×

ยื่นภาษีไม่ทัน ต้องทำอย่างไร โทษหนักแค่ไหน อ่านเลย!

09.04.2022
  • LOADING...
ยื่นภาษี

เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ถือเป็นวันสุดท้ายสำหรับการ ‘ยื่นภาษี’ เงินได้ ภ.ง.ด.90/91 ประจำปี 2564 ที่กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นได้ผ่านช่องทางออนไลน์ แน่นอนว่าอาจจะมีผู้ที่ ‘ลืม’ หรือติดธุระสำคัญจน ‘ยื่นไม่ทัน’ บ้าง ซึ่งก็คงมีคำถามตามมาว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้า ‘ยื่นภาษีไม่ทันวันสุดท้าย’ แล้วสามารถยื่นย้อนหลังได้หรือไม่ โทษหนักแค่ไหน ทีมข่าว THE STANDARD WEALTH หาคำตอบมาให้แล้ว

 

ในกรณีที่ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กรมสรรพากรระบุเอาไว้ ผู้เสียภาษีต้องไปยื่นย้อนหลังด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และควรต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อประกอบการยื่นภาษีไปให้ครบ เช่น 

 

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
  • หนังสือรับรองการจ่ายเงินปันผล
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีต่างๆ เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นของตัวเองหรือของพ่อแม่ได้หมด
  • หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
  • เอกสารยืนยันสิทธิ์ค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย.03)
  • การชำระดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน
  • เอกสารการซื้อกองทุน SSF หรือ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี 

 

ส่วนบทลงโทษจะมีค่าปรับตามกฎหมายสรรพากร โดยต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดหย่อนได้ ดังนั้นแล้วในกรณีผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังจากระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเอาไว้ มีเงื่อนไขการชำระเงินและเสียค่าปรับตามนี้ 

 

  • กรณียื่นย้อนหลังและมีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม ต้องจ่ายค่าปรับจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน ซึ่งเศษของเดือนที่ต้องจ่ายเพิ่มปัดเป็น 1 เดือน
  • กรณียื่นย้อนหลัง แต่ไม่มีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม ให้ชำระแต่ค่าปรับอย่างเดียวจำนวนไม่เกิน 2,000 บาทเท่านั้น

 

ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าการเสียภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้มีเงินได้ สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ได้ยื่นแบบภาษีหรือไม่ได้ชำระภาษี ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร ซึ่งนอกจากต้องรับผิดทางแพ่งแล้ว ยังต้องรับผิดทางอาญาด้วย

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X