×

‘นาฬิกา Rolex’ กลายเป็นเทรนด์ลงทุนที่ร้อนแรงในเกาหลีใต้จากความหายาก แต่บริษัทย้ำชัดจะ ‘ไม่ผลิตเพิ่ม’ เพื่อป้องกันมูลค่าลดลง

09.09.2021
  • LOADING...
Rolex

นาฬิกา Rolex ได้กลายเป็นเทรนด์ลงทุนที่ร้อนแรงในเกาหลีใต้ เนื่องจากการหานาฬิกาสุดหรูนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะตัวสินค้ามีจำกัด สวนทางกับความต้องการซื้อที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

The Korea Times รายงานว่า มีผู้ใช้บางรายบน Diesel Mania ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับแฟชั่นและเทรนด์ ได้โพสต์ว่าในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จในการซื้อนาฬิกา Rolex Datejust หลังจากรอ 3 เดือน ‘ที่ห้างสรรพสินค้าฮุนไดในวันอาทิตย์ มีคนมารอ 30 คน ตอนตี 2 และเพิ่มเป็น 70 คน ในช่วงเวลาตี 5’ เขาเขียน ขณะที่ผู้ใช้รายอื่นชมเชยความพยายามของเขา และอิจฉา ‘โชค’ ของเขา

 

ผู้คนยืนเข้าแถวตั้งแต่ก่อนรุ่งสางเพื่อเป็นลูกค้ารายแรกที่เข้ามาในร้าน Rolex เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อนาฬิกา แต่ไม่มีการรับประกันว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จ บางคนซื้อสำหรับตัวเอง ในขณะที่บางคนกำลังซื้อเพื่อนำไปขายต่อ เนื่องจากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน

 

คนที่รอไม่ได้ก็หันไปซื้อสินค้ามือสองในตลาดออนไลน์แทน The Korea Times ยกตัวอย่าง Rolex Oyster Perpetual Submariner Date มีราคา 11.65 ล้านวอน หรือราว 3.2 แสนบาท บนเว็บไซต์ทางการของ Rolex Korea แต่ใน We Watch Trading แพลตฟอร์มซื้อขายนาฬิกามือสอง รุ่นเดียวกันขายได้ 24 ล้านวอน หรือ 6.7 แสนบาท 

 

รายงานจาก Yahoo Finance ระบุว่า ในขณะที่ยอดขายนาฬิกาข้อมือต่างลดลงในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ในปี 2020 แต่การซื้อกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ จากข้อมูลของ FHS กลุ่มวิจัยอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส เผยยอดขายนาฬิกาสวิสเพิ่มขึ้น 7.6% ในเดือนกรกฎาคม เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2019 การเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 48.5% ในสหรัฐอเมริกา และเพิ่มขึ้น 75% ในประเทศจีน

 

ทว่าในขณะที่นาฬิกาสวิสยอดขายเพิ่มขึ้น แต่การขาดแคลนนาฬิกา Rolex ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น Perfect Storm หรือ ‘พายุที่สมบูรณ์แบบ’ แม้จะมีความต้องการสูง แต่การผลิตก็ถูกจำกัดเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาหลายเดือน

 

Yahoo Finance รายงานว่า Rolex ไม่น่าจะเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ โดยตั้งข้อสังเกตว่าผู้ผลิตนาฬิกาพยายามสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า แทนที่จะทำให้มีสินค้าล้นตลาดและลดมูลค่านาฬิกาลง

 

The Korea Times ชี้ว่า กลยุทธ์นี้ชัดเจนเมื่อวิเคราะห์การยื่นเอกสารทางธุรกิจของ Rolex Korea ดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญกับการรักษาความขาดแคลนมากกว่าการเพิ่มยอดขายหรือผลกำไร มียอดขายรวม 2.329 แสนล้านวอนในปี 2020 ซึ่งลดลงประมาณ 20% จากปีที่แล้ว กำไรจากการดำเนินงานของ Rolex ลดลง 49% เป็น 2.83 หมื่นล้านวอน

 

“แทนที่จะเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นและดึงยอดขายขึ้นมา Rolex Korea ได้ใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เช่น จำกัดจำนวนในการซื้อแทน” The Korea Times ระบุ

 

อ้างอิง:

 


 

เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหารต้องดูก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022


📌
เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง
📌
ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยโลก
📌
เทรนด์ผู้บริโภคการตลาด
📌
เคสจริงจากผู้บริหาร

 

ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce

 

#TheSecretSauceStrategyForum2022

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising