×

‘พาณิชย์’ เผยส่งออกปี 65 โต 5.5% คาดปีนี้ยังเป็นบวกได้ 1-2% แม้ปัจจัยลบรุมเร้า

24.01.2023
  • LOADING...

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2565 สามารถขยายตัวได้ 5.5% สูงเกินเป้าที่กำหนดไว้ที่ 4% คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวมที่ 287,067 ล้านดอลลาร์ หรือ 9.94 ล้านล้านบาท 

 

ทั้งนี้ หากแยกตามประเภทสินค้า 3 หมวดสำคัญ พบว่า หมวดสินค้าเกษตรเป็นบวก 2.2% คิดเป็นมูลค่า 26,721 ล้านดอลลาร์ หรือ 9.25 แสนล้านบาท ขณะที่สินค้าในหมวดอุตสาหกรรมเกษตร พบว่า เป็นบวก 17.8% คิดเป็นมูลค่า 22,768 ล้านดอลลาร์ หรือ 7.88 แสนล้านบาท ด้านสินค้าหมวดอุตสาหกรรมขยายตัว 4.4% คิดเป็นมูลค่า 225,694 ล้านดอลลาร์ หรือ 7.81 ล้านล้านบาท 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


สำหรับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้ดี 10 รายการสำคัญประกอบด้วย

 

  1. น้ำตาลทราย +98.9%
  2. เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และส่วนประกอบ +71.5%
  3. อัญมณีและเครื่องประดับ +50.3%
  4. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ +44.8%
  5. หม้อแปลงไฟฟ้า +32%
  6. อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด +26.2%
  7. ไก่แปรรูป +24.8%
  8. ไก่สด แช่เย็นและแช่แข็ง +24.6%
  9. ไอศกรีม +23%
  10. อาหารสัตว์เลี้ยง +15.3%

 

ขณะที่ตลาดที่มีการเติบโตสูง 10 อันแรกประกอบด้วย 

 

  1. ตะวันออกกลาง +22.8%
  2. สหราชอาณาจักร +15.6%
  3. แคนาดา +14.2%
  4. สหรัฐอเมริกา + 13.4%
  5. CLMV +11.5%
  6. เอเชียใต้ +11.5%
  7. อาเซียน + 9.5%
  8. ลาตินอเมริกา +5.5%
  9. สหภาพยุโรป +5.2%
  10. ออสเตรเลีย +1.7%

 

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนทำให้การส่งออกปี 2565 ขยายตัวได้สูง ประกอบด้วย 

 

  1. การทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนในรูป กรอ.พาณิชย์ และการใช้มาตรการทางการบริหารจัดการเชิงรุกและลึก ซึ่งช่วยให้ปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสามารถลดน้อยและเดินหน้าได้

 

  1. การเร่งผลักดันให้มีการเปิดด่านชายแดนจากการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

 

  1. การหาแหล่งสำรองอาหารของผู้ซื้อทั่วโลก

 

  1. การคลี่คลายของปัญหาในระบบขนส่งสินค้า และการลดลงอย่างต่อเนื่องของค่าระวางเรือ

 

สำหรับในปี 2566 จุรินทร์ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ยังคงตั้งเป้าหมายว่าการส่งออกของไทยจะยังเป็นบวกได้ที่ระดับ 1-2% แม้ว่าจะมีปัจจัยเชิงลบที่รุมเร้า เช่น

 

  1. การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตลาดหลักของไทย เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น

 

“เราคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 0.5-1% ส่วนยุโรปจะขยายตัวได้แค่ 0-0.5% ขณะที่ญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ 1.6% การเติบโตในระดับต่ำของตลาดหลักเหล่านี้ย่อมกระทบต่อการส่งออกไทย” จุรินทร์กล่าว

 

  1. การที่หลายประเทศยังมีสินค้าในสต๊อกเหลือค้างอยู่ ทำให้อาจชะลอคำสั่งซื้อใหม่

 

  1. การที่ราคาน้ำมันโลกยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าในไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

 

  1. การแข็งค่าของเงินบาทที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลง

 

อย่างไรก็ดี จุรินทร์ระบุว่า สาเหตุที่กระทรวงพาณิชย์ยังตั้งเป้าการส่งออกในปีนี้เป็นบวกอยู่ เพราะในปีนี้ยังมีปัจจัยที่จะส่งผลเชิงบวกต่อการส่งออกไทยเช่นกัน เช่น 

 

  1. การคลี่คลายของปัญหาในระบบขนส่งสินค้า และการลดลงอย่างต่อเนื่องของค่าระวางเรือ

 

  1. ความต้องการด้านอาหารของโลกยังมีอยู่

 

  1. ตลาดศักยภาพของไทยทั้ง 4 แห่งยังมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น

 

“เราคาดว่าการส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลางในปีนี้จะเป็นบวกถึง 20% ขณะที่เอเชียใต้จะขยายตัว 10% อาเซียนและ CLMV ขยายตัว 15% ขณะที่จีนก็มีการเปิดประเทศเร็วกว่าคาด ทำให้ความต้องการสินค้าไทยจะเพิ่มขึ้น” จุรินทร์กล่าว

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X