วันนี้ (7 ตุลาคม) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 7 ตุลาคม 2567 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 44 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, ตาก, พะเยา, น่าน, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, เลย, อุดรธานี, กาฬสินธุ์, หนองคาย, นครพนม, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, มหาสารคาม, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม, ปทุมธานี, ระยอง, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, ยะลา, นครศรีธรรมราช, พังงา, ตรัง, สตูล และสงขลา รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 267 อำเภอ 1,149 ตำบล 5,973 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 240,857 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 52 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บรวม 28 ราย
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 23 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, ตาก, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุดรธานี, กาฬสินธุ์, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, อุบลราชธานี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม, สงขลา และนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 77 อำเภอ 358 ตำบล 1,647 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 66,752 ครัวเรือน
ภาคเหนือ รวม 9 จังหวัด 33 อำเภอ 125 ตำบล 580 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 38,322 ครัวเรือน
- เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย, อำเภอเมืองเชียงราย, อำเภอแม่ลาว, อำเภอเวียงป่าเป้า, อำเภอเวียงชัย และอำเภอเชียงแสน รวม 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง, อำเภอดอยหล่อ, อำเภอหางดง, อำเภอสันป่าตอง, อำเภอแม่แตง, อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอสารภี รวม 33 ตำบล 187 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,367 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน และอำเภอป่าซาง รวม 9 ตำบล 50 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,721 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเถิน รวม 4 ตำบล 17 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 468 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,547 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรหมพิราม, อำเภอบางระกำ, อำเภอเมืองพิษณุโลก, อำเภอบางกระทุ่ม, อำเภอวังทอง, อำเภอนครไทย และอำเภอวัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำหนาว, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอหนองไผ่ รวม 6 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 115 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก, อำเภอศรีสำโรง, อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอศรีสัชนาลัย รวม 20 ตำบล 85 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,239 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองนครสวรรค์ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 7 จังหวัด 21 อำเภอ 76 ตำบล 340 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 843 ครัวเรือน
- อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอสร้างคอม รวม 8 ตำบล 37 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 383 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยางตลาด, อำเภอหนองกุงศรี, อำเภอท่าคันโท, อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอฆ้องชัย รวม 12 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 68 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ และอำเภอจัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม, อำเภอกันทรวิชัย, อำเภอโกสุมพิสัย, อำเภอเชียงยืน และอำเภอนาเชือก รวม 33 ตำบล 222 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 83 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- นครราชสีมา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโชคชัย และอำเภอจักราช รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- บุรีรัมย์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนางรอง, อำเภอชำนิ และ อำเภอหนองกี่ รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอสว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 190 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคกลาง รวม 5 จังหวัด 21 อำเภอ 151 ตำบล 710 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,339 ครัวเรือน
- สิงห์บุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี, อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี รวม 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 102 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- สุพรรณบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเดิมบางนางบวช, อำเภอบางปลาม้า, อำเภอสองพี่น้อง, อำเภอศรีประจันต์, อำเภอสามชุก และอำเภอเมืองสุพรรณบุรี รวม 27 ตำบล 96 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ, อำเภอไชโย และอำเภอเมืองอ่างทอง รวม 14 ตำบล 39 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 545 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล, อำเภอผักไห่, อำเภอเสนา, อำเภอพระนครศรีอยุธยา, อำเภอบางปะอิน, อำเภอบางไทร และ อำเภอบางปะหัน รวม 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,497 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- นครปฐม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน รวม 10 ตำบล 21 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว
ภาคใต้ รวม 2 จังหวัด 2 อำเภอ 6 ตำบล 17 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 248 ครัวเรือน
- สงขลา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย รวม 5 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 242 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- นครศรีธรรมราช เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอทุ่งใหญ่ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิกยกสูง, รถตักล้อยางอเนกประสงค์, รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ, รถตีนตะขาบ, รถบรรทุกเทท้าย และรถขุดตักไฮดรอลิกแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด