สงสัยเรื่องของเงินลงทุน คำตอบที่เขาบอกคือ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละธุรกิจ เช่น Nike สร้าง NIKELAND ให้คนสามารถเข้าไปออกกำลังกาย ไปเล่นเกมในนั้นได้ จึงใช้เงินลงทุนระดับหนึ่งแม้จะไม่ได้ทำแพลตฟอร์มของตัวเอง ในขณะที่ Adidas เข้าสู่ Metaverse โดยการทำ NFT Limited Edition ควบคู่กับศิลปินดังๆ ทั้งสองแบรนด์เข้าสู่โลก Metaverse เหมือนกัน แต่เลือกใช้เครื่องมือต่างกัน ต้นทุนจึงต่างกัน 

 

 

ธุรกิจแบบไหนควรคว้าโอกาสใน Metaverse

จะเห็นได้ว่าทุกอุตสาหกรรมสามารถนำ Metaverse มาต่อยอดได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และการเลือกเครื่องมือ ณัฐเศรษฐ์ยกตัวอย่างการนำ Metaverse ไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ เช่น

 

ธุรกิจการศึกษา ยุคโควิด การเรียนออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ แต่ปัญหาคือขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน โลก Metaverse เป็นการเอาข้อดีของโลกจริงกับโลกดิจิทัลมารวมกัน อีกหน่อยจะมี Avatar เข้าไปนั่งในห้องเรียน เรียนเมื่อไรก็ได้ไม่ต้องเดินทาง อาจสอดแทรก Learn to Earn เข้าไป หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้บทเรียนยากๆ ให้เข้าใจง่ายผ่าน Immersive Learning เช่น การผ่าตัดของคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กำลังขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ ในอนาคตอาจจะสามารถใส่แว่นแล้วมีร่างเสมือนมาให้ศึกษาตรงหน้าเลยก็ได้ ทั้งหมดนี้จะเป็นการทลายทุกขีดจำกัดของการศึกษา 

 

 

ธุรกิจแฟชัน เช่น แบรนด์ไฮเอนด์ จากเดิมมีช็อปให้ลูกค้าเข้ามาเลือกและลองสินค้า ยุคโควิดทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวสื่อสารผ่านออนไลน์มากขึ้น และพอเข้าสู่โลก Metaverse ก็เริ่มเห็นการปรับเปลี่ยน อย่าง Gucci ทำรองเท้าบนโลกเสมือนให้คนสามารถมาซื้อได้ หรือ Custom รองเท้าในแบบของตัวเองได้ ล่าสุด H&M ก็เพิ่งทำช็อปในโลกเสมือน 

 

ธุรกิจค้าปลีก อย่าง 7-Eleven จากที่เคยเน้นสาขาเยอะๆ เพื่อให้ไปอยู่ใกล้บ้านทุกคน แต่พอมีดิจิทัลเข้ามา สิ่งที่ใกล้กว่าสาขาคือมือถือ เปิดแอปสั่งของส่งถึงหน้าบ้านได้เลย เข้ายุค Metaverse ก็อาศัยจุดแข็งของมันมาสร้างสรรค์ Retail Experience ยุคใหม่ ทำอย่างไรที่จะเชื่อมต่อผู้คนเข้ากับแบรนด์สินค้าต่างๆ ในร้าน ชวนเพื่อนมาช้อปปิ้งได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย 

 

ธุรกิจโรงพยาบาล ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลพัฒนา Telehealth เปิดแอปคุยกับหมอ มีเครื่อง IoT ส่งไปถึงบ้าน เพื่อตรวจค่าต่างๆ และส่งข้อมูลกลับมาที่หมอได้แบบเรียลไทม์ แล้วส่งยากลับไป และมีหลายโรงพยาบาลกำลังเปิดสาขาใน Metaverse มี Chatbot Reception อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้น 

 

 

“หรืออย่างธุรกิจท่องเที่ยว เอ็นเตอร์เทนเมนต์ อีกหน่อยแค่ใส่แว่นก็เลือกได้แล้วจะไปเที่ยวที่ไหน หรืออยากให้ศิลปินที่เราชื่นชอบคนไหนพาไป รวมถึงธุรกิจที่ต้องเข้ามาแน่ๆ คือ การเงินธนาคาร บางธนาคารอยากจะทำ Banking as a Service บนโลก Metaverse รองรับการใช้จ่ายบนโลกเสมือนจริง ก็เป็นโอกาสให้กับธุรกิจการเงิน” ณัฐเศรษฐ์อธิบายเสริม 

 

ความเสี่ยงที่ซ่อนตัวมากับโอกาส

เนื่องจากเป็นช่วง Early Adoption ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการสามารถเลี่ยงได้คือ ต้องหา Business Objective ให้เจอก่อนเริ่มต้น เพราะหากเลือกจุดประสงค์ของธุรกิจไม่ถูกต้อง อาจมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้ามองในแง่ดีก็ทำให้คุณเรียนรู้และก้าวเข้าสู่โลกนี้ก่อนใคร 

 

ต้องไม่ลืมว่าโลกเสมือนใครก็เข้าถึงได้ ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดคู่แข่งทางการค้ามากขึ้น เท่ากับว่าใครเริ่มช้ามาหลังคู่แข่งก็อาจจะเหนื่อยหน่อย ที่แน่ๆ ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวก็อาจจะสูญเสียโอกาส 

 

สำหรับผู้ใช้งาน ณัฐเศรษฐ์แนะให้เร่งเติมองค์ความรู้พื้นฐาน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยจากการใช้งาน เช่น ความเสี่ยงจากการโดนแฮ็กข้อมูล เป็นต้น 

 

 

คำแนะนำสำหรับ SMEs ที่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมใน Metaverse ให้คุ้มค่ากับเวลาและต้นทุน 

แม้จะมีโอกาสมากมาย แต่ตอนนี้ยังอยู่ในช่วง Early Adoption สิ่งที่ณัฐเศรษฐ์แนะนำเพื่อให้ SMEs ที่จะก้าวเข้าสู่ Metaverse คุ้มค่ากับเวลาและต้นทุน ยังเน้นย้ำเรื่องของการหาจุดประสงค์ในการเข้าสู่ Metaverse ให้เจอก่อน แล้วจึงตัดสินใจว่าจะเข้าช่วงเวลาไหน และและบริหารความเสี่ยงอย่างไร

 

“ที่สำคัญคือให้มอง Metaverse ว่าเป็น ‘Future Innovation Sandbox’ ที่จะมาทดสอบศักยภาพธุรกิจของคุณว่าสามารถก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดต่างๆ ทั้งองค์ความรู้ การพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร การเรียนรู้ของบุคลากร การคิดโมเดลทางธุรกิจ และการทำการตลาดบนโลกใหม่ การดูแลลูกค้าและสร้างคอมมูนิตี้บนโลกเสมือน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากๆ สำหรับธุรกิจในการก้าวเข้าสู่ Metaverse”

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X