×

‘หุ้นไทย’ การฟื้นตัวยังเปราะบาง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัวและโควิดกลับมาแพร่ระบาดในเอเชีย

21.03.2022
  • LOADING...
หุ้นไทย

ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) เริ่มฟื้นตัว หลังหลุดต่ำกว่า 1,600 จุดในช่วงสั้น จากข่าวสหรัฐฯ แบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นแรง ส่งผลให้เกิดความกังวลเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวและเกิดภาวะเงินเฟ้อ กดดันให้ SET ปรับลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1,580 จุด แต่ด้วยความคาดหวังเชิงบวกต่อข่าวการเจรจากันระหว่างรัสเซียและยูเครน Fed ส่งสัญญาณเรื่องนโยบายการเงินชัดเจนขึ้น และจีนเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ดัชนีหุ้นไทยฟื้นตัวกลับขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือ 1,600 จุดได้ 

 

โดยมีแรงหนุนหลักจาก Fund Flow ไหลเข้า สะท้อนได้จากนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิรายเดียวกว่า 1.8 หมื่นล้านบาทในช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 18 มีนาคม ทั้งนี้ แรงซื้อส่วนใหญ่เข้ามาในหุ้นธนาคาร (KBANK, BBL) หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, HANA) หุ้นการแพทย์ (BDMS, BCH) รวมทั้งหุ้นโรงไฟฟ้า (GPSC, BGRIM) ที่ได้อานิสงส์รัฐมีมติปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) อีก 23.38 สตางค์ต่อหน่วยงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมนี้ 

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


 

ด้านแนวโน้ม SET ขึ้นมาเคลื่อนไหวใกล้บริเวณ 1,700 จุด ซึ่งมองเริ่มมี Upside จำกัด และมีโอกาสกลับมาอ่อนตัวอีกครั้ง หลังมีความกังวลภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในระยะถัดไป และยังมีผลต่อเนื่องที่ต้องติดตามจากการคว่ำบาตรรัสเซีย รวมทั้งนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากกว่า คาดอาจนำไปสู่ความเสี่ยงใหม่ได้ 

 

ขณะเดียวกันสถานการณ์การแพร่ระบาดหนักของโควิดในประเทศการผลิตอย่างจีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม ยังเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่การชะงักของห่วงโซ่อุปทานในระยะสั้นได้ ทำให้ภายใต้การฟื้นตัวของตลาดที่ยังเปราะบาง โดยมีประเด็นที่ต้องติดตามทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้นของหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม 

 

รวมทั้งในไทย ซึ่งอาจกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ Selective Buy ในหุ้นเชิงรับที่มีคุณภาพและมีปัจจัยบวกเฉพาะ ได้แก่ 

 

  1. กลุ่มหุ้นที่ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโตดี มีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอกอย่าง KBANK, AMATA, LH, GULF, ADVANC และ ONEE 
  2. กลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์ในยูเครนคลี่คลายอย่าง DELTA, MINT, IVL และ SCGP 
  3. กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นหรือทนทานต้นทุนที่สูงขึ้นได้ และมีอำนาจกำหนดราคาสูงอย่าง BDMS, CPALL, BJC, ADVANC และ OSP  
  4. กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานชะงักระยะสั้น (Supply Disruption) อย่างหุ้นเดินเรือ RCL และ PSL ส่วนกลุ่มหุ้นที่ควรเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนหรือลดน้ำหนักถือครอง ได้แก่ กลุ่มหุ้นที่คาดได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างกลุ่มรับเหมาฯ, กลุ่มยานยนต์, กลุ่มเกษตร และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ 

 

ทั้งนี้ ในบรรดากลุ่มหุ้นต่างๆ ที่แนะนำ ผมนำมาจัดพอร์ตหุ้นจำนวน 5 ตัว เพื่อเป็นแนวทางสำหรับท่านนักลงทุน ดังนี้ 

 

  1. IVL มีโมเมนตัมบวกจากราคาฝ้ายฟื้นตัวขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความต้องการที่มากขึ้นใน PTA และคาดว่ากำไรเติบโต 48%YoY ในปี 2565 
  2. OSP คาดว่ากำไรฟื้นตัวขึ้นในปี 2565 และมองเป็นหุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นหรือทนทานต่อต้นทุนที่สูงขึ้นได้ และมีอำนาจกำหนดราคาสูง 
  3. BDMS หุ้นทนทานต่อความผันผวนของตลาดได้ดีและมีพื้นฐานแกร่ง โดยปี 2565 คาดว่ากำไรเติบโต 21%YoY จากจำนวนผู้ป่วยทั้งไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย 
  4. PSL หุ้นเดินเรือที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานชะงักงันระยะสั้น (Supply Disruption) และได้อานิสงส์จากค่าระวางเรือมีโมเมนตัมปรับขึ้น หลังการปิดน่านฟ้าของรัสเซียทำให้ค่าขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น 
  5. AMATA หุ้นที่ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโตดี โดยคาดว่ากำไรในปี 2565 เติบโตขึ้น 38%YoY และมองเป็นหุ้นที่มีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอก 

 

ติดตามข่าวสารศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน เพิ่มเติมได้ที่ Facebook: THE STANDARD WEALTH และ YouTube: THE STANDARD

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising