×

Semiconductor ชิ้นส่วนเล็กๆ สู่การขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ของโลก

10.06.2021
  • LOADING...
Semiconductor

สิ่งสำคัญหนึ่งที่สนับสนุนให้นวัตกรรมสามารถพัฒนาต่อไปได้เร็วและก้าวไกลแค่ไหน หลักๆ มาจากชิ้นส่วนเล็กๆ ที่มีคุณภาพสูง ที่เราเรียกว่า Semiconductor หรือ Chip ซึ่งเป็นวัสดุที่สำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการผลิตแผงวงจรเล็กๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นสารกึ่งตัวนำและมีส่วนประกอบ เช่น ซิลิคอน เจอร์เมเนียม และซีลีเนียม

 

โดยในการประชุม World Economic Forum ได้กล่าวไว้ว่า เรากำลังอยู่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งในยุคนี้จะเกิดการผสมผสานเทคโนโลยีที่ทำให้การใช้ชีวิตจริงกับโลกดิจิทัลรวมเข้าด้วยกัน จนในบางครั้งแทบจะแยกไม่ออกว่าอันไหนคือโลกจริงหรืออันไหนคือโลกเสมือน ซึ่ง Chip นับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและได้ถูกนำไปพัฒนาและใช้งานหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, ด้านการแพทย์, คอมพิวเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์อัตโนมัติ, 5G และ Internet of Things

 

ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความต้องการใช้ Chip ที่มีคุณภาพเป็นส่วนประกอบหลักในสินค้าและบริการมากขึ้น อย่างเช่นในปี 1983 ที่มีการผลิตโทรศัพท์มือถือเพื่อการพาณิชย์ครั้งแรกในสหรัฐฯ โดยในยุคแรกนั้นโทรศัพท์มือถือมีราคาสูงถึง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 120,000 บาท และการใช้งานในรุ่นแรกๆ นั้น ค่อนข้างจำกัด ใช้ได้เพียงการสื่อสารผ่านทางเสียง ยังไม่สามารถส่ง SMS หรือใช้งานอื่นๆ ได้มากนัก ต่างจากปัจจุบันที่โทรศัพท์มือถือมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก กลายเป็นสมาร์ทโฟนและมีขนาดเล็กลงตอบโจทย์การใช้งานมากมาย ที่สำคัญมีราคาถูกลงซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถจับต้องและเป็นเจ้าของได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของ Chip แบบเท่าทวีคูณ

 

ในโลกปัจจุบันความต้องการของ Chip เพื่อการใช้งานมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น จากผลงานวิจัยของ PWC ปี 2019 ได้รายงานภาพรวมขนาดตลาดในช่วงปี 2016-2022 มีการคาดการณ์เติบโตเฉลี่ยปีละ 9% โดยการเติบโตดังกล่าวกระจายไปในหลายประเภทการใช้งาน เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ Chip ซึ่งจะเป็นต้นทุนหลักของรถยนต์ในอนาคต โดยคาดว่าในปี 2030 รถยนต์ Connected Car จะมีต้นทุนของ Chip คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% เมื่อเทียบกับต้นทุนรถยนต์ทั้งคัน เนื่องจากรถยนต์ต้องมีระบบอัตโนมัติและใช้ Chips ในการควบคุมหลากหลายฟังก์ชันมากขึ้น เนื่องจาก Chip เป็นสินค้าต้นน้ำที่ทำให้เกิดรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ๆ การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก จากบทวิเคราะห์ของ Semiconductor Industry Association ระบุว่า หากมีการลงทุนในการทำวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ทุกๆ 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้ GDP เติบโตถึง 16.5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตได้ถึง 16.5 เท่า สำหรับการทำ R&D มีความจำเป็นที่ต้องการได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ จึงทำให้รัฐบาลหลายๆ ประเทศให้ความสำคัญโดยให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำ R&D ที่เกี่ยวข้องกับ Semiconductor อย่างเช่นในร่างงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีงบประมาณที่จัดสรรไว้สำหรับอุตสาหกรรม Semiconductor ประมาณ 50,000 ล้านเหรียญดอลลาร์ โดยครอบคลุมงบประมาณในการทำ R&D, เงินทุนสำหรับโรงงานการผลิต Chip ขั้นสูง และให้ประโยชน์ทางภาษี เช่น ให้แก่บริษัทที่ซื้ออุปกรณ์ Semiconductor รวมไปถึงการดึงดูด Talented ด้าน Semiconductor Innovation เข้ามาทำงานโดยได้สัญชาติหรือ Green Card ง่ายขึ้น 

 

หากมองการเติบโตด้านรายได้และกำไรของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอ้างอิงจากผลการสำรวจของ KPMG เมื่อต้นปี โดยได้สอบถามผู้บริหารบริษัทเซมิคอนดักเตอร์จำนวน 156 บริษัททั่วโลก พบว่า บริษัทจำนวน 85% คาดว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตในปี 2021 และบริษัทจำนวน 79% คาดว่ากำไรจะขยายตัวได้ในปี 2021 โดยผลการสำรวจได้ระบุเพิ่มเติมว่า การใช้ Chip เพื่อตอบสนองการใช้งานโครงข่าย Wireless, 5G และ Internet of Things จะเป็นส่วนผลักดันสำคัญที่ทำให้รายได้และกำไรของบริษัทในกลุ่มนี้เติบโตในอีกปีและสองปีข้างหน้า

 

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่มีลักษณะของ Pure Play หรือบริษัทที่มีแหล่งที่มาของรายได้จาก Semiconductor มีในสัดส่วนที่สูง จึงมีความน่าสนใจและสร้างโอกาสการลงทุนได้ในระยะยาว แต่การลงทุนในกลุ่ม Semiconductor ในประเทศไทยนั้นค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากไม่ได้มีบริษัทในกลุ่มนี้ให้ลงทุนมากเท่าใดนัก ซึ่งต่างจากการลงทุนในต่างประเทศที่มีการกระจายการลงทุนไปยังบริษัทที่ผลิต Semiconductor ชั้นนำทั่วโลก

 

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนกลุ่ม Semiconductor นั้น บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้นำเสนอกองทุนประเภทนี้เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Semiconductor (SCB Semiconductor: SCBSEMI) เริ่มเสนอขายครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 8-14 มิถุนายน 2564 นี้ ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท กองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF (กองทุนหลัก) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ London Stock Exchange ประเทศอังกฤษ บริหารโดย VanEck Asset Management B.V. และอยู่ภายใต้ UCITS

 

พิสูจน์อักษร: นัฐฐา สอนกลิ่น

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising