×

นักวิทยาศาสตร์เจอจุลินทรีย์ที่โลกไม่เคยพบมาก่อนฝังตัวอยู่ในธารน้ำแข็ง หวั่นก่อโรคระบาดใหม่

04.07.2022
  • LOADING...
Tibetan Glacier Genome and Gene (TG2G) 

นักวิทยาศาสตร์พบจุลินทรีย์สปีชีส์ใหม่ที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อนกว่า 900 ชนิดถูกแช่แข็งอยู่ในธารน้ำแข็ง ณ ที่ราบสูงทิเบต ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าจุลินทรีย์ดังกล่าวอาจเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคระบาดใหม่ได้ในอนาคต

 

นักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ได้เก็บตัวอย่างจากธารน้ำแข็ง 21 แห่งบนที่ราบสูงทิเบต และนำเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในน้ำแข็งเหล่านั้นมาจัดลำดับดีเอ็นเอ พร้อมสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของจีโนมจุลินทรีย์ ซึ่งมีชื่อว่า Tibetan Glacier Genome and Gene (TG2G) 

 

ทีมวิจัยพบจุลินทรีย์ 968 ชนิดที่ถูกแช่แข็งไว้ โดยส่วนใหญ่เป็นประเภทแบคทีเรีย แต่ก็ค้นพบเป็นสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น สาหร่าย อาร์เคีย และฟังไจ แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ ประมาณ 98% ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน นักวิจัยกล่าวว่า การพบจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายในระดับนี้เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง เพราะการดำรงชีวิตอยู่ในธารน้ำแข็งซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมสุดหฤโหดมีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากมีอุณหภูมิต่ำ มีความเข้มข้นของรังสีดวงอาทิตย์ในระดับสูง มีวัฏจักรการละลายตัวของน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเป็นระยะ รวมถึงมีปริมาณสารอาหารที่จำกัด 

 

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัดว่าจุลินทรีย์เหล่านี้มีอายุเท่าไร แต่จากการศึกษาก่อนหน้านี้ทำให้ประเมินได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะจุลินทรีย์จะติดอยู่ในน้ำแข็งมานานถึง 10,000 ปี

 

การวิเคราะห์จีโนมของจุลินทรีย์ดังกล่าวเผยให้เห็นด้วยว่า จุลินทรีย์บางชนิดที่พบอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลก รวมถึงอาจก่อให้เกิดโรคระบาดใหญ่ครั้งใหม่ หากธารน้ำแข็งที่ละลายตัวอย่างรวดเร็วจากปัญหาสภาวะโลกรวนปลดปล่อยเชื้อดังกล่าวออกมาปะปนกับแหล่งน้ำ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่เพียงแต่ส่งผลเสียในด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านสาธารณสุขอีกด้วย

 

ภาพ: Wolfgang Kaehler/LightRocket via Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising