THE STANDARD ชวน แสนปิติ สิทธิพันธุ์ บุตรชายของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. มาสัมภาษณ์เปิดแนวคิดและประสบการณ์กับคำถามต่างๆ ที่สะท้อนถึงหลากหลายบทบาทในชีวิตของเขา ตั้งแต่การเป็นลูกชายของนักการเมือง การมีความบกพร่องทางการได้ยิน ไปจนถึงการเป็นบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ โดยเราขอให้เขาถ่ายทอดคำตอบผ่านตัวอักษรซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ก่อนที่เราจะแปลเนื้อหาทั้งหมดให้เป็นภาษาไทย
นี่คือส่วนหนึ่งของคำตอบจากคำถามเหล่านั้น และอ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่: https://thestandard.co/sanpiti-sittipunt/
“เราทุกคนล้วนมีเอกลักษณ์ และเราก็สามารถให้อะไรกับโลกได้มากมาย เพราะเราก็มาจากพื้นเพที่หลากหลาย เราอยู่ในที่ทางของตัวเอง บนประเภทและคำจำกัดความที่แตกต่างหลากหลาย”
– แสนปิติ สิทธิพันธุ์
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของแสนปิติกับคำถามที่ว่า ‘คุณนิยามตัวเองว่าอย่างไร?’
“ผมรู้สึกว่าการเมืองไทยเป็นสังเวียนที่มีความผันผวนสูง จึงเป็นพื้นที่ที่ยากที่จะสำรวจมันไปแบบไม่มองหน้ามองหลังโดยไม่มีประสบการณ์ใดๆ เลย”
– แสนปิติ สิทธิพันธุ์
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของแสนปิติกับคำถามที่ว่า ‘ในฐานะลูกชายของนักการเมือง คุณเคยคิดจะทำงานการเมืองบ้างหรือไม่? ถ้าเคยคิด แล้วบทบาทไหนที่คุณคิดหรือเคยคิดจะทำ?’
“Empathy เป็นแง่มุมหนึ่งที่เรามักมองไม่เห็นค่าของสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ มันคือแก่นของการมีปฏิสัมพันธ์กับคนและสังคมอื่น การให้ความสำคัญกับ Empathy ก็คือการที่เราต้องยอมเปราะบาง ต้องยอมรับฟังทั้งผู้อื่นและตัวเอง การมอบ Empathy ให้กัน ก็คือการแสดงความเห็นอกเห็นใจให้กันในยามทุกข์ยาก”
– แสนปิติ สิทธิพันธุ์
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของแสนปิติกับคำถามที่ว่า ‘ในฐานะลูกชายของพ่อแม่ อะไรคือบทเรียนชีวิตที่สำคัญที่สุดที่พ่อแม่มอบให้กับคุณ?’
“ผมต้องทำงานร่วมกับนักบำบัดการพูดและครูพิเศษ เพื่อช่วยผมในความพยายามที่จะถ่ายทอดคำพูดของผมเอง ผมต้องใช้ความทุ่มเทและเวลาเพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากความอดทนในการจัดการกับความพิการของผมนี้”
– แสนปิติ สิทธิพันธุ์
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของแสนปิติกับคำถามที่ว่า ‘ในฐานะที่คุณเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน คุณมีเรื่องราวหรือประสบการณ์สักเรื่องเกี่ยวกับปัญหาความบกพร่องด้านการได้ยินที่คุณเคยประสบ แล้วอยากจะแชร์ให้คนทั่วไปได้ทราบ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิของผู้บกพร่องทางการได้ยินในสังคมไทยไหม?’
“แม้ว่าผมจะพูดแทนระบบการศึกษาของไทยไม่ได้ทั้งหมด แต่ผมคิดว่าหนึ่งหรือสองสิ่งที่สามารถนำมาจากสถานศึกษาในสหรัฐฯ ก็คือ ควรมีการเปิดสอนวิชาต่างๆ ที่หลากหลายในโรงเรียนไทย นักเรียนควรมีอิสระที่จะไล่ตามความสนใจและความหลงใหลของตนเอง โดยไม่ถูกจำกัดอยู่ในหลักสูตรเฉพาะ”
– แสนปิติ สิทธิพันธุ์
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของแสนปิติกับคำถามที่ว่า ‘ในฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ มีส่วนใดบ้างของระบบการศึกษาสหรัฐฯ ที่คุณคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้กับระบบการศึกษาไทย เพื่อทำให้ระบบการศึกษาไทยดีขึ้นได้?’
“ประวัติศาสตร์ช่วยในการพิจารณาปัจจุบันตามบริบทของมัน การจะทำความเข้าใจว่าสังคมและมนุษย์วิวัฒนาการผ่านช่วงเวลาเป็นเส้นตรง เข้าสู่ช่วงเวลาปัจจุบันของประวัติศาสตร์มนุษย์ได้อย่างไรนั้น อย่างแรกก็ต้องเข้าใจว่าเรามาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร และสภาวะแวดล้อมแบบไหนพาเรามาอยู่ตรงนี้”
– แสนปิติ สิทธิพันธุ์
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของแสนปิติกับคำถามที่ว่า ‘ในฐานะบัณฑิตด้านประวัติศาสตร์ อะไรคือคุณค่าของการศึกษาวิชานี้ สำหรับทั้งคนที่ทำงานและไม่ได้ทำงานในด้านที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์?’