การระบาดของโรคโควิดที่กินเวลาเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ เรื่อง หนึ่งในนั้นคือวิธีการทำงานที่ต้องปรับมา Work from Home ข้อดีคือเราไม่ต้องออกไปผจญกับโรคภัย แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน นั่นคือผลกระทบต่อสุขภาพของเราเอง โดยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด พบว่าผู้คนมีพฤติกรรมเฉื่อยชา ขยับตัวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จนนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีในผู้ใหญ่วัยทำงานหลายราย
สิ่งที่น่าสนใจคือปัญหาสุขภาพเหล่านี้มักเป็นผลมาจากระดับ ‘ความเครียด’ ที่เพิ่มขึ้น จนทำให้หลายคนต้องทนทุกข์จากคุณภาพการนอนหลับที่แย่ลง ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เพิ่มขึ้น ความผิดปกติของการนอนหลับมีสาเหตุหลักๆ มาจากการหยุดหายใจบ่อยครั้งระหว่างนอนหลับ หายใจถี่ หรือการกรนเรื้อรัง
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีสามประเภท ได้แก่ ชนิดเกิดจากสมองส่วนกลาง ชนิดอุดกั้น และชนิดผสม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือที่เรียกว่า OSA เกี่ยวกับการตีบหรือการอุดกั้นในระบบการหายใจในระหว่างหลับ มักมีระดับออกซิเจนในเลือดลดลงระหว่างการนอนหลับร่วมด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดสุขภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และเป็นเหตุให้มีอาการรู้สึกพักผ่อนไม่เต็มที่ในวันถัดไป
ควรนอนให้ได้ 8 ชั่วโมง
‘ควรนอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน’ เป็นสิ่งที่เรามักจะได้รับการย้ำเตือนตั้งแต่เด็ก แต่ที่สำคัญพอๆ กับการนอนหลับเพียงพอคือคุณภาพของการนอนหลับ หรือสุขภาพการนอนหลับ
งานวิจัยต่างๆ พบประโยชน์มากมายจากการมีสุขภาพการนอนหลับที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘สมาธิและประสิทธิภาพ’ การทำงานที่ดียิ่งขึ้น
ลองนึกภาพว่า หากเรามีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี สิ่งที่ตามมาคือทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและความฉุนเฉียวที่มีผลกระทบต่อสมาธิในการทำงานประจำวัน ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ
ดังนั้นการนอนหลับที่มีคุณภาพจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยจะส่งผลดีให้เราในการทำงานและในกิจกรรมประจำวันอื่นๆ
OSA พบได้บ่อยเพียงใด และใครมีความเสี่ยงมากที่สุด?
โดยทั่วโลกแล้ว ผู้ใหญ่เกือบหนึ่งพันล้านคน อายุระหว่าง 30-69 ปี มีการคาดการณ์ว่าต้องเผชิญความทุกข์ทรมานจาก OSA ในบรรดาคนเหล่านี้ ประชากรที่มีความเสี่ยงมากที่สุดตามปกติจะเป็นผู้หญิงที่ใกล้หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน ชายวัยกลางคน และผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน โดยทั่วไปแล้วผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงอีกด้วย
ข้อมูลจากงานวิจัยเผยว่า ในบรรดาผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ผู้ชายประสบภาวะ OSA ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรงมากกว่าผู้หญิง 8%
แม้ว่าเราอาจเคยชินกับแนวคิดที่ว่าภาวะ OSA (หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับทั่วไป) พบได้บ่อยกว่าในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ผู้ที่อายุ 30 ปีก็ประสบภาวะจาก OSA ได้เช่นเดียวกัน ในบรรดาชายหนุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าการหายใจผิดปกติส่งผลชัดเจนต่ออาการของคนเหล่านั้นมาก เมื่อเทียบกับผู้ชายสูงอายุที่มีอาการความดันโลหิตสูง
ที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ อาการที่สัมพันธ์กับ OSA ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงอาการง่วงนอนตอนกลางวันเป็นประจำ อาการปวดหัวตอนเช้า และไม่มีสมาธิจดจ่อกับงานตอนกลางวัน หากมีคนประสบกับอาการเหล่านี้ คนเหล่านั้นอาจมีความเสี่ยงหรือกำลังเผชิญกับภาวะ OSA
โดยส่วนมากแล้วผู้ที่มีความเสี่ยงหรือกำลังเผชิญกับสภาวะ OSA มักจะไม่สามารถสังเกตอาการของตนเองได้ เนื่องจากอาการอื่นๆ ที่บ่งชี้ถึงอาการของ OSA มักเกิดขึ้นระว่างการนอน อาการเหล่านั้นได้แก่ การกรนเสียงดัง, สะดุ้งตื่นพร้อมกับอาการหายใจหอบ, สำลัก, ปากแห้งหรือเจ็บคอ และการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ฉะนั้นสมาชิกในครอบครัวที่นอนในห้องเดียวกันต้องคอยสังเกตอาการเหล่านี้
ลดความเสี่ยงจาก OSA
จริงๆ แล้วมีหลากหลายวิธีที่จะทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงจาก OSA โดยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ อย่างหนึ่งคือเพิ่มการสัมผัสกับแสงสว่างจากธรรมชาติระหว่างวัน ในขณะที่ลดการเปิดรับแสงสีฟ้าและแสงจ้าในตอนเย็น
นอกจากนี้ การรักษากิจวัตรการเข้านอนให้เป็นปกติและหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอนสามารถช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมพักผ่อน การไม่รับประทานอาหารตอนดึกก็ช่วยได้
ขณะเดียวกันด้วยความที่หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองนั้นกำลังอยู่ในภาวะ OSA หรือไม่ ดังนั้นเราประเมินคุณภาพการนอนของเราผ่านแบบทดสอบการนอนหลับสั้นๆ ง่ายๆ ได้ที่นี่ https://www.resmed.co.th/th-th/sleep-assessmentโดยผลของการทดสอบนี้จะช่วยประเมินความเสี่ยงต่างๆ อีกทั้งช่วยให้เราเข้าใจและตระหนักรู้ถึงคุณภาพการหลับนอนของเรา
สำหรับผู้ที่มีอาการจากภาวะ OSA เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกขณะหายใจเข้า (CPAP) เป็นหนึ่งในการรักษาที่พบบ่อยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเกี่ยวกับการช่วยเพิ่มและปรับระดับความดันที่เหมาะสม โดยเครื่องจะส่งระดับความดันที่คงที่มากกว่าความดันบรรยากาศไปยังทางเดินหายใจส่วนบนอย่างต่อเนื่อง
และแม้ว่าเครื่อง CPAP เป็นวิธีรักษาภาวะ OSA ที่พบบ่อยและเป็นที่รู้จักมากที่สุด ผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำให้เลือกการรักษาภาวะ OSA ประเภทอื่น เช่น การใส่อุปกรณ์ในช่องปากที่สั่งทำพิเศษ, การผ่าตัดและเย็บตกแต่งเพดานอ่อน และการผ่าตัดเสริมจมูกและเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น
ในขณะเดียวกันมีอุปกรณ์ขากรรไกรล่างที่สามารถบรรเทาภาวะ OSA ในผู้ป่วยบางราย และในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา
เหล่านี้ก็จะช่วยให้เราสามารถห่างไกลจากอาการ OSA ได้
หมายเหตุ: บทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ กรุณาปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรืออาการของคุณ
อ้างอิง:
- Park JH, Moon JH, Kim HJ, Kong MH, Oh YH. Sedentary Lifestyle: Overview of Updated Evidence of Potential Health Risks (Korean Journal of Family Medicine).
- Cremasco MM, Mulasso A, Moroni A, Testa A, Degan R, Rainoldi A, Rabaglietti E. Relation among Perceived Weight Change, Sedentary Activities and Sleep Quality during COVID-19 Lockdown (International Journal of Environmental Research and Public Health).
- Wong JL, Martinez F, Aguila AP, Pal A, Aysola RS, Henderson LA, Macey PM. Stress in obstructive sleep apnoea (Nature).
- ResMed.
- Kline CE, Chasens ER, Bizhanova Z, Sereika SM, Buysse DJ, Imes CC, Kariuki JK, Mendez DD, Cajita MI, Rathbun SL, Burke LE. The association between sleep health and weight change during a 12-month behavioral weight loss intervention (National Library of Medicine).
- Lacey M. Does Sleep (Or Lack Of It) Affect Weight Loss? (NPR).
- Pacheco D, Wright H. Sleep and Blood Glucose Levels (Sleep Foundation).
- Ishibashi Y, Shimura A. Association between work productivity and sleep health: A cross-sectional study in Japan (ScienceDirect).
- Benjafield AV, Ayas NT, Eastwood PR, Heinzer R, Ip M, Morrell MJ, Nuñez CM, Patel SR, Penzel T, Pépin J, Peppard PE, Sinha S, Tufik S, Valentine K, Malhotra A. Estimation of the global prevalence and burden of obstructive sleep apnoea: a literature-based analysis (The Lancet Respiratory Medicine).
- Peppard PE , Young T, Barnet JH, Palta M, Hagen EW, Hla KM. Increased prevalence of sleep-disordered breathing in adults (American Journal of Epidemiology).
- Sjöström C, Lindberg E, Elmasry A, Hägg A, Svärdsudd K, Janson C. Prevalence of sleep apnoea and snoring in hypertensive men: a population-based study (National Library of Medicine).
- Obstructive Sleep Apnoea (Mayo Clinic).
- Sleep apnoea (NHS).
- Sleep tips: 6 tips to better sleep (Mayo Clinic).
- Carlier S, Bruyneel AV, Bruyneel M. Pressure adjustment is the most useful intervention for improving compliance in telemonitored patients treated with CPAP in the first 6 months of treatment (International Journal of the Science and Practice of Sleep Medicine).
- Watson S. Beyond CPAP: Other options for sleep apnoea (Harvard Health Publishing).
- Obstructive Sleep Apnoea (OSA) — What it is (SingHealth).