ของที่ระลึกการเดินทางแบบดั้งเดิม เช่น โปสการ์ด พวงกุญแจ หรือแม่เหล็กติดตู้เย็น กำลังเป็นสิ่งที่ล้าสมัยสำหรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มคนรุ่น Millennial และ Gen Z ที่ตอนนี้ได้แสวงหาช่างสักชื่อดังจากทั่วโลกเปลี่ยนร่างกายของพวกเขาให้กลายเป็นผืนผ้าใบที่มีชีวิตสำหรับบันทึกการผจญภัย
เทรนด์ ‘Tattourism’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผสมผสานศิลปะการสักเข้ากับแผนการเดินทาง สร้างความสุข 2 เท่าสำหรับผู้ชื่นชอบที่ไม่เพียงแต่ได้เยี่ยมชมสถานที่ใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังได้รับของที่ระลึกตลอดชีวิตในรูปแบบของศิลปะบนเรือนร่าง แม้จะต้องนัดหมายกับช่างเป็นปีก็ตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- โรงงานแห่งหนึ่งในจีนจะไม่รับ ‘พนักงานที่มีรอยสัก’ เข้าทำงาน เพราะมองว่าไม่น่านับถือหรือไม่เชื่อฟัง และอาจส่งผลเสียต่อวัฒนธรรมของบริษัท
- รู้หรือไม่? ‘ช่างสัก’ คืออาชีพที่ผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ แม้อุตสาหกรรมนี้จะมีมูลค่า 5.5 พันล้านบาทต่อปีก็ตาม
- จากอดีตนักโทษ สู่ชีวิตที่แทบลง ‘แดง’ เส้นบางๆ ระหว่างความสุขกับความทุกข์ที่เลือกเดิน
กรณีตัวอย่างคือ Christopher Rogan วัย 40 ปี จากรัฐนิวเจอร์ซีย์ ที่บินลัดฟ้าไปลอสแอนเจลิสในปี 2015 เพียงเพื่อให้ Dr. Woo ช่างสักที่ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบอันประณีตและมีผู้ติดตามกว่า 1.7 ล้านคนบน Instagram ลงมือสักบนร่างกายของเขา
เทรนด์ที่กำลังพัฒนานี้ให้มากกว่าศิลปะบนเรือนร่างสำหรับหลายๆ คน นี่เป็นวิธีสร้างความผูกพันที่ลึกซึ้งและยั่งยืนกับสถานที่ที่พวกเขาไปเยี่ยมชม
ตัวอย่างเช่น Andy Glickman ช่างทำผมและครูสอนโยคะอายุ 32 ปีจากฟิลาเดลเฟีย ที่มีรอยสัก Star of David ที่เขาได้รับระหว่างการเดินทางไปอิสราเอล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการสำรวจมรดกชาวยิวของเขา ในอีกกรณีหนึ่ง ขณะเดินทางไปเชียงใหม่เขาได้รับการสักยันต์ที่บริเวณหลังจากมือของพระสงฆ์
Sean Flynn บรรณาธิการวัย 36 ปี จากเจอร์ซีย์ซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ผู้ซึ่งได้รอยสักมาหลังจากไปเยือนบาร์เซโลนาเมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่คนอื่นคิดอย่างไรกับรอยสักของฉัน แต่สิ่งที่ฉันได้รับจากรอยสักเหล่านั้น นั่นคือความพึงพอใจและความสุขส่วนตัวที่พวกเขามอบให้ ซึ่งดีกว่าของที่ระลึกใดๆ”
ภาพ: Lauren DeCicca / Getty Images
อ้างอิง: