×

สตาร์มันนี่ ผู้ทำธุรกิจ ‘จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและปล่อยสินเชื่อ’ รายใหญ่ของภาคตะวันออก กำลังจะ IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
08.11.2022
  • LOADING...
บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน)

HIGHLIGHTS

6 mins. read
  • อีกไม่นาน ‘บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน)’ ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ในภาคตะวันออกกำลังจะ IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 300 ล้านหุ้น
  • เราสามารถเรียก ‘สตาร์ มันนี่’ ว่าเป็น ‘บริษัทพันล้าน’ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะหากมองเข้าไปยังรายได้ย้อนหลังในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเกิน 1,000 ล้านบาททั้งสิ้น และปีล่าสุดยังมีกำไรทะลุหลักร้อยล้านอีกด้วย
  • ตามแผน สตาร์ มันนี่ จะใช้เงินจากการ IPO สำหรับการขยายธุรกิจการให้บริการสินเชื่อทุกประเภท ขยายสาขา รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและ/หรือประกันชีวิต, ชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนจากสถาบันการเงิน และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ

สำหรับผู้ที่อยู่ในภาคตะวันออกอาจคุ้นเคยกับ สตาร์มันนี่ ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยรู้หรือไม่ว่าตอนนี้ร้านที่เห็นอยู่ทุกวันมี ‘นามสกุลมหาชน’ และกำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว

 

เพราะอีกไม่นาน ‘บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน)’ กำลังจะ IPO ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 300 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 27.27% ของจํานวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ

 

ทำไม ‘สตาร์ มันนี่’ ถึงเป็นหุ้น IPO น้องใหม่ที่น่าสนใจ เราจะชวนมาหาคำตอบไปด้วยกัน!

 

ทำธุรกิจมานานกว่า 30 ปี

บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นโดยผู้บริหารซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจมากกว่า 30 ปี โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ปัจจุบันประกอบธุรกิจ 2 ส่วนหลัก คือ

 

  1. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รถจักรยานยนต์ และอื่นๆ ทั้งรูปแบบการจำหน่ายสินค้าแบบขายเงินสดและขายผ่อนชำระ ซึ่งจัดทำเป็นสัญญาเช่าซื้อ โดยหลักๆ จำหน่ายสินค้าผ่าน ‘ร้านสตาร์ มันนี่’ ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และชลบุรี บางส่วนจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์ม E-Marketplace
  2. ธุรกิจให้บริการปล่อยสินเชื่อประเภทต่างๆ ได้แก่
    • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ได้แก่ เล่มทะเบียนรถจักรยานยนต์ เล่มทะเบียนรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เล่มทะเบียนรถยนต์เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ รถตู้โดยสาร รถบรรทุก เป็นต้น
    • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน
    • สินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น ทะเบียนรถ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
    • นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ให้บริการด้านอื่นเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง เช่น การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย การให้บริการซื้อประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ รวมถึงต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประจำปี เป็นต้น

 

ณ สิ้นปี 2564 ‘สตาร์ มันนี่’ มีสาขาทั้งหมด 85 สาขา ส่วนใหญ่ครอบคลุมใน 7 จังหวัดของภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้แก่ ระยอง, จันทบุรี, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, ตราด, สระแก้ว และอีก 2 สาขาที่อุดรธานีและนครราชสีมา ต่อมาในช่วง 6 เดือนแรกปี 2565 ได้เปิดสาขาเพิ่มอีกจำนวน 6 สาขา ทำให้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีสาขาทั้งหมด 91 สาขา

 

บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน)

 

บริษัท ‘พันล้าน’

เราสามารถเรียก ‘สตาร์ มันนี่’ ว่าเป็น ‘บริษัทพันล้าน’ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะหากมองเข้าไปยังรายได้ย้อนหลังในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเกิน 1,000 ล้านบาททั้งสิ้น

 

ปี 2562-2564 สตาร์ มันนี่ มีรายได้รวมจำนวน 1,087.47 ล้านบาท, 1,030.89 ล้านบาท และ 1,239.84 ล้านบาท ตามลำดับ โดยเป็นรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 1,069.64 ล้านบาท, 1,005.52 ล้านบาท และ 1,205.57 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 97.24-98.36 ของรายได้รวม และมีกำไรสุทธิจำนวน 78.19 ล้านบาท, 47.62 ล้านบาท และ 102.94 ล้านบาท ตามลำดับ

 

สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2565 มีรายได้รวมจำนวน 717.81 ล้านบาท โดยมาจากรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 695.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.95 ของรายได้รวม และมีกำไรสุทธิจำนวน 60.80 ล้านบาท

 

จะเห็นได้ว่าแม้ภาพรวมของประเทศไทยจะพบเจอกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างยากลำบากอันเกิดจากการระบาดของโรคโควิด ซึ่งทำให้กำลังซื้อมีการผันผวน แต่สำหรับสตาร์ มันนี่กลับมีรายได้ที่เติบโต แถมปีล่าสุดยังทำกำไรทะลุหลักร้อยล้านบาทอีกด้วย

 

เข้าถึง ‘เงินทุน’ หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ

คำถามที่น่าสนใจคือ ทั้งๆ ที่ ‘สตาร์ มันนี่’ มีรายได้และกำไรที่เติบโต แต่ทำไมถึงต้องเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คำตอบคือเรื่องของ ‘เงินทุน’

 

ในเอกสารที่แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ระบุว่า วัตถุประสงค์การใช้เงินมี 3 ส่วนด้วยกัน คือขยายธุรกิจการให้บริการสินเชื่อทุกประเภท ขยายสาขา รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและ/หรือประกันชีวิต, ชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนจากสถาบันการเงิน และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ

 

โดยจะมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะบริษัท

 

อย่างที่เรารู้กันว่า ‘แหล่งเงินทุน’ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสินเชื่อ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของสตาร์ มันนี่ ดังนั้นหากในอนาคตเกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อและผลการดำเนินงานลดลงได้

 

ดังนั้นการเสนอขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้สตาร์ มันนี่ มีเงินทุนสำหรับดำเนินการให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างแข็งแรง แถมยังสร้างความน่าเชื่อถือจนทำให้สามารถเข้าถึงช่องทางในตลาดทุนเพื่อระดมทุนเพิ่มเติม นอกเหนือจากเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เช่น การออกตราสารหนี้ระยะสั้น/ระยะยาว การออกตราสารทุนอื่นเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น อันจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอและเหมาะสมตามแผนงานในอนาคต

 

ตามแผน สตาร์ มันนี่ ได้วางกลยุทธ์ที่จะเน้นไปที่ธุรกิจปล่อยสินเชื่อทุกประเภทมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเงินให้กู้ยืมแบบมีหลักประกันและแบบไม่มีหลักประกัน ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อีกทั้งมีแผนงานที่จะมุ่งเน้นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการปล่อยสินเชื่อ เช่น ธุรกิจการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้และผลการดำเนินงานให้มากขึ้น และมีความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น 

 

บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน)

 

วางแผนรับทุกความท้าทาย

อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ธุรกิจเติบโตไปอย่างมั่นคง นอกจากหารายได้ใหม่ๆ แล้ว อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้คือการป้องกันความท้าทายต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบกับธุรกิจ

 

สำหรับสตาร์ มันนี่ ได้วางแผนรับมือกับเรื่องนี้ไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อให้มีความรัดกุมมากขึ้น เช่น การจัดเกรดลูกหนี้ การประเมินหลักประกัน ระยะเวลาการให้สินเชื่อ ยอดของการให้สินเชื่อเทียบกับหลักประกัน รวมถึงการติดตามการชำระค่างวดของลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เป็นต้น

 

นอกจากนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อ และเพิ่มรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สตาร์ มันนี่ จึงจะเน้นให้ลูกหนี้สินเชื่อทุกรายทำกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อที่บริษัทฯ ปล่อย ในกรณีที่ในอนาคตลูกหนี้ดังกล่าวไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ตามสัญญา อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นเงื่อนไขบังคับในการปล่อยสินเชื่อ เพียงแต่เป็นการให้คำแนะนำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้เองด้วย

 

ในส่วนของธุรกิจจำหน่ายสินค้า อันมีความท้าทายจากภาวะการแข่งขันของธุรกิจจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ ที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

 

แต่ด้วยประสบการณ์ที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ามามากกว่า 30 ปี ประกอบกับเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของภาคตะวันออก ทำให้สตาร์ มันนี่ มีความเชี่ยวชาญและมีอำนาจการต่อรอง และได้รับการสนับสนุนโดยเฉพาะกับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ

 

 

ส่งผลให้สตาร์ มันนี่ สามารถจัดหาสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีและมีคุณภาพมาจำหน่ายแก่ลูกค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังมีอำนาจในการต่อรองและความสัมพันธ์อันดีในการจัดทำรายการสนับสนุนทางการตลาดสำหรับระบายสินค้าอย่างสม่ำเสมอ

 

ที่สำคัญการที่สตาร์ มันนี่ จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านสาขาหลัก และสาขา Express รวม 19 สาขา (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565) ซึ่งกระจายอยู่ตามแหล่งชุมชน สามารถเข้าถึงผู้บริโภค ประกอบกับชื่อเสียงที่ดีเป็นที่รู้จัก ทำให้สตาร์ มันนี่เป็นที่ไว้วางใจของลูกค้า จึงมั่นใจได้ว่าสตาร์ มันนี่มีศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจนี้เป็นอย่างดี

 

ทั้งหมดทำให้เราแทบไม่ต้องเป็นห่วงการเติบโตในอนาคตของสตาร์ มันนี่เลย เพราะนอกจากธุรกิจที่วางแผนไว้อย่างรัดกุมแล้ว สิ่งสำคัญยังมาจากการที่กลุ่มผู้บริหารเป็นผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้และในภาคตะวันออกมานาน จึงมีความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคในท้องถิ่นเป็นอย่างดี

 

สำหรับผู้ที่สนใจสำหรับการ IPO ของ ‘สตาร์ มันนี่’ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=424563&lang=th 

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising