×

เกาะติดการลงทุนเพื่อการออมตามเทรนด์แห่งอนาคต

11.10.2023
  • LOADING...

ที่ผ่านมาเรามักเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิด สงครามการเมือง ภาวะเงินเฟ้อสูง รวมถึงความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถดถอย ที่ส่งผลกระทบกับเงินในกระเป๋าและการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในอนาคต การลงทุนในกองทุนรวม ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเงินที่ให้โอกาสรับผลตอบแทนเหนืออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวม SSF ช่วยให้มีโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวผ่านธีมการลงทุนระดับโลก พร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี

 

การลงทุนในหุ้นกลุ่มนวัตกรรมแห่งอนาคตถือเป็นธีมการลงทุนที่มาแรงและอยู่ในความสนใจของนักลงทุน สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุนส่วนมากเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และแนวโน้มที่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก อย่างเช่น เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือยานพาหนะไฟฟ้า Electric Vehicle (EV) หากการลงทุนกับหุ้นกลุ่มนี้ก็ยิ่งดูจะมีอนาคตที่สดใสสำหรับนักลงทุน

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะเห็นการพัฒนาของนวัตกรรมที่ค่อยๆ เพิ่มขีดความสามารถและเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน อีกทั้งการแพร่ระบาดของโควิดยิ่งเป็นตัวเร่งพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมและธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็น Internet of Things (IoT), Artificial Intelligence (AI) และ 5G เป็นต้น 

 

และแม้วิกฤตโรคระบาดจะคลี่คลายลง แต่โลกของเราก็ยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเข้าสู่สภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน นั่นทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในฐานะจุดเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาด เห็นได้จากกระแสความต้องการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ที่นับวันก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น นวัตกรรมจึงกลายเป็นเมกะเทรนด์ที่ส่งผลอย่างยิ่งกับเศรษฐกิจ ธุรกิจ และวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต

 

เติบโตไปกับขุมพลังของเทคโนโลยี

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนเป็นที่เรียบร้อย โลกดิจิทัลทำให้ผู้บริโภคขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้ เดินทางสู่จุดหมายด้วยยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยี GPS รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต การทำงานที่สะดวกสบายไปอีกขั้นเมื่อมีหุ่นยนต์และ AI เป็นผู้ช่วย หรือแม้แต่เดินทางสู่จุดหมายด้วยยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยี GPS รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลคาดการณ์จาก Statista มองว่า จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2024-2028 กว่า 1,200 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 21% ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากเมกะเทรนด์ด้านเทคโนโลยี

 

เบื้องหลังนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโลกมีขุมพลังเล็กๆ ซ่อนอยู่เรียกว่า เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือชิป ที่เป็นหัวใจของนวัตกรรม เมื่อเทคโนโลยีมีแนวโน้มเติบโต ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ก็สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ภาพรวมการขยายตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์มีโอกาสเติบโตอีกกว่า 100% ในช่วง 10 ปีนับจากนี้ โดยโตขึ้นจาก 4.67 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 9.4 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP โลก ประกอบกับแรงสนับสนุนจากนานาประเทศทั่วโลกที่ต่างมีนโยบายเสริมศักยภาพการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

 

จับทิศทางการลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

 

สืบเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โลกจึงพบกับจุดเปลี่ยนทางนวัตกรรมครั้งสำคัญนั่นคือ ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นทางออกให้กับวิกฤตโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นวาระระดับโลก นานาประเทศจึงพร้อมใจตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 

 

ซึ่งการหันมาใช้ Electric Vehicle (EV) ถือเป็นทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาที่ออกกฎหมาย Inflation Reduction Act สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและการให้เครดิตเงินคืนแก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า หรือในประเทศจีนที่มีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 5 ปี และกลุ่มสหภาพยุโรปที่เตรียมหยุดการจำหน่ายเครื่องยนต์สันดาปในปี 2035 

 

ด้าน Bloomberg New Energy Finance คาดว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูง สัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 14% ในปี 2022 เป็น 30% ในปี 2026 ธุรกิจที่พร้อมเติบโตไปกับเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ที่ใช้เป็นพลังในการขับเคลื่อน ผู้พัฒนาเซ็นเซอร์และระบบประมวลผล หรือเซมิคอนดักเตอร์ ผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งวัสดุต่างๆ สำหรับประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ เหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจที่สอดรับกับเมกะเทรนด์ด้านเทคโนโลยีระดับโลกเช่นกัน

 

สำหรับผู้ที่ต้องการคว้าโอกาสเติบโตในระยะยาวไปกับธุรกิจที่เป็นอนาคตของมวลมนุษยชาติ การลงทุนในธีมหุ้นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี สามารถพิจารณาการลงทุนในรูปแบบกองทุน SSF เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ด้วยเช่นกัน กองทุนที่แนะนำ ได้แก่ SCBSEMI (SSF) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนหลัก VanEck Vector Semiconductor UCITS ETF โดยลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิต Semiconductor ทั่วโลก เช่น NVIDIA TSMC และ ASML เป็นต้น 

 

และกองทุน SCBEV (SSF) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนหลัก KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility Index ETF ที่ลงทุนในธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม EV ทั่วโลก ตั้งแต่สายแร่ที่ใช้ในการผลิต สถานีชาร์จ เซ็นเซอร์ แบตเตอรี่ลิเทียม ไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้า เช่น Tesla, BYD และ XPENG เป็นต้น

 

กองทุน SSF เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาวพร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 2 แสนบาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 5 แสนบาทเมื่อรวมกับ RMF กองทุนเพื่อการเกษียณ (ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข. และ กอช.) และประกันบำนาญ ไม่มียอดซื้อขั้นต่ำและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ต้องถือครอง 10 ปีนับจากวันซื้อ (แบบวันชนวัน) 

 

และสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างวินัยการลงทุนและกระจายความเสี่ยงการลงทุนจากความผันผวนของตลาด การลงทุนอย่างต่อเนื่องแบบถัวเฉลี่ยเงินลงทุนเท่าๆ กันในแต่ละเดือน หรือที่เรียกว่า Dollar-Cost Averaging (DCA) ถือเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีและได้รับความนิยมสูง เหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว 

 

นอกจากนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังมีกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง SSF และ RMF อีกมากมายที่ครอบคลุมหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 66 กองทุนในปัจจุบัน ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายการลงทุน นักลงทุนที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ scbam.com   

 

การลงทุนในกองทุนรวมมิใช่การฝากเงิน และผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ที่สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ หรือธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0 2777 7777

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising