×

บริษัทสวีเดนออกแบบอาคาร ‘ฟาร์มในตึกสูง’ ตอบโจทย์ประชากรล้น-อาหารขาดแคลน

20.11.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

1 Mins. Read
  • แพลนตากอน (Plantagon) บริษัทเทคโนโลยีทางอาหารสัญชาติสวีเดนออกแบบอาคารแนวดิ่งที่มีพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกผลิตผลทางการเกษตรได้ ซึ่งตึกแพลนสเครปเปอร์ (Plantscraper) อาคารแรกอยู่ระหว่างก่อสร้างในเมืองลินเชอปิง ประเทศสวีเดน
  • เปรียบเทียบกับฟาร์มกลางแจ้งส่วนใหญ่ในขนาดเดียวกัน ตึกนี้สามารถผลิตอาหารได้มากกว่า โดยในแต่ละปีอาคารนี้จะสามารถผลิตพืชผลต่างๆ ได้ราว 550 ตัน เพียงพอต่อการบริโภคของคนประมาณ 5,500 คน
  • ขณะเดียวกันแพลนสเครปเปอร์ช่วยประหยัดน้ำราว 13 ล้านแกลลอนต่อปี พร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1,100 ตันต่อปีด้วย

     ความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหารถือเป็นประเด็นหนึ่งที่นานาชาติให้ความสำคัญ ท่ามกลางยอดประชากรโลกที่คาดการณ์ว่าจะแตะ 9,600 ล้านคน ภายในเวลาอีก 33 ปี

     ตัวเลขประมาณไว้อีกว่า ประชากร 2 ใน 3 จากทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในเมือง จนทำนำไปสู่คำถามว่า ทำอย่างไรจึงจะมีอาหารเพียงพอต่อคนเมืองเหล่านี้

 

 

     แพลนตากอน (Plantagon) บริษัทเทคโนโลยีทางอาหารสัญชาติสวีเดนให้คำตอบนี้ด้วยการออกแบบอาคารแนวดิ่งที่มีพื้นที่ใช้ในปลูกผลิตผลทางการเกษตรได้ ซึ่งตึกแพลนสเครปเปอร์ (Plantscraper) อาคารแรกอยู่ระหว่างก่อสร้างในเมืองลินเชอปิง ประเทศสวีเดน

     ฮานส์ ฮัสเซิล (Hans Hassle) ซีอีโอบริษัทให้สัมภาษณ์ว่า “โครงการนี้เป็นการสาธิตอนาคตของวิธีการป้อนอาหารสู่เมืองที่มีพื้นที่ น้ำ หรือทรัพยากรอื่นๆ ไม่เพียงพอ”

     ตามแบบร่างของอาคาร พื้นที่ประมาณ 60% จะถูกใช้เป็นสำนักงาน ส่วนที่เหลือจะถูกใช้เป็นฟาร์มในร่ม

 

 

     โครงการนี้ใช้วิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มีการออกแบบให้ครอบคลุมทั้งในเรื่องการจัดการน้ำและพลังงาน นอกจากนี้กระบวนการในฟาร์มส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้แรงงานคนซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายได้

     เมื่อเปรียบเทียบกับฟาร์มกลางแจ้งส่วนใหญ่ในขนาดเดียวกัน ตึกนี้สามารถผลิตอาหารได้มากกว่า โดยในแต่ละปีอาคารนี้จะสามารถผลิตพืชผลต่างๆ ได้ราว 550 ตัน เพียงพอต่อการบริโภคของคนประมาณ 5,500 คน

 

 

     ขณะเดียวกัน แพลนสเครปเปอร์ช่วยประหยัดน้ำราว 13 ล้านแกลลอนต่อปี พร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1,100 ตันต่อปีด้วย

     แพลนสเครปเปอร์แห่งแรกเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2012 ด้วยงบประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดการณ์ว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ในปี 2020


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X