×

ผลสำรวจสุขภาพจิตเด็กไทยเครียดเรื่องเรียนมากที่สุด แต่ปัญหาครอบครัวทำให้ถึงขั้นอยากจบชีวิตตัวเอง

โดย THE STANDARD TEAM
09.10.2024
  • LOADING...
สุขภาพจิตเด็กไทย

เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ร็อกเกต มีเดีย แล็บ ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) สำรวจข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ทั้งความเครียดและวิตกกังวลในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1-3 ผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 16-30 กันยายน 2567

 

ผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 3,516 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 1,935 คน คิดเป็น 55.03%, เพศชาย 1,323 คน คิดเป็น 37.63%, LGBTQIA+ 184 คน คิดเป็น 5.23% และไม่ต้องการระบุเพศ 74 คน คิดเป็น 2.10% โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุระหว่าง 11-20 ปี

 

เมื่อแบ่งตามระดับการศึกษาแบ่งได้เป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 2,461 คน คิดเป็น 69.99%, มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 843 คน คิดเป็น 23.98% และ ปวช.1-3 212 คน คิดเป็น 6.03%

 

เมื่อแยกพื้นที่ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามพบว่าอยู่ในภาคกลางมากที่สุด 2,716 คน คิดเป็น 77.25%, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 728 คน คิดเป็น 20.71%, ภาคตะวันออก 24 คน คิดเป็น 0.68%, ภาคตะวันตกและภาคใต้ เท่ากันที่ 14 คน คิดเป็น 0.40% และภาคเหนือ 20 คน คิดเป็น 0.57%

 

โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจาก 52 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดที่ตอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 1,006 คน คิดเป็น 28.61%, นนทบุรี 547 คน คิดเป็น 15.56% และอุบลราชธานี 462 คน คิดเป็น 13.14%

 

การเรียน, รูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก และครอบครัว คือสิ่งที่ทำให้เด็กไทยเครียดมากที่สุด

 

เมื่อถามว่าเครียดเรื่องอะไรมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา โดยมีตัวเลือก 12 ข้อ ให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • การเรียน 1,809 คน คิดเป็น 51.45%
  • รูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 349 คน คิดเป็น 9.93%
  • ครอบครัว 344 คน คิดเป็น 9.78%
  • การเงิน 343 คน คิดเป็น 9.76%
  • ความรัก 217 คน คิดเป็น 6.17%
  • เพื่อน 170 คน คิดเป็น 4.84%
  • ความเจ็บป่วย 83 คน คิดเป็น 2.36%
  • สังคม/การเมือง 72 คน คิดเป็น 2.05%
  • การทำงาน 51 คน คิดเป็น 1.45%
  • ครู 43 คน คิดเป็น 1.22%
  • เพศสัมพันธ์ 22 คน คิดเป็น 0.63%
  • เพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ 13 คน คิดเป็น 0.37%

 

หากแบ่งตามระดับชั้นพบว่าเรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ ม.ต้น 2,461 คน คิดเป็น 69.99% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครียดมากที่สุดคือ การเรียน 1,265 คน คิดเป็น 51.40%, รูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 269 คน คิดเป็น 10.93% และความรัก 165 คน คิดเป็น 6.70%

 

เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ ม.ปลาย 843 คน คิดเป็น 23.98% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครียดมากที่สุดคือ การเรียน 479 คน คิดเป็น 56.82%, การเงิน 138 คน คิดเป็น 16.37% และรูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 59 คน คิดเป็น 7.00%

 

เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ ปวช. 212 คน คิดเป็น 6.03% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครียดมากที่สุดคือ การเรียน 65 คน คิดเป็น 30.66% ตามด้วยการเงิน 52 คน คิดเป็น 24.53% และรูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 21 คน คิดเป็น 9.91%

 

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่านักเรียน ม.ปลาย และ ปวช. มีความเครียด 3 อันดับแรกที่เหมือนกันคือ การเรียน ในขณะที่นักเรียน ม.ต้น นั้นไม่มีเรื่องการเงิน แต่ในอันดับ 2 เป็นเรื่องครอบครัว ซึ่งอาจเป็นเพราะว่านักเรียน ม.ต้น ยังไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องการเงินนั่นเอง

 

หากแบ่งตามเพศจะพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าเป็นเพศหญิงตอบว่าเครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 979 คน คิดเป็น 50.59%, ครอบครัว 238 คน คิดเป็น 12.30% และรูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 215 คน คิดเป็น 11.11%

 

ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าเป็นเพศชายตอบว่าเครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 732 คน คิดเป็น 55.33% ตามด้วยการเงิน 160 คน คิดเป็น 12.09% และรูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 98 คน คิดเป็น 7.41%

 

ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าเป็น LGBTQIA+ ตอบว่าเครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 67 คน คิดเป็น 36.41%, รูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 29 คน คิดเป็น 15.76% และครอบครัว 24 คน คิดเป็น 13.04%

 

ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ต้องการระบุเพศตอบว่าเครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 31 คน คิดเป็น 41.89%, การเงิน 11 คน คิดเป็น 14.86% และครอบครัว 10 คน คิดเป็น 13.51%

 

กลัวเกรดไม่ดีทำให้นักเรียนเครียดมากที่สุด

 

โดยเมื่อให้เลือกตอบว่าเรื่องที่เครียดที่สุดคือเรื่องใด ผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนจะตอบได้เฉพาะคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ตัวเองที่เครียดที่สุด

 

เมื่อถามต่อว่าประเด็นด้านการเรียนที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • กลัวเกรดไม่ดี 727 คน คิดเป็น 40.19%
  • กลัวสอบตก 241 คน คิดเป็น 13.32%
  • กลัวสอบเข้าเรียนต่อไม่ได้ 203 คน คิดเป็น 11.22%
  • กลัวเรียนไม่จบ 192 คน คิดเป็น 10.61%
  • งานที่ต้องส่งมากเกินไป 168 คน คิดเป็น 9.29%
  • ไม่เข้าใจบทเรียน 113 คน คิดเป็น 6.25%
  • กังวลว่าจะไม่ได้เรียนต่อในระดับที่อยากเรียน 92 คน คิดเป็น 5.09%
  • เรียนหนักเกินไป ชั่วโมงเรียนมากเกินไป 45 คน คิดเป็น 2.49%
  • ไม่ได้เรียนในสายที่อยากเรียน แต่เรียนตามใจผู้ปกครอง 14 คน คิดเป็น 0.77%
  • อุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม 8 คน คิดเป็น 0.44%
  • ไม่ได้เรียนพิเศษ 6 คน คิดเป็น 0.33%

 

โดยผู้ที่ตอบว่าเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวเกรดออกมาไม่ดี แบ่งเป็นนักเรียน ม.ต้น 521 คน คิดเป็น 71.66%, ม.ปลาย 186 คน คิดเป็น 25.58% และ ปวช. 20 คน คิดเป็น 2.75%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องการเรียนของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ กลัวเกรดไม่ดี 521 คน คิดเป็น 41.19%, กลัวสอบตก 214 คน คิดเป็น 16.92% และกลัวเรียนไม่จบ 150 คน คิดเป็น 11.86% ส่วน ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ กลัวเกรดไม่ดี 186 คน คิดเป็น 38.83%, กลัวสอบเข้าเรียนต่อไม่ได้ 111 คน คิดเป็น 23.17% และงานที่ต้องส่งมากเกินไป 45 คน คิดเป็น 9.39% และ ปวช. 3 อันดับแรกคือ กลัวเกรดไม่ดี 20 คน คิดเป็น 30.77%, กลัวเรียนไม่จบ 15 คน คิดเป็น 23.08% และไม่เข้าใจบทเรียน 7 คน คิดเป็น 10.77%

 

อ้วน/ผอม, ไม่สวย/ไม่หล่อ, ผิวไม่ขาวกระจ่างใส ก็ทำให้เครียด

 

เมื่อถามว่าประเด็นรูปร่าง/หน้าตาที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งระบุว่ากังวลเรื่องรูปร่าง/ส่วนสูง เช่น อ้วนหรือผอมเกินไป, สูงหรือเตี้ยเกินไป, หน้าอกเล็กหรือใหญ่เกินไป, ไม่มีกล้าม 145 คน คิดเป็น 41.55%

 

ตามด้วยกังวลเรื่องหน้าตา ไม่เป็นไปตามมาตรฐานความสวย/หล่อ 82 คน คิดเป็น 23.50%, กังวลเรื่องสีผิว เช่น สีผิวไม่ขาวกระจ่างใส 73 คน คิดเป็น 20.92%, กังวลเรื่องทรงผม เช่น ผมหยิก, ผมหยักศก, ผมบาง 28 คน คิดเป็น 8.02% และกังวลเรื่องบุคลิก เช่น มีกลิ่นตัว, มีกลิ่นปาก, หลังค่อม 21 คน คิดเป็น 6.02%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดจากประเด็นรูปร่าง/หน้าตาของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ กังวลเรื่องรูปร่าง/ส่วนสูง 115 คน คิดเป็น 42.75%, กังวลเรื่องหน้าตา ไม่เป็นไปตามมาตรฐานความสวย/หล่อ 65 คน คิดเป็น 24.16% และกังวลเรื่องสีผิว 55 คน คิดเป็น 20.45%

 

ส่วน ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ กังวลเรื่องรูปร่าง/ส่วนสูง 22 คน คิดเป็น 37.29%, กังวลเรื่องสีผิว 16 คน คิดเป็น 27.12% และกังวลเรื่องหน้าตา ไม่เป็นไปตามมาตรฐานความสวย/หล่อ 9 คน คิดเป็น 15.25%

 

และ ปวช. 3 อันดับแรกคือ กังวลเรื่องรูปร่าง/ส่วนสูง และกังวลเรื่องหน้าตา เท่ากันที่ 8 คน คิดเป็น 38.10% ตามมาด้วยกังวลเรื่องบุคลิก และสีผิว เท่ากันที่ 2 คน คิดเป็น 9.52%

 

ผู้ปกครองเข้มงวดเกินไปสร้างความเครียดให้นักเรียนทุกระดับชั้น

 

เมื่อถามว่าประเด็นครอบครัวที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • ผู้ปกครองเข้มงวดกดดันมากเกินไป 151 คน คิดเป็น 43.90%
  • ผู้ปกครองไม่สนับสนุนในสิ่งที่เราอยากเป็น/อยากทำ 34 คน คิดเป็น 9.88%
  • ผู้ปกครองทะเลาะตบตีกัน 33 คน คิดเป็น 9.59%
  • ผู้ปกครองใช้ความรุนแรงกับนักเรียน 24 คน คิดเป็น 6.98%
  • ผู้ปกครองแยกทางกัน/มีครอบครัวใหม่/นอกใจ 24 คน คิดเป็น 6.98%
  • ผู้ปกครองละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น เข้าห้องส่วนตัวโดยไม่ขอ ดูโทรศัพท์ 17 คน คิดเป็น 4.94%
  • ผู้ปกครองไม่สนใจ ไม่มีเวลาให้ 13 คน คิดเป็น 3.78%
  • มีผู้ปกครองเจ็บป่วย หรือพิการ 10 คน คิดเป็น 2.91%
  • ผู้ปกครองเสียชีวิต 7 คน คิดเป็น 2.03%
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนในครอบครัว 3 คน คิดเป็น 0.87%
  • ผู้ปกครองไม่ยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศ 2 คน คิดเป็น 0.58%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดจากครอบครัวของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ ผู้ปกครองเข้มงวดกดดันมากเกินไป 121 คน คิดเป็น 44.65%, ผู้ปกครองทะเลาะตบตีกัน 30 คน คิดเป็น 11.07% และผู้ปกครองไม่สนับสนุนสิ่งที่อยากเป็น/อยากทำ 24 คน คิดเป็น 8.86%

 

นักเรียน ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ ผู้ปกครองเข้มงวดกดดันมากเกินไป 22 คน คิดเป็น 40.74%, ผู้ปกครองไม่สนับสนุนสิ่งที่อยากเป็น/อยากทำ 8 คน คิดเป็น 14.81% และผู้ปกครองแยกทางกัน/มีครอบครัวใหม่/นอกใจ 5 คน คิดเป็น 9.26% นักเรียน

 

ปวช. 3 อันดับแรกคือ ผู้ปกครองเข้มงวดกดดันมากเกินไป 8 คน คิดเป็น 42.11%, ผู้ปกครองเลือกปฏิบัติกับลูก รักลูกไม่เท่ากัน 3 คน คิดเป็น 15.79% และผู้ปกครองไม่สนับสนุนสิ่งที่อยากเป็น/อยากทำ, ผู้ปกครองแยกทางกัน/มีครอบครัวใหม่/นอกใจ, ผู้ปกครองละเมิดความเป็นส่วนตัว เท่ากันที่ 2 คน คิดเป็น 10.53%

 

จะเห็นได้ว่านอกจากประเด็นความเครียดจากครอบครัวที่เกิดจากการที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียนแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นยังมาจากปัญหาของผู้ปกครองเองที่ส่งผลให้ลูกหรือนักเรียนเกิดความเครียดอีกด้วย

 

ไม่เพียงแค่เงินไม่พอใช้ แต่หนี้สินครอบครัวก็ทำให้เด็กไทยเครียดเหมือนกัน

 

เมื่อถามว่าประเด็นการเงินที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • เงินไม่พอใช้ 236 คน คิดเป็น 69.21%
  • ครอบครัวมีหนี้สิน 56 คน คิดเป็น 16.42%
  • ถูกยืมเงินแล้วไม่คืน 25 คน คิดเป็น 7.33%
  • เติมเกมออนไลน์ 16 คน คิดเป็น 4.69%
  • ติดพนันหรือพนันออนไลน์ 4 คน คิดเป็น 1.17%
  • ถูกหลอกโอนเงินหรือถูกโกงเงิน 2 คน คิดเป็น 0.59%
  • เป็นหนี้นอกระบบ 2 คน คิดเป็น 0.59%
  • ไม่ระบุสาเหตุ 2 คน

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องการเงินของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ เงินไม่พอใช้ 100 คน คิดเป็น 65.79%, ครอบครัวมีหนี้สิน 31 คน คิดเป็น 20.39% และติดเกมออนไลน์ 11 คน คิดเป็น 7.24%

 

นักเรียน ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ เงินไม่พอใช้ 105 คน คิดเป็น 76.64%, ครอบครัวมีหนี้สิน 14 คน คิดเป็น 10.22% และถูกยืมเงินแล้วไม่คืน 9 คน คิดเป็น 6.57%

 

นักเรียนปวช. 3 อันดับแรกคือ เงินไม่พอใช้ 31 คน คิดเป็น 59.62%, ครอบครัวมีหนี้สิน 11 คน คิดเป็น 21.15% และถูกยืมเงินแล้วไม่คืน 9 คน คิดเป็น 13.46%

 

จะเห็นได้ว่านอกจากปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้ที่เป็นอันดับ 1 ทั้งในผลสำรวจรวมทุกระดับชั้นและผลสำรวจในแต่ละระดับชั้น อีกหนึ่งปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดด้านการเงินก็คือปัญหาหนี้สินของครอบครัวที่พบในอันดับ 2 ของทุกระดับชั้น

 

Toxic Relationship คือความเครียดด้านความรักที่แม้แต่นักเรียนก็เจอ

 

เมื่อถามว่าประเด็นความรักที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • การอกหัก หรือแอบรักข้างเดียว 77 คน คิดเป็น 35.48%
  • การอยู่ในความสัมพันธ์ที่ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ (Toxic Relationship) 50 คน คิดเป็น 23.04%
  • การอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน/เปิดเผยไม่ได้ 36 คน คิดเป็น 16.59%
  • การไม่มีคู่/แฟน 31 คน คิดเป็น 14.29%
  • การถูกคนรักนอกใจ 16 คน คิดเป็น 7.37%
  • การเป็นคนนอกใจ/คุยหลายคน กลัวถูกจับได้ 6 คน คิดเป็น 2.76%
  • การถูกคนรักทำร้ายร่างกาย 1 คน คิดเป็น 0.46%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องความรักของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ อกหัก หรือแอบรักข้างเดียว 65 คน คิดเป็น 39.39% อยู่ในความสัมพันธ์ Toxic Relationship 35 คน คิดเป็น 21.21% และไม่มีคู่/แฟน 24 คน คิดเป็น 14.55%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ อยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน/เปิดเผยไม่ได้ 12 คน คิดเป็น 33.33%, อกหัก หรือแอบรักข้างเดียว 11 คน คิดเป็น 30.56% และอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic Relationship 7 คน คิดเป็น 19.44%

 

ปวช. 3 อันดับแรกคือ อยู่ในความสัมพันธ์ Toxic Relationship 8 คน 50%, ถูกคนรักนอกใจ 4 คน คิดเป็น 25% และไม่มีคู่/แฟน 2 คน คิดเป็น 12.50%

 

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าแม้ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลในเรื่องความรักจากการอกหัก หรือแอบรักข้างเดียว จะมีมากที่สุด แต่ปัญหาการอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic Relationship นั้นกลับพบอยู่ใน 3 อันดับแรกของทุกระดับชั้นการศึกษา

 

การถูกเพื่อนบูลลี่ยังพบมากในนักเรียน ม.ต้น

 

เมื่อถามว่าประเด็นเรื่องเพื่อนที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • ขัดแย้ง ทะเลาะกับเพื่อน 87 คน คิดเป็น 51.18%
  • ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง บังคับข่มขู่ หรือถูกล้อเลียน และถูกเพื่อนละเลย หรือถูกกีดกันออกจากกลุ่ม เท่ากันที่ 26 คน คิดเป็น 15.29%
  • รู้สึกด้อยกว่าเพื่อนในเรื่องต่างๆ เช่น ฐานะการเงิน, การเรียน, รสนิยม, รูปร่าง, หน้าตา, ยอดผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย 15 คน คิดเป็น 8.82%
  • เข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่มีเพื่อน 12 คน คิดเป็น 7.06%
  • ขโมยของ ไถเงิน 4 คน คิดเป็น 2.35%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องเพื่อนของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ ขัดแย้ง ทะเลาะกับเพื่อน 62 คน คิดเป็น 47.69%, ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง บังคับข่มขู่ หรือถูกล้อเลียน และถูกเพื่อนละเลย หรือถูกกีดกันออกจากกลุ่ม เท่ากันที่ 22 คน คิดเป็น 16.92% และรู้สึกด้อยกว่าเพื่อนในเรื่องต่างๆ 14 คน คิดเป็น 16.92%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ ขัดแย้ง ทะเลาะกับเพื่อน 19 คน คิดเป็น 57.58%, เข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่มีเพื่อน, ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง บังคับข่มขู่ หรือถูกล้อเลียน และถูกเพื่อนละเลย หรือถูกกีดกันออกจากกลุ่ม เท่ากันที่ 4 คน คิดเป็น 12.12%

 

ปวช. มี 2 อันดับคือ ขัดแย้ง ทะเลาะกับเพื่อน 6 คน คิดเป็น 85.71% และเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่มีเพื่อน 1 คน คิดเป็น 14.29%

 

จะเห็นได้ว่านอกจากปัญหาเรื่องขัดแย้ง ทะเลาะกับเพื่อน จะเป็นเรื่องใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเครียดในวัยเรียนในทุกระดับชั้นแล้ว ปัญหาการถูกบูลลี่ กลั่นแกล้ง บังคับข่มขู่ หรือถูกล้อเลียน ยังเป็นปัญหาที่สร้างความเครียดให้กับนักเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ม.ต้น อีกด้วย

 

นอกจากโรคทางกายแล้ว โรคทางใจยังทำให้เครียดเพิ่มขึ้น

 

เมื่อถามว่าประเด็นความเจ็บป่วยที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้, หอบหืด, เบาหวาน 43 คน คิดเป็น 51.81%
  • ความเจ็บป่วยทางใจ เช่น ซึมเศร้า, วิตกกังวล, แพนิก 24 คน คิดเป็น 28.92%
  • แพ้อาหาร 11 คน คิดเป็น 13.25%
  • มีความพิการทางร่างกาย 5 คน คิดเป็น 6.02%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องการเจ็บป่วยของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ มีโรคประจำตัว 38 คน คิดเป็น 54.29%, เจ็บป่วยทางใจ 21 คน คิดเป็น 30% และแพ้อาหาร 9 คน คิดเป็น 12.86%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ มีโรคประจำตัว 3 คน คิดเป็น 50%, แพ้อาหาร 2 คน คิดเป็น 33.33% และเจ็บป่วยทางใจ 1 คน คิดเป็น 16.67%

 

ปวช. 3 อันดับแรกคือ มีความพิการทางร่างกาย 3 คน คิดเป็น 42.86%, เจ็บป่วยทางใจ และมีโรคประจำตัว เท่ากันที่ 2 คน คิดเป็น 28.57%

 

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าความเจ็บป่วยทางใจกลายมาเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเกิดความเครียดและวิตกกังวลในการใช้ชีวิตในทุกระดับชั้น

 

เรื่องสังคม/การเมืองก็ทำให้นักเรียนเครียดได้เหมือนกัน

 

เมื่อถามว่าประเด็นสังคม/การเมืองที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • รู้สึกไม่พอใจกับสังคมที่เป็นอยู่ และไม่เห็นหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้ 32 คน คิดเป็น 44.44%
  • การที่ไม่สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองได้อย่างเสรี 25 คน คิดเป็น 34.72%
  • ความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับคนรอบตัว เช่น ครอบครัว, เพื่อน, แฟน 11 คน คิดเป็น 15.28%
  • การถูกกดดันให้ต้องเลือกฝั่งทางการเมือง 4 คน คิดเป็น 5.56%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องสังคม/การเมืองของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ รู้สึกไม่พอใจกับสังคมที่เป็นอยู่ และไม่เห็นหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้ 23 คน คิดเป็น 42.59%, ไม่สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองได้อย่างเสรี 18 คน คิดเป็น 33.33% และความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับคนรอบตัว 9 คน คิดเป็น 16.67%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกเช่นเดียวกับ ม.ต้น คือ รู้สึกไม่พอใจกับสังคมที่เป็นอยู่ และไม่เห็นหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้ 8 คน คิดเป็น 57.14%, ไม่สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองได้อย่างเสรี 5 คน คิดเป็น 35.71% และความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับคนรอบตัว 1 คน คิดเป็น 7.14%

 

ปวช. 3 อันดับแรกคือ ไม่สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองได้อย่างเสรี 2 คน คิดเป็น 50%, ความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับคนรอบตัว และรู้สึกไม่พอใจกับสังคมที่เป็นอยู่ และไม่เห็นหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็น 25%

 

จะเห็นได้ว่านอกจากความรู้สึกไม่พอใจกับสังคมที่เป็นอยู่ และไม่เห็นหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ที่ทำให้นักเรียนรู้สึกเครียดมากที่สุดแล้ว เสรีภาพในการแสดงออกในเรื่องการเมืองยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในวัยเรียนอีกด้วย

 

ทำงานไปเรียนไปก็เครียดได้นะ

 

เมื่อถามว่าประเด็นการทำงานที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • การทำงานผิดพลาด 20 คน คิดเป็น 39.22%
  • ความกังวลว่าการทำงานส่งผลกระทบกับการเรียน 13 คน คิดเป็น 25.49%
  • อยู่ในภาวะหมดไฟ อยากลาออก 6 คน คิดเป็น 11.76%
  • ชั่วโมงการทำงานมากเกินไป หรือต้องทำงานภายใต้แรงกดดันมากเกินไป หรือถูกกดค่าจ้าง ไม่ได้ค่าจ้างที่เหมาะสม 3 คน คิดเป็น 5.88%
  • การถูกดุด่าด้วยคำพูดรุนแรงจากที่ทำงาน 2 คน คิดเป็น 3.92%
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี เช่น สกปรก, มลภาวะ, อุณหภูมิ, กลิ่น, เสียง 1 คน คิดเป็น 1.96%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องการทำงานของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ ทำงานผิดพลาด 15 คน คิดเป็น 48.39%, การทำงานส่งผลกระทบกับการเรียน 7 คน คิดเป็น 22.58% และชั่วโมงการทำงานมากเกินไป 3 คน คิดเป็น 9.68%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ การทำงานส่งผลกระทบกับการเรียน 4 คน คิดเป็น 40%, ทำงานผิดพลาด 3 คน คิดเป็น 30% และอยู่ในภาวะหมดไฟ อยากลาออก 2 คน คิดเป็น 20%

 

ปวช. 3 อันดับแรกคือ ถูกกดค่าจ้าง ไม่ได้ค่าจ้างที่เหมาะสม และอยู่ในภาวะหมดไฟ อยากลาออก เท่ากันที่ 3 คน คิดเป็น 30% และการทำงานส่งผลกระทบกับการเรียน และทำงานผิดพลาด เท่ากันที่ 2 คน คิดเป็น 20%

 

จากข้อมูลในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่ายังมีนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเครียดและวิตกกังวลอันเนื่องมาจากการที่ต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่พบว่ามีนักเรียนถึง 19.41% ที่ต้องทำงานพิเศษ

 

ไม่ใช่แค่เพื่อน แต่ครูก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด

 

เมื่อถามว่าประเด็นเรื่องครูที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • ถูกครูใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ เช่น ดุด่า, คำหยาบ, เหยียดรูปร่าง/หน้าตา/เพศ/สติปัญญา 24 คน คิดเป็น 61.54%
  • ถูกครูเลือกปฏิบัติ 6 คน คิดเป็น 15.38%
  • ถูกครูลงโทษเกินกว่าเหตุ เช่น ตัดผม, บังคับวิ่งรอบสนาม, ประจาน 5 คน คิดเป็น 12.82%
  • ถูกครูข่มขู่ ใช้ความรุนแรง เช่น หยิก, ตี, ทุบ, ตบ, ไถเงิน และถูกครูใช้ให้ทำงานส่วนตัว เท่ากันที่ประเด็นละ 2 คน คิดเป็น 5.13%
  • ไม่ระบุสาเหตุ 4 คน

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องครูของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ ถูกครูใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ 24 คน คิดเป็น 66.67%, ถูกครูลงโทษเกินกว่าเหตุ 5 คน คิดเป็น 13.89% และถูกครูเลือกปฏิบัติ 4 คน คิดเป็น 11.11%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ ถูกครูเลือกปฏิบัติ 2 คน คิดเป็น 66.67%, ถูกครูใช้ให้ทำงานส่วนตัว 1 คน คิดเป็น 33% และพบว่านักเรียนในระดับชั้น ปวช. ไม่มีใครเลือกตอบในข้อนี้

 

เพศสัมพันธ์ อีกหนึ่งปัญหาสร้างความเครียดให้วัยเรียน

 

เมื่อถามว่าประเด็นเพศสัมพันธ์ที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม 8 คน คิดเป็น 36.36%
  • กังวลเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และกังวลว่าเพศสัมพันธ์จะไม่เป็นที่พึงพอใจของคู่ เท่ากันที่ 5 คน คิดเป็น 22.73%
  • การถูกคุกคามทางเพศ เช่น โดนสัมผัสตัวโดยไม่ยินยอม ใช้คำพูดคุกคาม 2 คน คิดเป็น 9.09%
  • การถูกข่มขู่หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม และรู้สึกไม่มีความสุขจากเพศสัมพันธ์อย่างที่ต้องการ เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็น 4.55%

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องเพศสัมพันธ์ของนักเรียน ม.ต้น ซึ่งตอบว่ากังวลเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, กังวลว่าเพศสัมพันธ์จะไม่เป็นที่พึงพอใจของคู่, ถูกข่มขู่หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม และถูกคุกคามทางเพศ เท่ากันที่ข้อละ 1 คน คิดเป็น 25%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ กังวลเรื่องตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม 5 คน คิดเป็น 62.50%, กังวลว่าเพศสัมพันธ์จะไม่เป็นที่พึงพอใจของคู่ 2 คน คิดเป็น 25% และรู้สึกไม่มีความสุขจากเพศสัมพันธ์อย่างที่ต้องการ เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็น 12.50%

 

ปวช. 3 อันดับแรกคือ กังวลเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 4 คน คิดเป็น 40%, กังวลเรื่องตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม 3 คน คิดเป็น 30% และกังวลว่าเพศสัมพันธ์จะไม่เป็นที่พึงพอใจของคู่ 2 คน คิดเป็น 20%

 

สิ่งที่น่าสนใจจากข้อมูลในการตอบข้อนี้ก็คือ แม้ว่าเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะเป็นเรื่องใหญ่ที่วัยเรียนรู้สึกเครียดและวิตกกังวล แต่นอกจากนั้นกลับพบความเครียดและวิตกกังวลในเรื่องเพศสัมพันธ์ในประเด็นถูกข่มขู่หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม และการถูกคุกคามทางเพศ จากคำตอบของนักเรียนในระดับชั้น ม.ต้น ด้วย

 

อัตลักษณ์ทางเพศ อีกหนึ่งประเด็นที่ก่อให้เกิดความเครียดในยุคปัจจุบัน

 

เมื่อถามว่าประเด็นเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • สรีระที่ไม่ตรงตามเพศที่อยากเป็น เช่น หน้าอก หนวด และการไม่สามารถแสดงออกตามเพศที่อยากเป็น เท่ากันที่ 3 คน คิดเป็น 25.00%
  • เพศที่อยากเป็นขัดกับหลักศาสนาที่นับถือ และรู้สึกสับสนกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง เท่ากันที่ 2 คน คิดเป็น 16.67%
  • การใช้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศ และการไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็น 8.33%
  • ไม่ระบุสาเหตุ 1 คน

 

หากพิจารณาจากระดับชั้นการศึกษาพบว่าความเครียดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศของนักเรียน ม.ต้น 3 อันดับแรกคือ กังวลกับสรีระที่ไม่ตรงตามเพศที่อยากเป็น, เพศที่อยากเป็นขัดกับหลักศาสนาที่นับถือ และรู้สึกสับสนกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง เท่ากัน 2 คน คิดเป็น 25% และการไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง และการไม่สามารถแสดงออกตามเพศที่อยากเป็น เท่ากันที่ 1 คน คิดเป็น 12.50%

 

ม.ปลาย 3 อันดับแรกคือ กังวลกับสรีระที่ไม่ตรงตามเพศที่อยากเป็น, กังวลเรื่องการใช้ฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศ และไม่สามารถแสดงออกตามเพศที่อยากเป็น เท่ากันที่ละ 1 คน คิดเป็น 33.33% ปวช. มี 1 ประเด็นคือ ไม่สามารถแสดงออกตามเพศที่อยากเป็น 1 คน

 

จากข้อมูลจะพบว่าผู้ที่ตอบว่าเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล 13 คน เป็นเพศ LGBTQIA+ 8 คน, หญิง 2 คน, ไม่ต้องการระบุเพศ 2 คน และชาย 1 คน

 

ที่ว่าเครียด เครียดแค่ไหน และแก้ปัญหาอย่างไร

 

เมื่อถามว่าความเครียดและวิตกกังวลในเรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบไปนั้นส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันแค่ไหน โดยเลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า

  • ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน 1,919 คน คิดเป็น 54.58%
  • ผลกระทบกับอารมณ์ เช่น วิตกกังวล, กลัว, เศร้า, ไม่อยากเข้าสังคม 807 คน คิดเป็น 22.95%
  • ผลกระทบกับร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ เครียดลงกระเพาะ 529 คน คิดเป็น 15.05%
  • มีความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้ว หรือคิดอยากฆ่าตัวตาย 185 คน คิดเป็น 5.26%
  • เคยลงมือทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 41 คน คิดเป็น 1.17%
  • มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น 35 คน คิดเป็น 1%

 

เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าความเครียดด้านครอบครัวเป็นประเด็นที่ส่งผลให้นักเรียนคิดอยากจะฆ่าตัวตาย 74 คน, เคยลงมือทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น 18 คน และมีความคิดอยากทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 12 คน

 

ในขณะที่ความเครียดที่ส่งผลกระทบในระดับอารมณ์พบว่ามาจากประเด็นเรื่องการเรียน 355 คน คิดเป็น 43.99%, รูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก 109 คน คิดเป็น 13.51% และครอบครัว 104 คน คิดเป็น 12.89%

 

ส่วนความเครียดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายพบว่ามาจากประเด็นเรื่องการเรียน 330 คน คิดเป็น 62.38%, การเงิน 53 คน คิดเป็น 10.02% และครอบครัว 39 คน คิดเป็น 7.37%

 

เมื่อถามว่าคุณจัดการกับความเครียด หรือมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร โดยเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า

  • หากิจกรรมทำ 2,283 คน คิดเป็น 42.37%
  • ปรึกษาเพื่อน 1,082 คน คิดเป็น 20.08%
  • ไม่ทำอะไรเลย 697 คน คิดเป็น 12.94%
  • ปรึกษาผู้ปกครอง 633 คน คิดเป็น 11.75%
  • ปรึกษาแฟน 291 คน คิดเป็น 5.40%
  • ปรึกษาครู 225 คน คิดเป็น 4.18%
  • ปรึกษาคนในโซเชียลมีเดีย 95 คน คิดเป็น 1.76%
  • ปรึกษานักจิตวิทยา/แพทย์ ที่สถานพยาบาล 57 คน คิดเป็น 1.06%
  • ปรึกษาองค์กรให้คำปรึกษาทางออนไลน์/สายด่วน 25 คน คิดเป็น 0.46%

 

โดยในจำนวนนักเรียนที่ปรึกษานักจิตวิทยา/แพทย์ 57 คน มีนักเรียนที่เครียดจากการเรียน 21 คน, ความเจ็บป่วย 11 คน, การเงิน ครอบครัว และรูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก เท่ากันที่ 5 คน, ความรัก 3 คน, เพศสัมพันธ์ และเพื่อน เท่ากันที่ 2 คน และสังคม/การเมือง และครู เท่ากันที่ 1 คน

 

และสุดท้ายเมื่อถามว่าคุณอยากได้การสนับสนุนหรือความช่วยเหลือในรูปแบบใดเพิ่มเติมเพื่อช่วยจัดการกับความเครียด โดยเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า

  • ไม่ต้องการ 1,705 คน คิดเป็น 36.76%
  • การมีครูแนะแนวที่ให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง 1,063 คน คิดเป็น 22.92%
  • มีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน 610 คน คิดเป็น 13.15%
  • การมีช่องทางให้คำปรึกษาในรูปแบบออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญ 590 คน คิดเป็น 12.72%
  • การที่สามารถเข้าถึงนักจิตวิทยาในสถานพยาบาลได้โดยง่าย 307 คน คิดเป็น 6.62%
  • การมีสายด่วนให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง 296 คน คิดเป็น 6.38%
  • อื่นๆ เช่น คุยกับแฟน, ผู้ปกครอง พ่อแม่ที่ให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง, หากิจกรรมทำ, เล่นกีฬา 67 คน คิดเป็น 1.44%

 

บทสรุปสุขภาพจิตของเด็กไทย

 

จากแบบสำรวจในครั้งนี้ แม้จะพบว่าเรื่องการเรียนเป็นประเด็นที่ทำให้นักเรียนเกิดความเครียดและวิตกกังวลมากที่สุด เนื่องจากเป็นสิ่งที่วัยนี้ต้องรับผิดชอบ แต่ก็พบว่ามีเพียง 51.45% หรือประมาณเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น แต่อีกครึ่งหนึ่งมาจากสภาพสังคมโดยรอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการใช้ชีวิตของวัยเรียนด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปร่าง/หน้าตา/บุคลิก, ครอบครัว, การเงิน, ความรัก, เพื่อน ไปจนถึงเรื่องสังคม/การเมือง ที่มีผู้ตอบมากกว่าประเด็นเรื่องครู, การทำงาน หรือเพศสัมพันธ์เสียอีก

 

และถึงแม้ว่าความเครียดและวิตกกังวลส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันมากที่สุด คิดเป็น 54.58% แต่ก็พบว่านักเรียนในวัยมัธยม ทั้ง ม.ต้น, ม.ปลาย และ ปวช. นั้นประสบปัญหาความเครียดและวิตกกังวลจนส่งผลกระทบต่อร่างกาย, อารมณ์, จิตใจ และการใช้ชีวิต เกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่ตอบแบบสอบถามว่าความเครียดและวิตกกังวลที่เกิดขึ้นส่งผลจนอยากจะฆ่าตัวตาย, เคยลงมือทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น หรือมีความคิดอยากทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งมีสูงถึง 7.43% และกลับพบว่ามาจากสาเหตุเรื่อง ‘ครอบครัว’ เป็นหลัก

 

นอกจากนั้นยังพบว่าวัยเรียนที่มีความเครียดและวิตกกังวลส่วนใหญ่อยากได้การสนับสนุนหรือความช่วยเหลือเพื่อช่วยจัดการกับความเครียด ตั้งแต่ครูแนะแนวที่สามารถให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง, นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน, ช่องทางให้คำปรึกษาในรูปแบบออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญ, การเข้าถึงนักจิตวิทยาในสถานพยาบาลได้โดยง่าย ไปจนถึงสายด่วนให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง

 

ซึ่งจะพบว่าในปัจจุบันแม้จะมีระบบการให้ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตในรูปแบบเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งในด้านปริมาณ การเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว

 

สามารถดูข้อมูลที่ https://rocketmedialab.co/database-student-q4-2024/

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X