×

ส่องผลงานสำคัญ 6 เดือน ก.ล.ต. กับการยกระดับความเชื่อมั่นในตลาดทุนไทย

11.05.2024
  • LOADING...

บอร์ด ก.ล.ต. นับหนึ่ง เริ่มสรรหาบุคคลมารับนั่งเก้าอี้ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ คนใหม่ แทน ‘พิชัย ชุณหวชิร’ ที่ลาออกไปรับตำแหน่ง รมว.คลัง คาดเคาะชื่อได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ 

 

พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้เริ่มกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคคล และแต่งตั้งอนุกรรมการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการ (บอร์ด) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ว่างลง แทน พิชัย ชุณหวชิร ซึ่งเป็นโควตาตัวแทนจากฝ่ายของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ลาออกไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรองนายกรัฐมนตรี

 

โดยปัจจุบันสำนักงาน ก.ล.ต. มีโควตาในการแต่งตั้งและสั่งตัวแทนไปนั่งเป็นกรรมการ (บอร์ด) ตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวนรวม 6 คน จากจำนวนทั้งหมดที่มีทั้งสิ้นประมาณ 10 คน

 

สำหรับขั้นตอนกระบวนการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ แทน พิชัย ชุณหวชิร นั้น จะเริ่มต้นจากการให้องค์กรภาคีในภาคตลาดทุนรวม 14 องค์กร รวบรวมนำเสนอรายชื่อบุคคลที่คุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาจำนวนไม่เกิน 14 รายชื่อกลับเข้ามาในเดือนมิถุนายน เพื่อเสนอต่ออนุกรรมการสรรหาฯ เพื่อทำการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านเข้ารอบ (Shortlisted) จากนั้นจะเสนอต่อบอร์ดของสำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาลงมติเลือกรายชื่อที่เหมาะสมมารับตำแหน่งบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนพิชัยภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 

 

“บุคคลที่จะมานั่งเป็นประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยปกติจะมาจากบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เป็นตัวแทนที่มาจากโควตาของ ก.ล.ต. ที่ส่งไป หลังจากบอร์ด ก.ล.ต. เคาะเลือกบุคคลที่จะมานั่งเป็นบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนท่านพิชัย ชุณหวชิร แล้ว ในส่วนของตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนใหม่ที่จะมาแทนท่านพิชัยนั้น เป็นอำนาจของบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะเป็นผู้แต่งตั้ง ซึ่งก็จะอยู่ใน 6 รายชื่อของโควตาที่ ก.ล.ต. ส่งตัวแทนไป” พรอนงค์กล่าว

 

พรอนงค์กล่าวต่อว่า ในส่วนของการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ขยายระยะเวลาเปิดรับสมัครออกไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จากกรอบเวลาเดิมที่เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม – 30 เมษายน 2567 มาแทน ภากร ปีตธวัชชัย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนปัจจุบัน ที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในช่วงกลางเดือนกันยายน 2567 เท่าที่ดูกฎเกณฑ์ ในส่วนนี้ถือเป็นอำนาจการตัดสินใจของบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอการแต่งตั้งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้มาทำหน้าที่ เพราะบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เหลือสามารถดำเนินการได้ทันที

 

สรุปผลงานสำคัญ ก.ล.ต. ช่วง 6 เดือน (ตุลาคม 2566 – เมษายน 2567)

 

ภารกิจยกระดับ Trust & Confidence ในตลาดทุนไทย ด้วยมาตรการ ป้อง – ปราม – ปราบ

 

โครงการผู้ออกหลักทรัพย์เข้มแข็ง

  • ทบทวนกฎเกณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
  • ส่งเสริมบทบาทความรับผิดชอบให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (Line of Defense) รวมทั้งยกระดับการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ (Gatekeeper) เพื่อให้ทำหน้าที่ได้ตามมาตรฐาน เช่น ผู้สอบบัญชี (กำหนดจำนวนผู้สอบบัญชีขั้นต่ำ คาดว่าจะออกประกาศเดือนมิถุนายน 2567) และที่ปรึกษาทางการเงิน (ซักซ้อมแนวปฏิบัติฯ การทำหน้าที่ของ FA)
  • ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบเพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติหรือความเสี่ยงในด้านต่างๆ 

 

ยกระดับคุณภาพตราสารหนี้

  • ยกระดับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ให้เข้มงวดมากขึ้น (คาดว่าจะออกประกาศเดือนพฤษภาคม 2567) ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มประเภท Key Financial Ratio ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม (คาดว่าจะออกประกาศเดือนพฤษภาคม 2567)
  • การยกระดับการทำหน้าที่ของ Gatekeeper ที่เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ 

 

การสร้างความเป็นธรรมในธุรกรรม SS/PT 

  • แนวทางปรับปรุงการกำกับดูแลธุรกรรม Short Selling

 

เป้าหมาย 1: เพิ่มกลไกสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขาย

 

1.1 เพิ่มคุณภาพหุ้นที่สามารถ Short Selling (Eligible Securities): ตลท. เพิ่มเงื่อนไขของหุ้นกลุ่ม Non-SET100 ที่สามารถขายชอร์ตได้ โดยเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) เป็น 7,500 ล้านบาท (จากเดิม 5,000 ล้านบาท) และเกณฑ์สภาพคล่องของหุ้น (Turnover) เฉลี่ย 12 เดือนที่ 2% (จากเดิมไม่กำหนด) โดยอยู่ระหว่างดำเนินการและจะมีผลใช้บังคับไตรมาส 2/67  

1.2 ปรับปรุงเกณฑ์ซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ (Trading Rules) กรณี SS เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ (ตลท. อยู่ระหว่างดำเนินการ)

 

1.2.1 ปรับการใช้ราคาขายชอร์ตที่ต้องสูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick Rule) กับทุกหลักทรัพย์ โดยจะมีผลใช้บังคับไตรมาส 2/67  

 

1.2.2 เปิดเผยยอดขายชอร์ตคงค้างรายวัน (Outstanding Short Position) (ตลท. ดำเนินการแล้ว)
 

โดยได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นรายวันผ่านเว็บไซต์ SET ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567

 

เป้าหมาย 2: ป้องปรามการขายชอร์ตที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ (Naked Short Selling)

 

2.1 เพิ่มคุณภาพการทำหน้าที่ตรวจสอบของตัวกลาง 

 

2.1.1 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (อยู่ระหว่างจะทำเฮียริ่ง โดยจะมีผลใช้บังคับไตรมาส 3/67)

 

  • ทำความรู้จักระบบงานของลูกค้า (Know Your Process: KYP) กรณีลูกค้าที่เป็น บล. ต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้าทราบ/เข้าใจหลักเกณฑ์ และสื่อสารให้ลูกค้าในชั้นต่อไป และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าตัวกลางมีระบบควบคุมติดตามการปฏิบัติตามเกณฑ์ SS ที่เกี่ยวข้อง
  • มีข้อตกลงกับลูกค้าว่ายินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยินยอมให้ บล. ไล่เบี้ยค่าปรับกรณีที่ บล. ต้องชำระค่าปรับเนื่องจากลูกค้าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ บล. ต้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
  • มีระบบงานรับส่งคำสั่งที่มีประสิทธิภาพ และกลั่นกรองคำสั่งโดยตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันว่าลูกค้ามีหลักทรัพย์ตามคำสั่ง
  • มีระบบ Post Trade Monitoring สุ่มตรวจธุรกรรม Short หรือ Long Sell และรายงานให้ Regulator ทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อพบเหตุที่น่าสงสัย

 

2.1.2 พัฒนาระบบกลาง ให้ บล. ตรวจสอบหลักทรัพย์ได้ (ตลท. คาดว่าจะเริ่มใช้บังคับไตรมาส 4/67)

 

2.1.3 เพิ่มบทระวางโทษ บล. ให้สูงขึ้น 3 เท่า โดยจะเพิ่มโทษในกรณีที่ บล. ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ SS และ PT ให้สูงขึ้นจากปัจจุบัน 3 เท่า (ตลท. คาดว่าจะเริ่มใช้บังคับไตรมาส 2/67)

 

2.2 แก้กฎหมายเพิ่มความรับผิดตลอดสาย ลงโทษ/บังคับใช้กฎหมายกับผู้ลงทุนที่ไม่ทำตามเกณฑ์ขายชอร์ต และสร้างกลไกที่ทำให้ทราบถึงผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (End-Beneficial Owner) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

 

2.3 เพิ่มการทำหน้าที่ผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน (Custodian) ในฐานะ Gatekeeper (TSD) โดยให้ Custodian แจ้งวัตถุประสงค์การโอนเพื่อการสอบยันการทำรายการยืม (คาดว่าจะเริ่มดำเนินการภายในไตรมาส 3/67)

 

  • แนวทางปรับปรุงการกำกับดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (Program Trading) และการส่งคำสั่งด้วยความเร็วสูง (High Frequency Trading: HFT)

 

เป้าหมาย: เพิ่มกลไกการสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายโดยรวม

 

  1. ดำเนินการให้สามารถรู้ตัวตนลูกค้าและตรวจสอบได้: ให้ บล. และลูกค้าที่ใช้ HFT และใช้ SET Colocation ต้องขึ้นทะเบียน (Register) เพื่อให้สามารถทราบข้อมูลของผู้ลงทุนในระดับ Sub-Account ของ Omnibus Account (คาดว่าจะเริ่มใช้บังคับไตรมาส 2/67)

 

  1. ทบทวนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 

 

2.1 เพิ่มลักษณะคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมให้ครอบคลุมพฤติกรรมการซื้อขายในปัจจุบัน (ดำเนินการแล้ว โดย ตลท. ได้แจ้งให้ บล. สมาชิกและไม่ใช่สมาชิกทราบเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567)

 

2.2 จัดทำระบบกลางคัดกรองคำสั่งไม่เหมาะสม (Central Order Screening) (ตลท. อยู่ระหว่างศึกษา คาดว่าจะเริ่มใช้ต้นปี 2568)

 

2.2 กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำของคำสั่งซื้อขายก่อนที่จะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งนั้นได้ (Order Resting Time) เพื่อป้องกันคำสั่งใส่ถอนถี่เกินไป (Spoofing) (ตลท. อยู่ระหว่างพัฒนาระบบและออกหลักเกณฑ์ คาดว่าจะเริ่มใช้บังคับไตรมาส 4/67)

 

  1. ควบคุมความผันผวนของราคาหลักทรัพย์

 

3.1 เพิ่มเพดานการเคลื่อนไหวของราคาระหว่างวัน (Dynamic Price Band) ที่แคบกว่าเกณฑ์ราคาสูงสุด-ต่ำสุด (Ceiling and Floor) เพื่อป้องกันราคาผันผวนอย่างรวดเร็ว (คาดว่าจะเริ่มใช้บังคับไตรมาส 2-3/67)

 

3.2 เพิ่มมาตรการให้ซื้อขายแบบประมูล (Auction) เพื่อใช้ควบคุมกำกับดูแลหุ้นที่มีความผันผวนหรือเคลื่อนไหวของราคาที่ผิดปกติ (คาดว่าจะเริ่มใช้บังคับไตรมาส 3/67)

 

  1. ผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

 

4.1 ทบทวนเกณฑ์การดำเนินการกับลูกค้าที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ตลท. อยู่ระหว่างหารือร่วมกับ ASCO และ สนง. โดยคาดว่าจะดำเนินการภายในไตรมาส 3/67)

 

4.2 ตลท. เปิดเผยรายชื่อลูกค้าที่ส่งคำสั่งไม่เหมาะสมให้ทุก บล. ทราบ เพื่อให้ดำเนินการตามที่กำหนด (คาดว่าจะเริ่มดำเนินการภายในไตรมาส 2/67)

 

การเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

 

  • ปรับโครงสร้างองค์กร โดยรวมศูนย์งานสายระดมทุนและงานสายบังคับใช้กฎหมาย และสายงานบังคับใช้กฎหมายเพิ่มเติมอีกหนึ่งตำแหน่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการบังคับใช้กฎหมาย (ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566)
  • ผลักดันด้านการบังคับใช้กฎหมาย และประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น DSI และสำนักงานอัยการสูงสุด สำหรับเคสที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบวงกว้าง เช่น STARK, MORE และ Zipmex
  • ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – เมษายน 2567 ได้ดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งในกรณีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย ซึ่งผู้กระทำผิดตกลงทำบันทึกการยินยอม 6 คดี ผู้กระทำผิดรวม 20 คน (ค่าปรับทางแพ่ง 32.39 ล้านบาท และชดใช้เงินฯ 18.28 ล้านบาท) และกล่าวโทษ 21 คดี ผู้ถูกกล่าวโทษรวม 72 คน (กรณีการกระทำไม่เป็นธรรม 3 คดี กรณีทุจริต 5 คดี และกรณีอื่นๆ 13 คดี)
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X