×

รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังวางแผนอนุญาตให้ ‘หุ่นยนต์ส่งของ’ สามารถลงมาวิ่งบนถนนสาธารณะในปี 2023

16.02.2022
  • LOADING...
Delivery robots

หุ่นยนต์กำลังถูกทดลองเพื่อส่งอาหารและสิ่งของอื่นๆ ในเกาหลีใต้ ซึ่งรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะอนุญาตให้หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถวิ่งลงสู่ท้องถนนสาธารณะตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป

 

Nikkei Asia รายงานว่า Woowa Brothers ผู้ดำเนินการแอปส่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เริ่มใช้หุ่นยนต์ในช่วงทดลองตั้งแต่ปี 2020 ในขณะที่เครือข่ายร้านสะดวกซื้อเริ่มเปิดดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2021

 

สำหรับตอนนี้รัฐบาลแดนกิมจิกำลังอยู่ในระหว่างประเมินเพื่อให้คำนิยามทางกฎหมายแก่หุ่นยนต์ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานบนถนนได้ ขณะนี้หุ่นยนต์ถูกห้ามลงมาวิ่งบนท้องถนน เนื่องจากกฎหมายถือว่าเป็น ‘ยานพาหนะไร้คนขับ’

 

เพื่อทดสอบก่อนการใช้งานจริง รัฐบาลได้จัดตั้งโซนพิเศษรอบอพาร์ตเมนต์ในซูวอน ในเขตชานเมืองของกรุงโซล ซึ่ง Woowa ได้เริ่มบริการจัดส่งอาหารโดยใช้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้น หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า Dilly Drive และมีความสูงประมาณ 70 เซนติเมตร

 

ในการสาธิตเมื่อเร็วๆ นี้ พนักงานร้านกาแฟได้นำกาแฟเย็นและแซนด์วิชใส่ถ้วยของ Dilly เมื่อเขาปิดฝาหุ่นยนต์ก็เริ่มวิ่งไปส่งสินค้าด้วยความเร็ว 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีกล้อง 3 ตัวที่จำแสงสีแดงที่ทางแยกและหยุด นอกจากนี้ยังสามารถหลีกเลี่ยงคนเดินเท้าได้อีกด้วย เมื่อ Dilly ไปถึงที่หมาย ลูกค้าได้รับข้อความจากสมาร์ทโฟนและไปรับของ จากนั้น Dilly ก็กลับไปที่สถานที่รอ

 

Woowa เริ่มพัฒนาหุ่นยนต์ดังกล่าวในปี 2017 เนื่องจากแรงงานมนุษย์มีราคาเพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ ค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็น 9,160 วอน หรือ 247.73 บาท ในปี 2022 อันเป็นผลมาจากนโยบายขึ้นค่าแรงของประธานาธิบดีมุนแจอิน

 

รัฐบาลระบุว่า สำหรับบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ในเกาหลีใต้ ยอดขายออนไลน์คิดเป็น 48% ของยอดขายทั้งหมด ตัวเลขนั้นสูงกว่าของญี่ปุ่นมาก ด้วยการเปลี่ยนไปสู่การขายออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางการแพร่กระจายของโรคโควิด หุ่นยนต์ส่งของจึงมีความคุ้มทุนสำหรับร้านค้าแบบดั้งเดิมที่สูญเสียลูกค้าสำหรับเดินเข้าร้านไป

 

Lotte ผู้ดำเนินการเครือข่าย 7-Eleven ได้เริ่มใช้บริการจัดส่งหุ่นยนต์ที่พัฒนาร่วมกับ Neubility รอบๆ อพาร์ตเมนต์ในกรุงโซล ในการทดลอง หุ่นยนต์ที่ควบคุมโดยเทคโนโลยีกล้องและเซ็นเซอร์จะส่งพัสดุที่มีน้ำหนักมากถึง 25 กิโลกรัม ไปยังจุดหมายปลายทางภายในรัศมี 300 เมตร ซึ่งหุ่นยนต์ ‘สามารถวิ่งได้อย่างมั่นคง ขณะหลีกเลี่ยงคนเดินถนน แม้ในกระทั่งช่วงเวลาที่มีฝนและหิมะตก’

 

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2020 มีการจดสิทธิบัตร 234 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 29% ต่อปี ตามรายงานของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของเกาหลี

 

ยักษ์ใหญ่หลายแห่งนอกเหนือไปจากบริษัทสตาร์ทอัพ กำลังส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ Hyundai Motor เข้าซื้อกิจการบริษัท Boston Dynamics ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนด้านหุ่นยนต์ของอเมริกา จาก SoftBank Group ของญี่ปุ่นในปี 2020 เพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมหุ่นยนต์นอกเหนือจากเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยกำลังต้องการผลักดันการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ส่งถึงบ้านประเภทยานพาหนะขนาดเล็ก และตัวเลือกการจัดส่งแบบใช้โดรนที่หลากหลาย

 

ขณะที่หุ่นยนต์เซิร์ฟเวอร์ที่พัฒนาโดย LG Electronics เพื่อขนส่งอาหารจากห้องครัวไปยังโต๊ะในร้านอาหาร ก็กำลังหาทางเข้าสู่ร้านอาหารจำนวนมากขึ้นในเกาหลีใต้ ซึ่ง LG ยังก้าวขึ้นสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทยานยนต์ขนาดเล็กสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง ด้าน Samsung Electronics กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำงานบ้านร่วมกับเครื่องใช้ในบ้าน ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์จะสามารถยกจานออกจากโต๊ะและใส่ลงในเครื่องล้างจานได้ด้วยตัวเอง

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising