×

นับถอยหลังยานยนต์ แบกแรงงานไทย?

โดย THE STANDARD TEAM
04.10.2024
  • LOADING...

ยานยนต์ไทยอ่วมหนัก ยอดผลิตลดลง 11% กระทบผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ

 

อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ความท้าทายจึงตกไปอยู่กับธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องปรับตัวให้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น

 

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเทศไทยนับเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลักแห่งหนึ่งของโลก จากการที่เป็นฐานการประกอบรถยนต์มากกว่า 1.8 ล้านคันในปี 2566 ซึ่งสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก เนื่องจากมีห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่ครบวงจร จากการที่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (OEM:Original Equipment Manufacturing) และชิ้นส่วนซ่อมบำรุง (REM:Replacement Equipment Manufacturing) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน 

 

ข้อมูลของ EEC ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานกว่า 850,000 คน ทำงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิต

 

จากการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมีการรายงานเพิ่มเติมว่า ในปี 2567 ประเทศไทยคาดว่าจะผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 1.64 ล้านคัน ลดลง 11.0% ส่งผลต่อธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ 

 

ชิ้นส่วน OEM: ยอดขายชิ้นส่วนในประเทศคาดว่าจะลดลง 11.9% และการส่งออกลดลง 2.9% เนื่องจากการผลิตรถยนต์ลดลงทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยมีปัจจัยจากการนำเข้ารถยนต์ BEV เพิ่มขึ้น

 

ชิ้นส่วน REM: ยอดขายชิ้นส่วนซ่อมบำรุงในประเทศคาดว่าจะเติบโต 6.4% จากจำนวนรถยนต์จดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากชิ้นส่วนจีนที่เข้ามาแข่งในตลาด

 

ผู้ประกอบการเหลือเวลาอีก 5 ปีในการปรับตัว แต่ผลตอบแทนและการจ้างงานจะไม่มากเหมือนในอดีต 

 

ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานอาวุโส กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของประเทศ ให้ความเห็นกับTHE STANDARD ว่า อนาคตของภูมิทัศน์การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ 3 ประเภทได้แก่ EV, ICE, และ Hybrid โดยที่ผู้ประกอบการชิ้นส่วนมีเวลาปรับตัวอีก 5 ปีในการลงทุนทางด้านเครื่องจักรและคุณภาพการผลิต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต

 

“แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะเดินหน้าไปสู่การเป็นฐานการผลิตของรถยนต์แบบผสมทั้ง 3 แบบ แต่ความท้าทายของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากในอนาคตชิ้นส่วนยานยนต์จะกลายเป็นสินค้า Commodities ที่แข่งขันกันด้วยราคา

 

“ผู้ผลิตชิ้นส่วนจะต้องเลือกว่าจะวาง Position ของตัวเองให้เป็น Cost-led Company ที่แข่งขันกันด้วยราคาและต้นทุน หรือ Technology-led Company ที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อรองรับความต้องการของการผลิตในอนาคต ซึ่งเส้นทางนี้ ผู้ประกอบการมีเวลาอีก 5 ปีในการเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

 

“แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์จะไม่ใช่อุตสาหกรรมที่เป็น High Pay และจ้างงานคนเยอะเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว” ชนาพรรณกล่าว

 

ชนาพรรณยังชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตจะไม่ใช่อุตสาหกรรมที่มีค่าตอบแทนสูงเหมือนในอดีต และไม่ใช่อุตสาหกรรมที่สร้างงานจำนวนมากอีกต่อไป เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ EV และการใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานมนุษย์ การลงทุนในอนาคตของผู้ประกอบการไทยจึงควรมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น

 

แม้ว่ายานยนต์สันดาปภายใน (ICE) จะยังมีบทบาทอยู่ในปัจจุบัน แต่เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวรับมือกับการลดลงของความต้องการในตลาดยานยนต์สันดาป

 

แต่ไม่ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะมุ่งหน้าไปเป็น EV หรือไฮบริด ชนาพรรณมองว่า การจ้างงานของแรงงานในภาคยานยนต์ ‘จะไม่มีทางมากเท่าในอดีต’ เพราะความต้องการเทคโนโลยีที่แม่นยำในการผลิตจะเข้ามาแทนที่ แรงงานมนุษย์จะลดลงอย่างแน่นอน และยังชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ใน ‘อาจจะ’ ไม่ใช่อุตสาหกรรมที่มีค่าตอบแทนสูงเหมือนในอดีต

 

โดยอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะต้องพึ่งพาการผสมผสานของเทคโนโลยีหลายประเภท ทั้ง EV, ICE, และ Hybrid แต่สิ่งสำคัญคือการปรับตัวของผู้ประกอบการให้เข้ากับบริบทใหม่ๆ ของตลาด โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิตมากขึ้น และการสนับสนุนจากภาครัฐในทุกส่วนของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมนี้ได้ในระยะยาว

 

การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้จึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การปรับตัวของผู้ประกอบการชิ้นส่วนทั้ง OEM และ REM รวมไปถึงภาครัฐในการออกนโยบายที่สื่อสารกับค่ายรถยนต์เพื่อยกห่วงโซ่อุปทานไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

 

ร่วมหาคำตอบทางรอดของอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจากทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทาน และภาพอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยได้ที่งาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 เวที Electric Transition: Paving the Way for Sustainable Mobility เปลี่ยนผ่านยานยนต์ไฟฟ้า: ปูทางสู่การขับเคลื่อนที่ยั่งยืน ได้ในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้

 

อ้างอิง: 

 


 

ฟัง ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ พูดคุยในหัวข้อ ‘เปลี่ยนผ่านยานยนต์ไฟฟ้า: ปูทางสู่การขับเคลื่อนที่ยั่งยืน’ ที่งาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024

🔥 บัตร Early Bird จำนวนจำกัด ส่วนลดถึง 2,000.- 

ดูรายละเอียดที่ https://bit.ly/tsef2024PTIDTECNM04

 

🔺 บัตรใบเดียวเข้างานได้ 3 วันเต็ม
วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน

🔺 เลือกซื้อบัตร 1 วันได้ในราคาพิเศษ เพียงใบละ 1,590.-

🔺 เนื้อหาเจาะลึกเมกะเทรนด์ปี 2025 เศรษฐกิจ / AI / ภูมิรัฐศาสตร์ / EV 

🔺 ฟังอินไซต์จากผู้ออกแบบนโยบายจริง วางแผนอะไร คิดอะไรอยู่ 

 

ซื้อบัตรองค์กร ติดต่อ [email protected]
หรือ 02 079 5428 กด 6 (เวลาทำการ 10.00-18.00 น.)

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising