×

ผ่ากลยุทธ์สู้ความผันผวน วัสดุก่อสร้างไทย Inclusive Green Growth ปั้นกำไรโต 3 เท่าใน 5 ปี [ADVERTORIAL]

13.07.2025
  • LOADING...
SCG

ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน THE STANDARD WEALTH ได้สัมภาษณ์ วิโรจน์ รัตนชัยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง และเอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล เพื่อเจาะลึกกลยุทธ์การรับมือและทิศทางการเติบโตของทั้งสองธุรกิจท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจและภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป

 

สัญญาณตลาดในประเทศชะลอตัว

 

วิโรจน์ฉายภาพว่า ตลาดวัสดุก่อสร้างภาพรวมชะลอตัวตั้งแต่ปลายปี 2567 ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ตลาดที่ยังมีสัญญาณบวกจะเป็นงานซ่อมแซมและต่อเติมมากกว่างานสร้างบ้านใหม่ ในขณะที่กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบโดยตรง จากความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ทำให้สต็อกบ้านใหม่ยังสูง ต้องใช้เวลาระบายนานกว่าอีกหลายปี ในขณะที่ตลาด Non-Residential อย่างศูนย์การค้าและโรงพยาบาล ยังมีการก่อสร้างและขยายตัวอยู่ต่อเนื่อง รวมถึงงานก่อสร้างจากภาครัฐ ที่หนุนให้ยอดขายปูนซีเมนต์ยังมีการเติบโตต่อเนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบโครงสร้างพื้นฐาน 

 

คาดว่าครึ่งปีหลังของปี 2568 ตลาดรวมในประเทศจะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องหลังจากสหรัฐฯ ประกาศมาตรการภาษีนำเข้าครั้งล่าสุด คาดหวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจงบประมาณ 1.57 แสนบาทจากรัฐจะช่วยให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ตามแผน 

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก เช่น ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นจากสงครามในตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันและค่าขนส่ง รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น PM 2.5 อากาศร้อน และกระแสรักษ์โลก ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับผู้บริโภค

 

วิโรจน์ชี้ว่าความท้าทายจากสงครามในตะวันออกกลาง สงครามการค้า และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและกำลังซื้อของผู้บริโภค อีกความเสี่ยงหนึ่งคือการทะลักของสินค้าจีนเข้ามาในตลาดไทย อย่างไรก็ตามในวิกฤตก็ยังมีโอกาสในการสร้างการเติบโตของธุรกิจได้

 

วิโรจน์ รัตนชัยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง และเอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล

 

มุ่งสู่ Inclusive Green Growth แนวทางสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจตลอด Value Chain

 

ในภาวะที่ธุรกิจกำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งสงครามการค้าโลก ราคาพลังงานผันผวน โลกร้อน และสภาพอากาศแปรปรวน SCG Smart Living นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจวัสดุก่อสร้างและการอยู่อาศัย เพื่อตอบโจทย์ตลาดและความต้องการของผู้บริโภค ตามแนวคิด “Inclusive Green Growth” อย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่า การปรับตัวเร็วจะช่วยคว้าโอกาสที่ซ่อนอยู่ในวิกฤติได้

 

ส่วนของภาคการผลิตก็ได้หันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด เช่น Biomass และ Solar โดยปัจจุบันโรงงานผลิตในธุรกิจ SCG Smart Living มีสัดส่วนการใช้พลังงานจาก Solar อยู่ที่ 20% ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด และมีแผนจะเพิ่มขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป อีกทั้งยังให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ด้วยการนำกระบวนการ Lean Automation มาใช้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาสูตรการผลิตสินค้าให้สามารถเพิ่มความหลากหลายของการใช้วัตถุดิบ ใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุเหลือทิ้งทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณมากขึ้น เพื่อบริหารจัดการต้นทุนให้ดีที่สุด

 

อีกกลยุทธ์สำคัญในสถานการณ์ที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง คือการมุ่งเน้นออกผลิตภัณฑ์กลุ่ม Quality Affordable Products (QAP) เพื่อตอบโจทย์ตลาดช่วงกำลังซื้อชะลอตัว โดยยังคงมาตรฐานคุณภาพและฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐาน เพื่อให้ต้นทุนและราคาขายลดลงได้ หรือมีแพ็กเกจที่หลากหลาย เช่น เอสซีจี โซลาร์รูฟ ที่มีหลายแพ็กเกจราคา หรือ หลังคาเซรามิก เอสซีจี รุ่น Celica Curve ที่บางลงแต่ยังคงความทนทาน หรือ กระเบื้องคอนกรีตปูพื้นทางเดิน ใช้ในงานออกแบบได้หลากหลาย

 

เอสซีจี โซลาร์รูฟ ที่มีหลายแพ็กเกจราคา

 

พร้อมกันนี้ยังเน้นพัฒนาสินค้า High Value Product (HVA) หรือสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง ที่สร้างความแตกต่างในตลาด ตอบเทรนด์รักษ์โลกและรักสุขภาพ เช่น ONNEX Active Air Quality และ ONNEX Active Airflow โซลูชันเพื่อบ้านอยู่สบาย ประหยัดพลังงาน และช่วยจัดการปัญหา PM 2.5

 

ONNEX Active Airflow โซลูชันเพื่อบ้านอยู่สบาย ประหยัดพลังงาน และช่วยจัดการปัญหา PM 2.5

 

มองโอกาสตลาดวัสดุก่อสร้างในภูมิภาคอาเซียนยังเติบโต

 

เอสซีจีไม่ได้จำกัดตัวเองทำธุรกิจในประเทศเท่านั้น อีกแผนธุรกิจสำคัญคือ รุกขยายออกไปตลาดต่างประเทศ เอสซีจี สมาร์ตลีฟวิง มองเห็นโอกาสในกลุ่มประเทศ ASEAN ที่มีศักยภาพการเติบโต โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งเวียดนามที่คาดว่าในปีนี้ ตลาดจะเติบโต 5-6% ส่วนอินโดนีเซียคาดว่าตลาดจะเติบโต 3-4% ขณะที่เมียนมามีความต้องการวัสดุก่อสร้างสูงจากการซ่อมแซมหลังแผ่นดินไหว ผ่านการนำเข้าผ่านการขนส่งทางเรือผ่านท่าเรือ

 

โดยมุ่งพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เช่น กลุ่มหลังคาจะเน้นการพัฒนาสีเฉพาะที่ผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ชอบซึ่งแตกต่างจากไทย หรือแผ่นฝ้าผนังพื้น SCG Smartboard ที่ส่งไปฟิลิปปินส์จะมีสูตรเฉพาะ “Smartboard Ultra” ที่มีคุณสมบัติที่ตรงกับการนำไปใช้งาน รวมไปถึงการติดตั้งที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศที่ต้องทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด

 

สำหรับธุรกิจ เอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล ยังคงมุ่งเสริมความแข็งแกร่งกับเครือข่ายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับร้านค้าปลีกในท้องถิ่น การพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการนำเสนอโซลูชันครบวงจรให้ลูกค้ากลุ่มโปรเจกต์ขนาดใหญ่ ปัจจุบัน เอสซีจีร่วมทุนกับพันธมิตรรายใหญ่ในอินโดนีเซีย 2 ราย คือ Depo Bangunan และ Mitra10 ซึ่งมีสาขารวมกันเกือบ 73 สาขา โดยเน้นใช้ฐานการผลิตในไทยและภูมิภาคในการขยายตลาด

 

“เอสซีจีเชื่อว่าการเข้าใจวัฒนธรรมและบริบทของแต่ละประเทศเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจในภูมิภาค จึงให้ความสำคัญกับการสร้างทีมงานที่มีความเข้าใจในตลาดท้องถิ่น และพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่” วิโรจน์กล่าว

 

Mitra10 หนึ่งพันธมิตรร้านค้าปลีกท้องถิ่นของเอสซีจีในอินโดนีเซีย

 

เจาะตลาดใหม่ ‘อินเดีย-ซาอุ-แอฟริกา’ เพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศ

 

การขยายตลาดในภูมิภาคต่างๆ ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการเติบโตของ เอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล โดยมีทีมงานของ บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SCG International) ทำหน้าที่เป็น ‘Spearhead’ สำรวจและประเมินโอกาสทางการตลาดในประเทศใหม่ๆ โดยเริ่มจากการนำเข้าสินค้าเพื่อไปทดลองขายในตลาด หากเห็นโอกาสก็จะหาสินค้าจากแหล่งผลิตที่มีเครือข่าย (อาเซียน จีน อินเดีย) ไปตอบสนองตลาดเพิ่มเติม และหากตลาดมีศักยภาพสูงก็จะพิจารณาขยายสู่การลงทุนโรงงานหรือสร้างฐานการผลิต

 

ล่าสุด เอสซีจีลงทุนในโรงงานร่วมทุนผลิต Wall Panel ที่เมืองอาห์เมดาบัด ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นโรงงานแผ่นผนังมวลเบา (Autoclaved Aerated Concrete Wall: AAC Wall) แห่งแรกของอินเดีย มีกำลังการผลิต 300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถรองรับตลาดวัสดุก่อสร้างในอินเดียที่เติบโตสูง 7-8% ต่อปีได้

 

เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บิ๊กบล็อก (Bigbloc) เปิดตัวโรงงานร่วมทุน 

ผลิตแผ่นผนังมวลเบาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ รุกตลาดก่อสร้างในอินเดีย

 

นอกจากนี้ SCG International ได้ขยายตลาดสู่ซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่กลางปี 2567 ผ่าน 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง กลุ่มสินค้ากระดาษ (Plaster Board Liner) และสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่สามารถวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำอย่าง Tamimi Markets ที่มีกว่า 20 สาขาทั่วประเทศ โดยสามารถสร้างรายได้รวมจากตลาดซาอุฯ ได้ประมาณ 200 ล้านบาท ทั้งนี้ เอสซีจีมีแผนขยายพอร์ตสินค้าจากอาเซียนเพิ่มเติมในปี 2568 และกำลังมองหาโอกาสในทวีปแอฟริกาที่เห็นว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตเป็นตลาดถัดไปจากอินเดีย

 

ตั้งเป้ากำไรโต 3 เท่าภายใน 5 ปี และแผนขยายธุรกิจใหม่ในอนาคต

 

วิโรจน์ยังฉายภาพถึงเป้าหมายการเติบโตในระยะยาว โดยวางแผนเพิ่มกำไรของกลุ่มธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง และเอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล ให้เติบโตประมาณ 2.5-3 เท่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยมีกลยุทธ์สำคัญ คือ การขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่วัสดุและระบบการก่อสร้างที่ปลดปล่อยคาร์บอนลดลง และการขยายตลาดในต่างประเทศ

 

“การตั้งเป้าหมายในอนาคต ไม่ได้มองแค่ตลาดในประเทศไทย แต่เรามองถึงโอกาสในการเติบโตในต่างประเทศ เพราะเราเชื่อว่าการลงทุนในฐานการผลิตในต่างประเทศ จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่มีประชากรมากและมีความต้องการสูงอย่างอินเดียและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเราเริ่มเห็นศักยภาพการเติบโตของตลาดจากการนำสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ได้ไปเปิดตลาด”

 

ผนึกกำลัง Ecosystem-Value Chain มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปพร้อมพาร์ตเนอร์

 

วิโรจน์ย้ำว่าในสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ การทำงานร่วมกันใน Ecosystem และ Value Chain รวมถึงคู่ค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดและการเติบโต โดยเอสซีจีเชื่อในการสร้าง Shared Value จึงเปิดโครงการ “NZAP (Net Zero Accelerator Program 2025)” และ “Go Together” ชวนผู้ประกอบการ SMEs และผู้บริหารภาครัฐร่วมเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

 

บรรยากาศโครงการ “NZAP (Net Zero Accelerator Program 2025)” และ “Go Together” ชวนผู้ประกอบการ SMEs และผู้บริหารภาครัฐร่วมเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  

 

รวมถึงได้ดำเนินโครงการ “CECI (Circular Economy in Construction Industry)” ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการใน Value Chain ของอุตสาหกรรมก่อสร้างกว่า 50 บริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันใช้เทคโนโลยีลดขยะจากการก่อสร้างแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และส่งเสริมการก่อสร้างสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดขยะและทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

 

บรรยากาศโครงการ “CECI” ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อลดขยะจากการก่อสร้างแบบครบวงจร

 

วิโรจน์ทิ้งท้ายว่า “SCG เชื่อว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของความไว้วางใจและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน จะเป็นกุญแจสำคัญในการก้าวผ่านความท้าทายและเติบโตไปด้วยกันในระยะยาว” เช่นเดียวกับแคมเปญ ‘Believe in Possibilities’ ที่เชื่อว่า “ความผิดพลาดคือโอกาสให้ปรับปรุง และ ‘การไม่หยุดปรับตัว’ จะช่วยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง พร้อมเผชิญทุกการเปลี่ยนแปลง”

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising