×

มติ กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความสูตรคิด ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์

โดย THE STANDARD TEAM
11.04.2019
  • LOADING...
Thailand electionc results process

วันนี้ (11 เม.ย.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวิธีการคำนวณจัดสรร ส.ส. บัญชีรายชื่อ (ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์)

 

โดยขอให้ศาลวินิจฉัยว่า วิธีการคำนวณของสำนักงาน กกต. ตามแนวทางของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้ ส.ส. พึงจะมี จะได้รับการจัดสรร ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คนนั้นสามารถทำได้หรือไม่ และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 91 หรือไม่ ตามรายละเอียดดังนี้

 

คณะกรรมการการเลือกต้ังมีมติส่งเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ เพื่อจัดสรรจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือท่ีแต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้พิจารณาเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันท่ี 11 เมษายน 2562 แล้ว มีความเห็นดังนี้

 

1. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 วรรคสาม กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณและการคิดอัตราส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไว้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังได้เสนอผล การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณตามแนวทางของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้จัดทำวิธีการ คำนวณสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในชั้นพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว ปรากฏว่าการคำนวณดังกล่าวมีพรรคการเมืองหลายพรรคมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ ในเบื้องต้นต่ำกว่า 1 คน

 

แต่เมื่อคำนวณต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (5) แล้ว พรรคการเมืองที่มีผลการคำนวณจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ ในเบื้องต้นต่ำกว่า 1 คนดังกล่าว สามารถได้รับการจัดสรรจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งคน

 

2. คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อ 1 แล้วเห็นว่า

 

2.1 แม้การคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการมาน้ัน สามารถจัดสรรจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่การคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 128 (5) ดังกล่าวมีผลขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 (2) และ (4)

 

เนื่องจากมีผลให้พรรคการเมืองท่ีมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ตาม (2) ต่ำกว่า 1 คน สามารถได้รับการจัดสรรให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือได้ 1 คน จึงอาจทำให้พรรคการเมืองบางพรรคมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 (4)

 

แต่หากคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 แล้ว จะทำให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน

 

อีกทั้งหากไม่นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเบื้องต้นของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ำกว่า 1 คนไปคิดคำนวณต่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (5) ก็ไม่สามารถคิดคำนวณจัดสรรได้ครบ 150 คนได้เช่นกัน จึงไม่มีวิธีการใดที่จะนำมาคิดคำนวณให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้จานวน 150 คนตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 83 ได้

 

2.2 การคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามข้อ 1 ซึ่งเป็นการดำเนินการ คิดคำนวณตามมาตรา 91 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผลของการคำนวณจะไม่สามารถนำไปประกาศผลการเลือกตั้งได้ เพราะอาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 (4)

 

3. อาศัยเหตุผลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงได้เสนอเรื่องตามข้อ 1 และข้อ 2 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 210 (1) และ (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ว่า กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งจะคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน 150 คนได้ มีเพียงการคำนวณตามมาตรา 91 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ที่สามารถจะคำนวณให้ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน 150 คนได้

 

ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจะคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 โดยการคิดคำนวณดังกล่าวอาจทำให้พรรคการเมืองบางพรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คนได้

 

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และการดำเนินการดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 หรือไม่

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising