โลกร้อนสู่โลกเดือด: อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องปรับตัว
ปี 2023 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ประกาศว่าโลกไม่ได้อยู่ในยุค ‘ภาวะโลกร้อน’ อีกต่อไป แต่เข้าสู่ยุค ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) ภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น อุณหภูมิทะลุสถิติ น้ำท่วมและความแห้งแล้งที่ไม่เป็นไปตามฤดูกาล ล้วนสะท้อนว่าภูมิอากาศของโลกไม่เสถียรอีกต่อไป
ในสมการของวิกฤตโลกร้อน อุตสาหกรรมการก่อสร้างกลายเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ซึ่งใช้ความร้อนสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียสในการเผาหินปูน กระบวนการนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก หากรวมการผลิตปูนทั่วโลก จะพบว่าคิดเป็น 7-8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดบนโลกใบนี้
นี่คือจุดที่อุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังเผชิญแรงกดดันไม่ใช่แค่จากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับ ESG แต่รวมถึงภาครัฐของประเทศมหาอำนาจที่กำลังจัดระเบียบโลกใหม่ผ่านมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเชิงรุก
กฎเกณฑ์ใหม่ของโลกที่เป็นความท้าทายและโอกาส
โลกกำลังสร้างกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อบรรเทาสถานการณ์อันน่าวิตกเกี่ยวกับโลกเดือดโดยประเทศในยุโรปออกมาตรการ CBAM หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมจากสินค้านำเข้าที่ปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ฯลฯ เพื่อกระตุ้นให้ประเทศคู่ค้าปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว
ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็เตรียมผ่านร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) ที่กำหนดกลไกราคาคาร์บอนทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน สะท้อนเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ภายในปี 2030 สหรัฐจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 50-52% และเข้าสู่ Net Zero ภายในปี 2050
ในระดับนโยบายของไทย เราได้แสดงพันธสัญญาต่อประชาคมโลกภายใต้แผน Nationally Determined Contribution (NDC) ว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25% ภายในปี 2030 โดยการควบคุมภาคพลังงานและภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งหมายความว่า ผู้ผลิตไทยทุกคน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ต้องเผชิญทั้งกฎภายในและแรงกดดันจากนอกประเทศไปพร้อมกัน
ผลกระทบเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องนามธรรมอีกต่อไป แต่มันจะสะท้อนออกมาเป็น ‘ต้นทุนจริง’ ที่ผู้ผลิตต้องแบกรับในทุกการส่งออกหรือแข่งขันในตลาดโลก
SCG: เมื่อการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ภาระ แต่คือความพร้อม
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ SCG คือ องค์กรที่ไม่เพียงแค่ ‘ตั้งรับ’ กับการเปลี่ยนแปลง แต่ลงมือ ‘สร้างการเปลี่ยนแปลง’ ด้วยตัวเอง
SCG วางรากฐานการพัฒนา Low Carbon Cement มานาน ก่อนที่มาตรการ CBAM หรือ CCA จะถูกประกาศ ใช้งบประมาณจำนวนมากกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมวางแผนยุทธศาสตร์ทั้งในด้านการผลิต พลังงาน และห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเตรียมความพร้อมเชิงโครงสร้าง
และวันนี้ SCG ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำในไทยเท่านั้น แต่ยังก้าวสู่การเป็น ‘ผู้นำด้านปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำของอาเซียน’ อย่างเต็มตัว
นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ จากวิสัยทัศน์และเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงของ SCG ไม่ใช่เพียงคำพูดในนโยบาย แต่แปรเปลี่ยนเป็นนวัตกรรมและโครงการที่จับต้องได้ เช่น
- SCG LC3 Structural Cement: ปูนคาร์บอนต่ำที่ลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 38% โดยยังคงความแข็งแรงและประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
- SCG 3D Printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติด้วยปูนคาร์บอนต่ำ สร้างโครงสร้างที่มีความซับซ้อนสูง ตอบโจทย์งานออกแบบและลดเศษวัสดุ
- TORA S-One: เครื่องพ่นฉาบปูนดีเซลที่ตราเสือร่วมพัฒนากับคูโบต้า ที่เพิ่มความเร็วการทำงานถึง 40% แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ
- SCG International: พัฒนาโซลูชัน Supply Chain แบบครบวงจรที่ลดการปล่อยคาร์บอนในทุกขั้นตอน
- Saraburi Sandbox: โครงการต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมกรีนของ SCG และการจับมือพันธมิตร มาประยุกต์ใช้ในบริบทจริง เป็นแหล่งเรียนรู้และแรงบันดาลใจสำหรับภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
ทั้งหมดนี้คือหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า SCG ไม่ได้รอให้ตลาดสั่ง แต่เลือก ‘เดินนำตลาด’ ด้วยนวัตกรรมที่ออกแบบจากข้อมูลจริงและผลกระทบจริง
INTERCEM Asia 2025: เวทีโลกที่ SCG ยืนหนึ่งในฐานะเจ้าบ้าน
SCG ยังเตรียมประกาศความพร้อมในระดับโลก ด้วยการเป็นเจ้าภาพร่วมงาน INTERCEM Asia 2025 งานประชุมด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีผู้ร่วมงานกว่า 1,000 คนจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตปูน นักลงทุน หน่วยงานรัฐ และนักวิชาการ
ในปีนี้งานจัดขึ้นภายใต้ธีม ‘การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ’ ซึ่งถือเป็นจุดตัดที่สำคัญของอุตสาหกรรม
การที่ SCG ได้เป็นเจ้าภาพร่วม ไม่ใช่แค่โอกาสแสดงนวัตกรรม แต่เป็นการประกาศจุดยืนในฐานะผู้นำระดับภูมิภาค ที่พร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมทั้งในแง่เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเติบโตอย่างยั่งยืน
คำมั่นจากผู้นำ: ความยั่งยืนไม่ใช่ตัวเลือก แต่คือหัวใจของธุรกิจ
“เอสซีจี ตระหนักดีว่าการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำไม่ใช่เพียงความท้าทาย แต่เป็นโอกาสเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันและก้าวสู่ความเป็นผู้นำในเวทีโลก” สุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์
ข้อความนี้ไม่ใช่เพียงคำกล่าวเชิงสร้างภาพลักษณ์ แต่สะท้อนความมุ่งมั่นในระดับนโยบายขององค์กรที่เลือกจะ ‘นำการเปลี่ยนผ่าน’ แทนที่จะรอให้ตลาดบังคับ
ในวันที่ต้นทุนคาร์บอนกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจต้องคำนวณ SCG กำลังแสดงให้เห็นว่าความยั่งยืนไม่ใช่ภาระ แต่คือโอกาส และนั่นคือสิ่งที่นักลงทุน ผู้ประกอบการ และสังคมจะสามารถเชื่อมั่นได้จากแบรนด์นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เมื่อของดีไซน์สวย ไม่จำเป็นต้องทำร้ายโลก? เบื้องหลังนวัตกรรม ‘Waste to Value’ ฉบับ DECAAR by SCG ที่จับมือยักษ์ใหญ่ ปั้นมิติใหม่วัสดุตกแต่งภายนอกเพื่อโลกที่ยั่งยืน
- ตำนานผู้นำ กานต์ ตระกูลฮุน จาก First Jobber สู่ซีอีโอพลิก SCG แสนล้าน
- SCG ยุคเปลี่ยนผ่าน เทคโนโลยี Heat Battery สู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ