โพสต์เท่าไรก็ถูกปิดกั้น แถมหน้าฟีดเต็มไปด้วยโฆษณา เป็นไปได้หรือไม่? ว่าบรรดาแพลตฟอร์มที่เราคุ้นเคยกันดี อย่าง Facebook และ Twitter เริ่มกลายเป็นสังคมที่แคบลงเรื่อยๆ เมื่อบริษัทกลายเป็นองค์กรแสวงหารายได้ ทำให้หน้าฟีดเต็มไปด้วยโฆษณา และทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปถูกปิดกั้นมากขึ้น
The New York Times รายงานว่า ในอนาคตโซเชียลมีเดียอาจกลายเป็นสังคมที่แคบลง หลังจากแพลตฟอร์มดังกล่าวเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ที่จ่ายเงินสนับสนุนเข้าถึงได้มากกว่าผู้ใช้งานทั่วไปที่กำลังถูกจำกัดการมองเห็นข้อความหรือโพสต์อัปเดตเรื่องราวของเพื่อนและครอบครัวได้น้อยลง
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มออนไลน์ได้สร้างพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนเข้ามาใช้เวลาอยู่ในโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนกับแบรนด์ได้กว้างขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้แบรนด์ให้ความสนใจเข้ามาสื่อสารผ่านการโฆษณาในแพลตฟอร์มเหล่านั้นมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เจาะอินไซต์ Social Media แพลตฟอร์มไหนมีจุดเด่นอะไรบ้าง
- Twitter พรีเมียม? ‘อีลอน มัสก์’ เตรียมเปิดตัว Subscription รูปแบบใหม่บน Twitter ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกใช้งานได้โดยไม่มีโฆษณาคั่น
- จ้างมากเกินไป จนถึงจุดที่พนักงานไม่มีงานทำ! ผ่าต้นตอ ‘วิกฤต Fake Work ที่ Facebook’ เปิดที่มางานตบยุงและพายุเลิกจ้างของบิ๊กเทค
แน่นอนว่าเมื่อสังคมโซเชียลเริ่มเปิดกว้างและถูกจำกัดมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานบางคนหันไปใช้บริการแพลตฟอร์มที่มีเครือข่ายเล็กลง หนึ่งในนั้นก็คือ Mastodon ชุมชนที่เปิดกว้างให้ผู้ใช้งานสามารถแชร์เรื่องราวต่างๆ ได้ ซึ่งมีความคล้ายกับ Twitter และยิ่งไปกว่านั้นในปีที่ผ่านมา นักเทคโนโลยีและนักวิชาการเริ่มให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มขนาดเล็กมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้แอปพลิเคชันที่เรียกว่า Gobo พัฒนาขึ้นโดย MIT Media Lab และ University of Massachusetts Amherst ที่มีกำหนดจะเปิดตัวในเดือนหน้า รวมถึง Mastodon ก็เริ่มได้รับความสนใจขึ้นมาทันที
Eugen Rochko ผู้บริหารระดับสูงของ Mastodon กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ใช้งานมีการโพสต์ข้อความในแพลตฟอร์มมากกว่าพันล้านโพสต์ต่อเดือน และไม่มีอัลกอริทึมหรือโฆษณาเข้ามาสร้างความรบกวน
ที่สำคัญแพลตฟอร์มที่มีสังคมขนาดเล็ก ยังเปิดกว้างให้กับทุกเพศทุกวัย ทำให้สามารถลดแรงกดดันทางสังคมจากการใช้โซเชียลมีเดียได้
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปในปีที่ผ่านมา Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ในช่วงที่อยู่ในวัยนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เริ่มทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับการทดลองเครือข่ายใหม่ๆ สร้างโปรแกรม Minus จำกัดให้ผู้ใช้งานโพสต์เพียง 100 โพสต์บนไทม์ไลน์เท่านั้น เพื่อร่วมกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งแตกต่างจากเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook และ Twitter ที่มีการใช้งานได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
Zizi Papacharissi ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก อธิบายว่า บริษัทโซเชียลบางค่ายมีผู้ใช้งานหลายพันล้านคน และมีรายได้ระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้พยายามหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
เริ่มตั้งแต่Twitter ที่มี Elon Musk เข้ามารับตำแหน่งเป็นซีอีโอ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้ผู้ใช้บริการและแบรนด์จ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิก 8-1,000 ดอลลาร์ต่อเดือน ขณะที่ Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram ก็กำลังผันตัวเข้าสู่โลกเสมือนจริงหรือที่เรียกว่า Metaverse
อ้างอิง: