ในช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยให้ความสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในหัวข้อต่างๆ มากขึ้น จากรายงาน Year in Search ของ Google ประเทศไทย มีการค้นหา ‘LGBTQ’ เพิ่มขึ้น 110% ซึ่งแตะระดับสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และการค้นหา ‘สมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นคำที่อ้างถึงการยอมรับทางกฎหมายของการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันนั้นเพิ่มขึ้นถึง 800%
ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวและความสนใจของสาธารณชนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประเด็น LGBTQIA+ ในประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- บทเรียนสำหรับธุรกิจ! เมื่อ ‘จุดยืนทางสังคม’ กลายเป็นพายุที่ถาโถมจนต้องระมัดระวังให้ดี หากจะมีส่วนร่วมในหัวข้อที่ละเอียดอ่อนทางการเมือง
- ‘กฎหมายเปิดให้เราไปต่อกับชีวิตคู่ในแบบที่ธรรมดา’ รวมคำพูด ลูกกอล์ฟ คณาธิป ใน THE INTERVIEW Pride Month
- ขบวนพาเหรด ปาร์ตี้ และ Pride Clinics กลยุทธ์ใหม่ของไทยในการดึงดูดตลาดการท่องเที่ยว LGBTQIA+ มูลค่า 6.9 ล้านล้านบาท
แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด ข้อมูลจาก Google Trends ยังเผยให้เห็นถึงรูปแบบการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำต่างๆ เช่น LGBT, LGBT Pride และ Rainbow Flag พุ่งสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งทั่วโลกรู้จักว่าเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจ นี่เป็นช่วงเวลาที่ชุมชน LGBTQIA+ และพันธมิตรทั่วโลกเฉลิมฉลองตัวตนและความสำเร็จของพวกเขา และสนับสนุนการยอมรับและสิทธิที่เพิ่มขึ้น
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คนไทยแสดงความสนใจเพิ่มขึ้นในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน LGBTQIA+ อันได้แก่ Non-Binary Gender, Queer, Pansexuality, LGBT, Rainbow Flag, LGBT Pride, Sexual Orientation และ Homophobia พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปีในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ในช่วง 3 ปีจนถึงปี 2566 ความสนใจในการค้นหาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่ Rainbow Flag เพิ่มขึ้น 180%, ความสนใจในเรื่อง ‘Gender Fluidity’ เพิ่มขึ้น 140%, ความสนใจเรื่อง Homophobia เพิ่มขึ้น 130% และ Non-Binary Gender เพิ่มขึ้น 110%
มีคำค้นหายอดนิยมเกี่ยวกับ Pride ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เช่น Pride Month คือเดือนอะไร, Pride คืออะไร, ธงสีรุ้งมีกี่สี มีความหมายว่าอะไร และ Pride Month จัดที่ไหนในไทย
ความสนใจในประเด็น LGBTQIA+ ในประเทศไทยไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในสังคมเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นพัฒนาการทางการเมืองด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ การที่ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสมรสเท่าเทียมผ่านการพิจารณาวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎร
หากร่างกฎหมายนี้ผ่านกฎหมายจะอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันในประเทศไทยสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้จุดชนวนให้เกิดการพูดคุยและสอบถามในหมู่คนไทยเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน โดยหลายคนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา
ขณะเดียวกันในประเทศไทย แม่ฮ่องสอน อ่างทอง พะเยา สมุทรสงคราม และเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีการค้นหาเกี่ยวกับ LGBTQIA+ มากที่สุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ถึงแม้คนไทยจะตื่นตัวและให้ความสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน Google ยังเล็งเห็นถึงการเข้าถึงการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสด้านการศึกษาไม่เพียงแต่สำหรับชุมชน LGBTQIA+ แต่ยังรวมถึงนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเพิ่มทักษะด้านต่างๆ Google จึงเห็นว่าการเปิดโอกาสในการสมัครคอร์สอบรมพัฒนาทักษะผ่านคอร์สที่สามารถได้รับใบรับรองโดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังต่างๆ และไม่ต้องมีประสบการณ์เพื่อสมัครหลักสูตรที่ช่วยในการปิดช่องว่างนี้
ในเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความเท่าเทียมนี้ Google จึงมีเป้าหมายในการนำเสนอหลักสูตร Samart Skills หรือ Google Career Certificates จำนวน 9 หลักสูตรให้กับชุมชน LGBTQIA+ และกลุ่มผู้สนับสนุน Pride โดยได้ร่วมกับ วู้ดดี้ มิลินทจินดา และ UNDP Thailand ที่จะช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้เข้าถึงชุมชน LGBTQIA+ และกลุ่มผู้สนับสนุน Pride ทั่วประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ได้สมัครเพื่อรับทุนการศึกษาดังกล่าวจำนวน 1,000 ทุน
โดยหลักสูตร Samart Skills ประกอบไปด้วย 6 หลักสูตรเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล, การตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ, การสนับสนุนด้านไอที, ระบบอัตโนมัติด้านไอที, การจัดการโครงการ, การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และอีก 3 หลักสูตรใหม่ล่าสุด ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และธุรกิจอัจฉริยะ
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ https://goo.gle/SamartSkillsPrideWithGoogle ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2566 และจะประกาศผลให้ทราบในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ผ่านทางอีเมลของผู้สมัคร
ภาพ: Lauren DeCicca / Getty Images