เมื่อวันที่ 16 เม.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ‘พระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2562’ ซึ่งบังคับต้ังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
สาระสำคัญคือ มาตรา 6 วรรค 2 บัญญัติว่า
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารอันเกี่ยวกับการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การข่าวกรองทางการสื่อสาร หรือการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อาจดำเนินการด้วยวิธีการใดๆ รวมทั้งอาจใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องโทรคมนาคมหรือเทคโนโลยีอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวได้ ทั้งน้ี หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี โดยระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการบันทึกรายละเอียดขั้นตอน การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เหตุผล ความจำเป็น วิธีการ บุคคลที่ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบ และระยะเวลาในการดำเนินการ รวมท้ังวิธีการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบต่อบุคคลภายนอกท่ีไม่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการตามมาตราน้ี หากได้กระทำตามหน้าที่และอำนาจโดยสุจริตตามสมควรแก่เหตุแล้ว และเป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงหรือการป้องกันภัยสาธารณะ ให้ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 8 บรรดาข้อมูลข่าวสารที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติได้รับมาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติน้ีจะเปิดเผยมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อหน่วยข่าวกรอง หน่วยงานความมั่นคง นายกรัฐมนตรี หรือตามคำสั่งศาล
มาตรา 12 ให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติจัดให้มีศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ‘ศป.ข.’ เป็นหน่วยงานภายใน เพื่อทำหน้าท่ีเป็นหน่วยงานกลางในการประสานกิจการการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนร่วมกับหน่วยข่าวกรองอื่นภายในประเทศ โดยให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งรองผู้อำนวยการคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ‘ผอ.ศป.ข.’ มีหน้าท่ีรับผิดชอบ บริหารจัดการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของ ศป.ข. ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ
หมายเหตุ: เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2528 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว เนื้อหาและหลักเกณฑ์บางส่วนไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ภัยคุกคามความมั่นคงและเทคโนโลยีท่ีเปลี่ยนแปลงไป นอกจากน้ี ยังมีแนวโน้มของภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ด้วยวิธีการที่หลากหลายซับซ้อนขยายตัวมากข้ึน เพื่อเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติการข่าวกรองของชาติ เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และทำให้ภารกิจของรัฐด้านกิจการการข่าวกรองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ภัยคุกคามความมั่นคงทุกรูปแบบได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน้ี
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
อ้างอิง: