×

Stay Invest: ลงทุนแบบนี้ไม่มีตกรถ

27.07.2023
  • LOADING...
Stay Invest

‘Stay Invest: Let market takes care itself’ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี กลยุทธ์นี้ก็ยังได้ผล

 

ถ้ามองไปยังตลาดการลงทุนต่างๆ ในโลกทุกวันนี้จะพบว่า ยังปกคลุมไปด้วยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนในระยะสั้น 

 

เริ่มจากสหรัฐอเมริกาที่เราเห็นสัญญาณว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ซึ่งถ้ามาดูมุมมองนักลงทุนในวันนี้ล้วนก้าวข้ามความกังวลเรื่องดอกเบี้ยไปแล้ว ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะมีโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอย (Recession) แต่ก็คาดว่าจะเกิดแบบไม่รุนแรง (Mild Recession) หรืออาจเป็นเพียงการชะลอตัวเท่านั้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ส่วนการจ้างงานของสหรัฐฯ ก็ยังแข็งแกร่งเหมือนเดิม 

 

เมื่อไปดูฝั่งยุโรปก็พบว่า ไม่ได้พยายามขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรง จึงประคองเศรษฐกิจให้เดินต่อไปข้างหน้าได้ แต่ว่าแรงกดดันในระยะข้างหน้าก็ยังคงมีอยู่ เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยก็น่าจะยังมีต่อไป 

 

ในส่วนของญี่ปุ่น เศรษฐกิจก็มีความยั่งยืนได้ในระยะยาว แต่ในระยะสั้นการที่ญี่ปุ่นรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำอาจทำให้มีแรงกดดันเงินเฟ้อในช่วงถัดไปได้ 

 

ถัดมาที่จีน การแข่งขันทางเทคโนโลยีกับฝั่งตะวันตกยังไม่จบ ส่วนการส่งออกก็ยังถูกกดดันจากตลาดโลกที่เริ่มลดความสำคัญของจีนในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนก็น่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป 

 

ส่วนไทยนั้นยังมีเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังต้องลุ้นกันต่อไป ซึ่งหากประเด็นการเมืองนิ่งเมื่อไร เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยก็มีศักยภาพมากพอที่จะขยายตัวได้ในระยะถัดไป

 

เมื่อพิจารณาเรื่องแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ ในโลกก็จะพบว่า เกือบทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ, ยุโรป, จีน, ไทย, เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายลง ปรับลดดอกเบี้ยในปี 2567 มีเพียงญี่ปุ่นที่อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อย

 

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้แต่ละประเทศจะเผชิญปัจจัยกดดันระยะสั้นอยู่ในเวลานี้ แต่ถ้ามองข้ามช็อตไกลๆ แต่ละตลาดก็ยังมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาวได้อยู่ โดยถ้าพิจารณาผลการดำเนินงานของตลาดใหญ่ๆ ของโลก จากข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 พบว่า ผลตอบแทนในรอบ 1 ปีของบางตลาดเป็นบวก เช่น S&P 500 +14.5%, STOXX 600 +9.3% และ NIKKEI 225 +15.7% ส่วนบางตลาดก็เป็นลบ เช่น CSI 300 -9.8% และ SET Index -1.5% ซึ่งก็เป็นผลจากปัจจัยของแต่ละประเทศเอง 

 

แต่หากมองไกลขึ้นในบริบทของผลการดำเนินงาน 5 ปี จากข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เหมือนกัน จะพบว่า เกือบทุกตลาดให้ผลตอบแทนเป็นบวก ไม่ว่าจะเป็น S&P 500 +60.8%, STOXX 600 +19.9%, NIKKEI 225 +43.7% และ CSI 300 +6.7% มีเพียง SET Index ที่ยังติดลบอยู่ -8.7%

 

ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้ผมจึงอยากแนะนำให้นักลงทุนทุกท่านก้าวข้ามความผันผวนที่มีระยะสั้น แล้วมองไปยังโอกาสระยะยาว ด้วยการ ‘Stay Invest: Let market takes care itself’ โดยผมมองว่า ตลาดส่วนใหญ่ก็ดูแลตัวเองได้ดี สามารถปรับตัวเป็นบวกได้ในระยะยาวอยู่แล้ว ฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องเอาเวลาไปกังวลหรือยุ่งกับตลาดที่เผชิญความผันผวนในระยะสั้น แต่เอาเวลามาดูแลตัวเองให้ดี ไม่ให้เสียโอกาสจากการตกรถ ด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องดีกว่า

 

ทั้งนี้ เพราะการที่ตลาดให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวแม้ว่าในระยะสั้นจะผันผวน ทำให้นักลงทุนที่ Stay Invest หรือลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร มักจะสร้างผลตอบแทนในระยะถัดไปได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับนักลงทุนที่ไม่ได้ Stay Invest แต่หนีออกจากตลาดไปก่อนเมื่อตลาดปรับตัวลดลง แล้วค่อยกลับเข้ามาอีกครั้งในอนาคต และทำแบบนี้เป็นประจำ  

 

มีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดว่า ถ้าเราไม่ Stay Invest จะเป็นอย่างไร ก็คือ ถ้าไปดูสถิติตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะพบว่า ทุกครั้งที่สหรัฐฯ ผ่านวิกฤต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงไปในช่วงวิกฤตก็จะกลับมาสร้างสถิติสูงสุดใหม่ (New High) ซึ่งถ้าเรามองว่าในปัจจุบันสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจถดถอยหรืออาจแค่ชะลอตัว แล้วจากนั้นก็กลับมาได้ ก็แปลว่าถ้าเราไม่อยากพลาดโอกาสดีๆ ในระยะข้างหน้าไป ก็ควร Stay Invest 

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามองเห็นว่าในระยะสั้นตลาดหุ้นยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอยู่ ควรจะรอดีหรือไม่ แล้วจึงค่อยเข้าไปลงทุน ผมมองว่า การรอเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่เราควรกำหนดระดับเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นการรออย่างมีจุดหมาย เช่น ถ้าตลาดปรับลดลงไปเท่าไรหรือนานแค่ไหนแล้วจะกลับเข้าไปลงทุน ไม่ใช่การรอไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ตกรถไป   

 

คำถามถัดมาก็คือ ถ้าเราจะ Stay Invest เราควรเลือกผลิตภัณฑ์อย่างไร?

 

ในประเด็นนี้ผมมองว่า การ Stay Invest ควรทำผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์ 4 ประการ ได้แก่ 

 

  1. มีปรัชญาการลงทุนที่ชัดเจน เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว หากมีสิ่งรบกวนในระยะสั้นก็อาจพิจารณาบ้าง แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ยกเว้นเป็นสิ่งรบกวนที่ส่งผลให้ภาพการลงทุนเปลี่ยนแปลง จึงจะปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนอย่างทันท่วงที 
  2. ผู้จัดการกองทุนน่าเชื่อถือ 
  3. การปรับพอร์ตอยู่บนปัจจัยพื้นฐานและมุมมอง ไม่นำความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง 
  4. มีระดับความผันผวนที่เหมาะสม ตอบโจทย์นักลงทุนรายย่อย

 

เมื่อเจอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ประการนี้ ผมมองว่าก็สามารถ Stay Invest ได้ ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การ Stay Invest จำหน่ายค่อนข้างหลากหลาย โดยล่าสุด ธนาคารไทยพาณิชย์เตรียมเป็นตัวแทนจำหน่ายกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Allocation (SCBGA) ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด จะเสนอขายครั้งแรกวันที่ 8-22 สิงหาคมนี้ 

 

กองทุนนี้เป็นกองทุนผสมที่จ้างบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด จัดน้ำหนักการลงทุนให้ มีการปรับพอร์ตอย่างยืดหยุ่นและเหมาะสม ตอบโจทย์ทุกสภาวะการลงทุน 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของ SCBGA จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกลงทุนในกองทุนหลัก (Core Funds) ได้แก่ JB Dynamic Asset Allocation ซึ่งเป็นกองทุนเรือธงของ Julius Baer ที่ลงทุนได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก ผ่าน ETF ซึ่งมีสภาพคล่องสูง โดยในปี 2566 ที่เงินเฟ้อลดลงและเศรษฐกิจเติบโตชะลอตัวลง Julius Baer มีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้น แต่เลือกลงทุนอย่างระมัดระวังด้วยการลดหุ้นที่ผันผวนต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ เพิ่มหุ้นกลุ่มคุณภาพ และถือเงินสดบางส่วนเพื่อรอจังหวะเข้าสะสมหุ้นเพิ่ม 

 

ขณะที่การลงทุนส่วนที่ 2 คือ กองทุนเสริม (Satellite Funds) โดยคัดเลือกกองทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมชั้นนำของโลก เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความสมดุลให้พอร์ต SCBGA ลดโอกาสการขาดทุนหากตลาดผันผวนระยะสั้น และเพิ่มโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว 

 

ส่วนเหตุผลที่ทำให้เรามองว่า SCBGA เป็นกองทุนที่จะตอบโจทย์ Stay Invest ได้เป็นอย่างดี ก็เป็นเพราะกองทุนนี้มีผู้เชี่ยวชาญจัดพอร์ตลงทุนและปรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ ซึ่งก็หมายความว่า ตลาดจะขึ้นหรือจะลงผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะต้องปรับเพิ่มหรือลดสัดส่วนสินทรัพย์ต่างๆ ในพอร์ตอย่างไร เพียงแค่ลงทุนอย่างต่อเนื่อง แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญในการดูแลพอร์ตโดยรวมก็เพียงพอแล้ว

 

คำเตือน:

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีต ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต 
  • กองทุนไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • กองทุนรวมนี้บริหารจัดการการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างประเทศโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ภายใต้สัญญาแต่งตั้งรับมอบหมายด้านการจัดการลงทุน เป็นไปตามที่ระบุในโครงการจัดการกองทุน โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ และมีผู้ถือหุ้นหลัก ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ 
  • กองทุนรวม SCBGA มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ Bank Julius Baer & Co AG ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นหลัก ได้แก่ Julius Baer Group Ltd. เช่นเดียวกันกับบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา และ บลจ.ไทยพาณิชย์ โทร. 0 2777 7777 หรือเว็บไซต์ https://scbam.com
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X