×

เกาะติดวิกฤตยูเครน vs. รัสเซีย สถานการณ์ล่าสุด (26 กุมภาพันธ์ 2565)

โดย THE STANDARD TEAM
26.02.2022
  • LOADING...
เกาะติดวิกฤตยูเครน vs. รัสเซีย

 


 

26 กุมภาพันธ์ 2565

 

ประธานาธิบดียูเครนบอกปัดข้อเสนอให้อพยพลี้ภัยของสหรัฐฯ ชี้ต้องการอาวุธต่อสู้ ไม่ใช่ยานพาหนะใช้หลบหนี

 

 

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) สถานเอกอัครราชทูตยูเครนประจำสหราชอาณาจักร ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ เผยว่า ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน บอกปัดข้อเสนอของทางการสหรัฐอเมริกาที่แนะให้ผู้นำยูเครนอพยพลี้ภัยออกจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หวั่นเกิดอันตราย หลังกองทัพรัสเซียเคลื่อนพลถึงเมืองหลวงแล้ว

 

สถานทูตอ้างอิงคำพูดของประธานาธิบดีเซเลนสกี ระบุว่า “การต่อสู้เกิดขึ้นที่นี่ ผมต้องการอาวุธต่อสู้ ไม่ใช่ยานพาหนะใช้หลบหนี” พร้อมระบุอีกว่า “ชาวยูเครนภูมิใจในตัวประธานาธิบดีของพวกเขา”

 

โดยก่อนหน้านี้ผู้นำยูเครนเคยระบุว่า “จากข้อมูลที่เรามี ศัตรูกำหนดให้ผมเป็นเป้าหมายลำดับที่ 1 ส่วนครอบครัวของผมเป็นเป้าหมายลำดับที่ 2 พวกเขาต้องการทำลายยูเครนในทางการเมือง ผ่านการโค่นล้มประธานาธิบดี ผู้เป็นประมุขของรัฐ อีกทั้งกลุ่มขบวนการของศัตรูก็ได้เข้าสู่พื้นที่ของเมืองหลวงแล้ว”

 

ภาพ: Presidency of Ukraine / Handout / Anadolu Agency via Getty Images

อ้างอิง: CNN, @UkrEmbLondon / Twitter

 


ผู้นำยูเครนทวีตข้อความระบุ นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ต้องพิจารณาการสมัครเข้าเป็นสมาชิก EU อีกครั้ง

 

 

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน ทวีตข้อความผ่านบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว (@ZelenskyyUa) ระบุว่า นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ต้องพิจารณาหัวข้อที่หารือกันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) อีกครั้ง โดยได้พูดคุยหารือกับ ชาร์ล มีแชล ประธานคณะมนตรียุโรป (European Council) ถึงแนวทางช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและการต่อสู้อย่างกล้าหาญของชาวยูเครน เพื่ออนาคตที่มีเจตจำนงเสรีของพวกเขา

 

โดยผู้นำยูเครนให้คำมั่น จะไม่ทิ้งอาวุธ จะปกป้องประเทศนี้ พร้อมเน้นย้ำว่า อาวุธของยูเครนคือความจริง ความจริงที่ว่า แผ่นดินนี้เป็นของเขา เป็นประเทศของเรา เป็นลูกหลานของเรา เราจะปกป้องสิ่งต่างๆ เหล่านี้

 

ภาพ: Ukrainian Presidency / Handout / Anadolu Agency via Getty Images

อ้างอิง:

  • CNN
  • New York Post

 


บรรยากาศตามแนวชายแดน หลังชาวยูเครนลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

 

russia-ukraine-crisis-26022022-9

 

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) นี่คือบรรยากาศโดยรวมบริเวณเมืองต่างๆ ตามแนวชายแดนที่มีเขตติดต่อกับประเทศยูเครน หลังจากชาวยูเครนจำนวนไม่น้อยต่างตัดสินใจอพยพลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การ NATO อย่างโปแลนด์ โรมาเนีย สโลวะเกีย และฮังการี หลังทางการรัสเซียเดินหน้าปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 นับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา

 

โดยก่อนหน้านี้ ชาวยูเครนหรือชนเชื้อสายรัสเซียส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในแคว้นโดเนตสก์และแคว้นลูฮันสก์ทางภูมิภาคดอนบาส หรือทางตะวันออกของยูเครน และมีแนวคิดโปรรัสเซียก็เดินทางข้ามพรมแดนเข้าไปลี้ภัยในรัสเซียแล้ว

 

russia-ukraine-crisis-26022022-9

Isaccea โรมาเนีย

 

russia-ukraine-crisis-26022022-9

russia-ukraine-crisis-26022022-9

เมดีกา โปแลนด์ 

 

russia-ukraine-crisis-26022022-9

Vyšné Nemecké สโลวาเกีย

 

russia-ukraine-crisis-26022022-9

ทิสซาเบคซ์ ฮังการี

 

ภาพ: Daniel Mihailescu / AFP / Michael Kappeler / picture-alliance via Getty Images / Dominika Zarzycka/SOPA Images / LightRocket via Getty Images / Attila Husejnow / SOPA Images / LightRocket via Getty Images / Peter Lazar / AFP

อ้างอิง:

 


ไบเดนสั่งเพิ่มงบเป็น 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนความมั่นคงยูเครนอย่างเร่งด่วน

 

 

วานนี้ (25 กุมภาพันธ์) ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีคำสั่งไปยัง แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ อนุมัติงบประมาณเพิ่มเป็น 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.13 หมื่นล้านบาท) เพื่อสนับสนุนงานกิจการด้านความมั่นคงของยูเครนอย่างเร่งด่วน

 

นับเป็นการอัดฉีดงบประมาณช่วยเหลือครั้งที่ 3 ในปีนี้ โดยก่อนหน้านี้ส่งมอบความช่วยเหลือไปแล้ว 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ยอดเงินช่วยเหลือที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งมอบให้รัฐบาลยูเครนนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมาสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ไบเดนได้พูดคุยกับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน เป็นระยะเวลากว่า 40 นาที เมื่อวานนี้ ถึงการส่งมอบความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม ท่ามกลางสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงตึงเครียดขึ้นทุกขณะ

 

ภาพ: Doug Mills-Pool / Getty Images

อ้างอิง: CNN

 


เสียงระเบิดยังคงดังขึ้นอย่างต่อเนื่องในกรุงเคียฟ หลังรัสเซียเคลื่อนกำลังพลถึงเมืองหลวง

 

 

10.00 น. วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) ตามเวลาประเทศไทย เสียงระเบิดยังคงดังขึ้นอย่างต่อเนื่องในกรุงเคียฟ หลายพื้นที่เห็นแสงจากเปลวไฟและควันไฟลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า หลังรัสเซียสั่งเคลื่อนกำลังพลถึงเมืองหลวงของยูเครน พร้อมเรียกร้องให้กองทัพยูเครนโค่นล้มรัฐบาลของตนเอง หวังเปิดทางให้ตัวแทนจากฝ่ายโปรรัสเซียกลับขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง

 

อ้างอิง: CNN

 


บรรยากาศภายในที่หลบภัยชั่วคราว หลังรัสเซียปฏิบัติการทางทหารในยูเครน

 

russia-ukraine-crisis-26022022-5

 

นี่คือบรรยากาศภาพรวมภายในที่หลบภัยชั่วคราวของผู้คนในยูเครน หลังทางการรัสเซียสั่งปฏิบัติการพิเศษทางทหารในประเทศนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนที่จะเคลื่อนกำลังทหารถึงกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน หวังโค่นล้มประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำคนปัจจุบันของยูเครน และเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองให้ผู้ที่โปรรัสเซียก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ของประเทศนี้แทน โดยเสียงระเบิดยังคงดังขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่

 

russia-ukraine-crisis-26022022-5

russia-ukraine-crisis-26022022-5

russia-ukraine-crisis-26022022-5

russia-ukraine-crisis-26022022-5

russia-ukraine-crisis-26022022-5

russia-ukraine-crisis-26022022-5

russia-ukraine-crisis-26022022-5

 

ภาพ: Sergei Chuzavkov / SOPA Images / LightRocket via Getty Images / MARCUS YAM / LOS ANGELES TIMES via Getty Images / Beata Zawrzel / NurPhoto via Getty Images / Pierre Crom / Getty Images / Omar Marques / Getty Images

อ้างอิง: 

 


ผู้แทน 50 ประเทศร่วมแถลงการณ์ประณามรัสเซีย ชี้ใช้อำนาจโดยมิชอบ ยกวีโต้ค้านมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ

 

แถลงการณ์ประณาม

 

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) ตามเวลาประเทศไทย เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติจาก 50 ประเทศ ร่วมลงนามในแถลงการณ์ประณามรัสเซีย ชี้รัสเซียใช้อำนาจในทางมิชอบในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ยกวีโต้คัดค้านการออกมติของที่ประชุม เพื่อแสดงจุดยืนต่อประเด็นการบุกรุกรานยูเครนของรัสเซีย

 

ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ร่วม ระบุ “พวกเราทุกคนที่มายืนอยู่ที่แห่งนี้ยังคงเชื่อมั่นภาระหน้าที่อันหนักอึ้งและเป้าหมายสูงสุดของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ต้องการจะป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งและหายนะจากสงครามความรุนแรง โดยวันนี้รัสเซียได้ใช้อำนาจที่ตนมีในทางมิชอบ คัดค้านมติที่เราเห็นพ้องต้องกันอย่างแรงกล้า”

 

โดยผู้แทนสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทั้ง 15 ประเทศ ประชุมหารือกันเมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ (25 กุมภาพันธ์) ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนที่จะโหวตมติที่ประชุมประณามการกระทำของรัสเซีย โดยมี 11 ประเทศสมาชิกเห็นชอบมติดังกล่าว ขณะที่รัสเซียยกวีโต้คัดค้าน ส่วนจีน อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต่างงดออกเสียง

 

ภาพ: David Dee Delgado / Getty Images

อ้างอิง:

 


ผู้นำยูเครนวอนนายกฯ อิสราเอล ช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจากับรัสเซียที่เยรูซาเล็ม

 

russia-ukraine-crisis-26022022-2

 

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) ตามเวลาประเทศไทย เยฟเกน กอรนีย์ชุก เอกอัครราชทูตยูเครนประจำอิสราเอล เผยว่า ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน วอนขอให้นายกรัฐมนตรี นาฟตาลี เบนเนตต์ ของอิสราเอล ช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัสเซียที่เยรูซาเล็ม 

 

“ประธานาธิบดีของเราเชื่อมั่นว่า อิสราเอลเป็นรัฐประชาธิปไตยเพียงรัฐเดียวที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อทั้งยูเครนและรัสเซีย จึงน่าจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้”

 

อีกทั้งยังมองว่า เยรูซาเล็มน่าจะเหมาะเป็นสถานที่จัดการประชุมมากกว่ากรุงมินสก์ของเบลารุส ที่เคยจัดการประชุมหารือกันมาแล้วเมื่อครั้งอดีต และเป็นหนึ่งในชาติพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับรัสเซียมากเป็นพิเศษ ยูเครนจึงไม่เชื่อมั่นในหลักความชอบธรรมของเบลารุส โดยเฉพาะภายใต้การนำของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ผู้นำคนปัจจุบันของเบลารุส ตามที่ปูตินได้ยื่นข้อเสนอมาก่อนหน้านี้

 

เบื้องต้น ทางการอิสราเอลยังไม่ได้ให้คำตอบเรื่องนี้แต่อย่างใด ยังคงอยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือกัน 

 

ภาพ: UKRAINIAN PRESIDENCY / Anadolu Agency via Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X