×

‘Tether’ ขายตราสารหนี้เอกชนระยะสั้นทั้งหมดที่ถืออยู่ เพื่อไปถือพันธบัตรสหรัฐฯ แทน

14.10.2022
  • LOADING...
Tether

Tether ผู้ออกเหรียญ Stablecoin (USDT) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดี (13 ตุลาคม) ว่าบริษัทได้ขายตราสารหนี้เอกชนระยะสั้นที่ถืออยู่ในเงินสำรอง เพื่อไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย

 

ทั้งนี้ ตามข้อตกลงกับอัยการสูงสุดแห่งรัฐนิวยอร์กเดือนกุมภาพันธ์ 2021 Tether จำเป็นต้องเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับเงินสำรองรายไตรมาส ซึ่งในรายการดังกล่าวเปิดเผยว่า Tether มีทุนสำรองประมาณ 50% ที่อยู่ในตราสารหนี้เอกชน ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง โดย Tether เริ่มขายตราสารหนี้เอกชนในเดือนกันยายน 2021 และเข้าถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แทน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพมากกว่า 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


และล่าสุด อ้างอิงข้อมูลในเว็บไซต์ของ Tether เมื่อ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า Tether ถือครองตราสารหนี้เอกชนระยะสั้นแบบไม่เปิดเผยมูลค่ากว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.3 แสนล้านบาท 

 

ด้านข้อมูลของ DeFi LIma ชี้ว่า เหรียญ USDT มีปริมาณการหมุนเวียนสูงถึง 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนทางการตลาดของ Stablecoin กว่า 46%

 

ซึ่ง USDT นั้นกำลังถูกจับจ้องโดยสายตาของเหล่าผู้กำกับดูแลจากทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้ออกเหรียญ Stablecoin รายใหญ่ของโลก ที่มีการนำไปตรึงมูลค่าเทียบเท่ากับสกุลเงินดอลลาร์, สกุลเงินยูโร และสกุลเงินเปโซเม็กซิโก จากการที่นำเงินสำรองของบริษัทเข้าไปถือตราสารหนี้เอกชนที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

 

ทั้งนี้ Stablecoin นับว่าเป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญของปริมาณการเทรดคริปโตเคอร์เรนซีต่อวัน โดยจากข้อมูลของ CoinMarketCap ชี้ว่า เหรียญดังกล่าวมีวอลุ่มเป็นสัดส่วนสูงถึง 87-94% ต่อวันจากปริมาณการเทรดคริปโตทั้งหมดต่อวัน

 

อย่างไรก็ตาม เหรียญ Stablecoin ทั้งของ Tether และบริษัทอื่นๆ เริ่มถูกนำมาใช้สำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศมากขึ้น จากบริษัททางการเงินชั้นนำอย่าง Visa และ BlackRock ซึ่งก็ทำให้ถูกจับจ้องถึงประเด็นด้านความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวจากฝ่ายกำกับดูแล

 

นอกจากนี้ แม้เหรียญ Stablecoin อย่าง USDT จะเคยหลุดจากการตรึงมูลค่าจากการโดนแห่ขายอย่างหนักในช่วงที่เกิดความกังวลของเครือข่าย Terra ที่พังลง เหรียญดังกล่าวก็สามารถกลับมาได้ และมีประเด็นความเสี่ยงเชิงระบบน้อยกว่า Algorithmic stablecoin แต่ก็ยังต้องเผชิญความเสี่ยงด้านกฎหมายอยู่เช่นกัน

 

อ้างอิง:

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X