×

ฝากเงินรับดอกเบี้ยสูงสุด 5.10%* ต่อปี ‘บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สกุลเงิน USD’ ประเภทเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือน กับ SCB โอกาสของคนออมเงินสกุลเงิน USD สู่ความมั่งคั่ง

20.11.2023
  • LOADING...

หากคุณเป็นนักธุรกิจหรือนักลงทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มีธุรกรรมที่เป็นรายรับหรือรายจ่ายที่เป็นเงินสกุลเงินตราต่างประเทศแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องเผชิญคือ ความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ในระยะหลังมานี้มักจะเห็นการเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้นจากเดิมแบบเห็นได้ชัดเจน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระบุว่า ค่าเงินบาทในปัจจุบันมีความผันผวนมากกว่าในอดีต นับตั้งแต่ต้นปี 2566 เงินบาทมีค่าความผันผวนอยู่ที่ 9% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสกุลเงินอื่นในภูมิภาคอาเซียน มาจากผลกระทบที่เงินสกุล USD ผันผวนสูงไปตามท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งย่อมกระทบต่อเงินที่ถืออยู่แบบยากที่จะเลี่ยง

 

ดังนั้นการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น หนึ่งในนั้นคือ ‘บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD)’ ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรายรับรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้ จึงเหมาะกับผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก หรือนักลงทุนที่มีสภาพคล่องเพียงพอที่สามารถเก็บรักษาเงินตราต่างประเทศไว้ในบัญชี

 

แต่ทุกวันนี้หากคุณฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สกุลเงิน USD ประเภทเงินฝากประจำ 3 เดือน หรือ 6 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ปกติทั่วไป ซึ่งจากข้อมูลของ ธปท. ผู้ฝากเงินจะได้รับดอกเบี้ยประมาณ 0.10-4.60% ต่อปี ขึ้นกับเงื่อนไขอายุของเงินฝากที่กำหนด อาจไม่ใช่ตัวเลขที่จูงใจมากนัก แต่หากต้องการหาผลตอบแทนจากดอกเบี้ยรับที่สูงขึ้น ตอนนี้เป็นโอกาสของนักลงทุนหรือนักธุรกิจที่มีเงินสกุลเงิน USD ซึ่งจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB จึงเพิ่มทางเลือกใหม่ในการออมเงินให้กับลูกค้าผู้ถือเงินสกุล USD ซึ่งจะเป็นตัวช่วยบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน

 

จึงปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ‘บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สกุลเงิน USD’ เพื่อนำมาตอบโจทย์ในเรื่องนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างดอกผลงอกเงยจากเงินสกุล USD ที่ถือ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขเงินฝากขั้นต่ำ และยังสามารถเลือกฝากเงินได้ 2 ประเภท ดังนี้

 

  • บัญชีเงินฝาก FCD ประเภทเงินฝากประจำ 3 เดือน รับดอกเบี้ย 5.00%* ต่อปี
  • บัญชีเงินฝาก FCD ประเภทฝากประจำ 6 เดือน รับดอกเบี้ย 5.10%* ต่อปี

 

 

นอกจากนี้มีทางเลือกให้บริการรับโอนเงินจากต่างประเทศ หรือต่างธนาคาร สกุลเงิน USD เพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำของ ‘SCB’ เป็นสกุลบาท รับอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษได้อีกด้วย

 

รวมถึงยังมีอีกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ออกแบบมาให้เฉพาะสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING และ SCB FIRST สามารถเลือกลงทุนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง** ประเภท Dual Currency Linked Note สกุล USD (Complex Product) โดยกำหนดเงินเริ่มต้นไว้ที่ 50,000 ดอลลาร์ เสนอขายนักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) เป็นอีกทางเลือกในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่ปรึกษาทางการเงินของท่าน

 

สำหรับลูกค้าที่สนใจ สามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สกุลเงิน USD ประเภทเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือน หรือสอบถามอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ และสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING, SCB FIRST และ SCB PRIME สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ปรึกษาทางการเงินของท่าน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร 0 2777 7777 หรือสาขาธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ

 

*อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2566 ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงื่อนไขต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ประกาศธนาคารกำหนด

 

หมายเหตุ: · บัญชี FCD จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด · การลงทุนในบัญชี FCD มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

 ** · การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ไม่ใช่เงินฝาก ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมากได้ · การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน · การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ปรึกษาทางการเงินของท่าน

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising