×

Privately Owned Public Spaces: เมื่อเอกชนลุกขึ้นมาสร้างพื้นที่สาธารณะใจกลางเมือง เพื่อปรับอนาคตเมือง เปลี่ยนอนาคตเรา [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
20.10.2022
  • LOADING...
Privately Owned Public Spaces: เมื่อเอกชนลุกขึ้นมา

HIGHLIGHTS

8 Mins. Read
  • ควันหลงไฮไลต์จากงาน Sustainability Expo 2022 จากเวทีเสวนา ปรับอนาคตเมืองเปลี่ยนอนาคตเรา’ มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งกรุงเทพมหานคร สถานทูต องค์กรเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผังเมืองและพื้นที่สาธารณะ มาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การทำงานในการพัฒนาพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวเพื่อสาธารณะของเมืองอย่างยั่งยืน
  • หนึ่งในนั้นคือ ‘วัน แบงค็อก’ โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร พร้อมมาตรฐานคุณภาพสูงสุด และใหญ่ที่สุดใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นบริเวณถนนวิทยุและถนนพระราม 4 ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการที่เอกชนลุกขึ้นมาสร้างพื้นสาธารณะใจกลางเมือง เพื่อร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนอย่างน่าทึ่ง ทั้งในแง่สังคม เศรษฐกิจ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อม

เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีการจัดงานยิ่งใหญ่น่าสนใจระดับ Talk of the Town กันไป นั่นคืองาน Sustainability Expo 2022 ความน่าสนใจของงานนี้นอกจากจะเป็นงานใหญ่งานแรกๆ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เพิ่งกลับมาเปิดใหม่แล้ว งานดังกล่าวยังถือเป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนอีกด้วย ในฐานะที่ THE STANDARD เราได้มีโอกาสเยี่ยมชมงานนี้มา ต้องบอกว่าเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นที่เรารู้สึกว่าน่าสนใจมากเป็นพิเศษจนอยากจะมาบอกเล่าต่อให้ทุกคนได้ฟังกันก็คือประเด็นเรื่อง Privately Owned Public Spaces: การสร้างพื้นที่เอกชนเพื่อสาธารณะใจกลางเมือง’ 

 

พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างพื้นที่เอกชนเพื่อสาธารณะ

 

Privately Owned Public Spaces

เวทีเสวนา ปรับอนาคตเมืองเปลี่ยนอนาคตเรา’

มีทั้งตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร สถานทูต ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผังเมืองและพื้นที่สาธารณะ รวมถึงภาคเอกชนผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับยักษ์ใหญ่เข้าร่วม

 

ภายในงาน Sustainability Expo 2022 มีการจัดเสวนา ‘ปรับอนาคตเมืองเปลี่ยนอนาคตเรา’ ซึ่งได้เชิญบุคคลสำคัญจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งกรุงเทพมหานคร สถานทูต องค์กรเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผังเมืองและพื้นที่สาธารณะ มาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การทำงานในการพัฒนาพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวเพื่อสาธารณะของเมืองอย่างยั่งยืนในระดับนโยบายของแต่ละภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมโยงในระดับเครือข่ายระหว่างหน่วยงานต่างๆ นำไปสู่การค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่ในเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน 

 

ประเด็นและโมเดลหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่งจากภาคเอกชน ก็คือ วรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาและบริหารโครงการ วัน แบงค็อก ได้มาร่วมแบ่งปันคือ นโยบายด้านการจัดสรรและพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้คน และสนับสนุนการเติบโตทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยเจาะลึกโครงการ ‘วัน แบงค็อก’ ซึ่งเรามองว่าหากทำได้สำเร็จจริงตามนี้ย่อมจะเป็น Prototype ที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นโมเดลตัวอย่างที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนระดับแถวหน้าในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ลุกขึ้นมาสร้างพื้นสาธารณะใจกลางเมือง ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในเมืองดีขึ้นแล้ว ยังสามารถเป็นการยกระดับมาตรฐานต้นแบบที่ผู้ประกอบการอื่นๆ สามารถลุกขึ้นมาร่วมแรงทำตามได้ แล้วประโยชน์ก็จะตกอยู่กับทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในเมือง 

 

Privately Owned Public Spaces

วรวรรต ศรีสอ้าน

รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาและบริหารโครงการ วัน แบงค็อก 

 

วรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาและบริหารโครงการ วัน แบงค็อก ได้เริ่มต้นเล่าแนวคิดให้ฟังว่า เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของงาน Sustainability Expo 2022 ในครั้งนี้ มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการเป็นองค์กรที่พัฒนาธุรกิจภายใต้แนวทาง ‘Inspiring Experiences, Creating Places for Good’ ทั้งยังกล่าวถึงการที่ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควรเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับเมืองเอาไว้อย่างน่าฟังว่า 

 

“ด้วยความที่โครงการอสังหาริมทรัพย์หนี่งๆ นั้นมีช่วงอายุยาวนานอย่างน้อยถึง 30 ปี จึงสมควรอย่างยิ่งที่เราจะมีส่วนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับเมืองในปัจจุบัน พร้อมกับส่งมอบคุณค่าสำหรับชุมชนต่อไปในอนาคต โดยสิ่งที่ผู้พัฒนาโครงการฯ อย่างเราสามารถทำได้ก็คือ ให้ความสนใจแก่ประเด็นปัญหาในปัจจุบัน และสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลงทางบวกเพื่อความมั่นคงในอนาคตต่อผู้คน”

 

Privately Owned Public Spaces

กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ย 3.54 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่ามาตรฐานที่ WHO ระบุ ลำพังเพียงกำลังของกรุงเทพฯ อาจไม่เพียงพอ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เชื่อว่าภาคเอกชนผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สามารถมีส่วนร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อความยั่งยืนได้ 

 

Privately Owned Public Spaces

พื้นที่เปิดโล่งมีความจำเป็นต่อเมือง

ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาวะ

 

ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนในมหานครกรุงเทพฯ คือมีพื้นที่เปิดโล่งจำกัด ขาดการเข้าถึงพื้นที่เปิดโล่งที่มีคุณภาพ อากาศร้อนขึ้นและเพิ่มโอกาสน้ำท่วม แถมพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวนั้นก็มีจำกัดเพียงแค่ 3.54 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คนเท่านั้น ในขณะที่ค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน 

 

“ส่วนอีกปัญหาที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือขาดทางสาธารณะ (Rights of Way) ที่ผู้คนจะสัญจรได้มีเพียง 7% เมื่อเทียบกับระดับมาตรฐานที่ควรมีอย่างน้อย 20-25% ของพื้นที่ทั้งหมดในกรุงเทพฯ ทั้งสภาพแวดล้อมของพื้นที่สาธารณะในเมืองกรุงเทพฯ ณ ปัจจุบัน ที่ไม่เอื้อต่อการเดินเท้ามากนัก โดยหากพื้นที่ในชุมชนเมืองเหล่านี้ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้เอื้อต่อการเดินเท้าอย่างสะดวก สบาย ปลอดภัย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี ย่อมจะสามารถดึงดูดให้ผู้คนหันมาสัญจรด้วยการเดินเท้ามากขึ้น ส่งผลกระทบในแง่บวกในหลายแง่ตามมา ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน” วรวรรตกล่าว

 

Privately Owned Public Spaces

การขาดทางสาธารณะที่เพียงพอ ส่งผลให้มีการใช้รถยนต์ ก่อให้เกิดการจราจรที่แออัด และปัญหามลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ทางสาธารณะยังมีความสำคัญในการรองรับกิจกรรมและความเคลื่อนไหวภายในเมือง ซึ่งสัมพันธ์ต่อความเติบโตทางเศรษฐกิจ หากโครงการที่เอกชนทำสามารถช่วยเสริมในส่วนนี้ได้ แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ก็จะช่วยทำให้กรุงเทพฯ​ พัฒนาสู่เมืองที่ยั่งยืน และผู้คนก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

 

A Place for All – One Bangkok’s Sustainable Public Realm

วัน แบงค็อก: เป็นต้นแบบเมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืนอย่างไร

 

เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าโครงการ ‘วัน แบงค็อก’ นั้นมุ่งหมายจะเป็นแรงหนึ่งที่สำคัญในการร่วมขับเคลื่อนเมืองกรุงเทพฯ​ ไปอีกขั้นอย่างไรนั้น วรวรรตอธิบายให้เห็นภาพว่า ในฐานะที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ และเป็น Champion Project ของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ‘วัน แบงค็อก’ เชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ หลายแห่ง ทั้งที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจ CBD และสวนสาธารณะหลายแห่งที่เป็นปอดของกรุงเทพฯ เอาไว้ด้วยกัน เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญเพื่อการสร้างสรรค์เมืองแห่งอนาคตอันยั่งยืนและน่าทึ่ง โดยพัฒนาขึ้นจาก 3 วิสัยทัศน์หลัก ได้แก่

 

  1. เข้าใจความต้องการของผู้คน (People Centric) เพื่อความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยออกแบบให้มีพื้นที่สาธารณะที่มีคุณค่า เป็นชุมชนเปิดที่ต้อนรับทุกคน 
  • เน้นการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Public Participation) ส่งเสริมให้ผู้คนได้ใช้ชีวิตนอกอาคาร มีกิจกรรมทางสังคมกับผู้อื่น ได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพกายใจที่ดี 
  • นอกจากพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ รวมถึงลานเมืองขนาด 10,000 ตารางเมตร ในบรรยากาศที่เปิดต้อนรับผู้คนแล้ว โครงการฯ ยังให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมโดยมี Public Art หรือศิลปะสาธารณะ ซึ่งนอกจากจะมอบความรื่นรมย์ให้กับทุกคนที่อาศัยและเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่แห่งนี้แล้ว งานศิลปะสาธารณะที่ทุกคนไม่ต้องเสียเงินในการเสพยังมีฟังก์ชันในการเป็นแลนด์มาร์กที่ดึงดูดให้ผู้คนมาเยือน ทำให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กัน ทั้งยังเป็น Tourist Attraction ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมืองได้อีกทาง
  • ทางเดินทั้งโครงการฯ รวมกันยาวกว่า 5 กิโลเมตร ทำให้เป็นชุมชนน่าเดิน เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตภายนอกอาคาร และการเดินทางด้วยวิธีที่ยั่งยืน
  • ทางเข้าโครงการฯ หลายจุดแต่ละจุดห่างกันไม่เกิน 120 เมตร เพื่อเพิ่มความเชื่อมต่อกับทางเท้าภายนอก และการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ
  • โครงการฯ ได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตประจำวันและให้ความสะดวกสบาย

 

Privately Owned Public Spaces

Privately Owned Public Spaces

ทางเดินและพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวขนาดใหญ่

ในโครงการ วัน แบงค็อก

 

  1. ยกระดับความยั่งยืน (Green Sustainability)
  • เกือบครึ่ง หรือ 50 ไร่ จากที่ดิน 104 ไร่ ของโครงการฯ ให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียว โดยมีแนวต้นไม้ให้ร่มเงายาว 2.6 กิโลเมตร
  • สวนกว้าง 40 เมตร ยาวตลอดแนวถนนวิทยุและถนนพระราม 4 เพิ่มการเข้าถึงพื้นที่เปิดโล่ง และเชื่อมต่อพื้นที่เปิดโล่งกับสวนลุมพินี ซึ่งช่วยเพิ่มความหลากหลายของพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในเมือง
  • ทำให้เป็น Walkable District ที่สามารถเดินเชื่อมต่อกับย่านใกล้เคียงอื่นๆ ลดทั้งการใช้พลังงาน มลพิษจากการใช้รถ ชุมชนที่เปิดต้อนรับนี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และทำให้ผู้คนมีสุขภาพดีจากการเดินออกกำลังกาย
  • ตั้งเป้าเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการพัฒนาชุมชนแวดล้อม อย่าง LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum สำหรับการพัฒนาชุมชนแวดล้อม และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL ระดับ Platinum เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร 
  • นอกจากนี้ยังมีการออกแบบภูมิสถาปัตย์อย่างยั่งยืนและชาญฉลาด เพื่อสร้างสรรค์เมืองน่าอยู่ (Sustainability Landscape Design to Create Desirable District) สามารถช่วยแก้ปัญหาของเมือง เช่น ปลูกต้นไม้ Green Roof และสวนสาธารณะ Linear Park เพื่อช่วยชะลอและซึมซับน้ำ และเป็นการช่วยผ่อนเบาปัญหาให้กับ กทม. ในยามที่มีปริมาณน้ำฝนหลาก ทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดี และเป็นเมืองที่ยั่งยืนน่าอยู่ขึ้น

 

  1. ใช้ชีวิตอย่างสมาร์ท (Smart City Living) มอบประสบการณ์การใช้ชีวิตในสมาร์ทซิตี้ที่สมบูรณ์แบบ
  • ผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะในโครงการฯ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไร้สัมผัส และ วัน แบงค็อก โมบายล์ แอปพลิเคชัน 
  • ระบบการจัดการน้ำเย็นของระบบปรับอากาศ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารสาธารณูปโภคแบบรวมศูนย์ และเปิดโอกาสให้ใช้หลังคาสร้างสรรค์พื้นที่เปิดโล่ง แทนการวางงานระบบอาคาร
  • โครงการฯ ใช้ระบบน้ำรีไซเคิลในการดูแลพื้นที่สีเขียวของโครงการฯ ช่วยลดความต้องการใช้น้ำประปา

 

กล่าวโดยสรุปก็คือ ด้วยวิสัยทัศน์หลักทั้งสามดังกล่าว ทำให้ ‘วัน แบงค็อก’ เป็นตัวอย่างต้นแบบที่ดีของโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดยักษ์ใหญ่ที่คำนึงถึงความยั่งยืน โดยการที่เอกชนเปิดพื้นที่สาธารณะที่เป็น Open Space บวกกับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Infrastructure) ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความสวยงามน่าอยู่ ก็จะนำมาซึ่งความยั่งยืนให้เกิดขึ้นถึง 3 ด้าน ได้แก่ 

 

  • ความยั่งยืนด้านสังคม ส่งเสริมทั้งสุขภาพและการเติบโตของสังคม
  • ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการใช้ทรัพยากร 
  • ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ ลดต้นทุนทรัพยากร และเพิ่มขีดความสามารถ ด้วยวิธีการเชิงรุก ส่งเสริมกลยุทธ์ดึงดูดการลงทุน

 

Privately Owned Public Spaces

 “เราในฐานะภาคเอกชน อยากจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐ ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่และสมบูรณ์ยั่งยืนมากขึ้น”

 

นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมเสวนาท่านอื่นๆ อย่าง ปาจริยา มหากาญจนะ ผู้อำนวยการส่วนสวนสาธารณะ 1 สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร มารับฟังและร่วมแชร์นโยบายแผนพัฒนาย่านและสภาพแวดล้อม เพื่อนำกรุงเทพฯ ไปสู่การเป็นมหานครสีเขียว, ยศพล บุญสม กรรมการบริหาร บริษัท ฉมา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์เพื่อสิ่งแวดล้อม, ภาคภูมิ โกเมศโสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน อดีตที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนแนวหน้าของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทุกภาคส่วนต่างเห็นพ้องต้องกันว่าควรสนับสนุนสร้างความเชื่อมโยงในระดับเครือข่ายระหว่างหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่ารัฐ เอกชน หรือชุมชน เพื่อนำไปสู่การค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่ในเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ ‘เพื่อเป็นการปรับอนาคตเมือง เปลี่ยนอนาคตเรา’ และนำกรุงเทพฯ ไปสู่การเป็นมหานครที่ยั่งยืน

 

FYI

‘วัน แบงค็อก’ และโครงการอื่นๆ ที่ผ่านมาของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้

 

Privately Owned Public Spaces

 

  • ‘วัน แบงค็อก’ คือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่และครบวงจรที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพมหานคร โดยมีมูลค่าการลงทุนถึงกว่า 1.2 แสนล้านบาท บนเนื้อที่รวม 104 ไร่ หรือ 166,400 ตารางเมตร บนถนนวิทยุและถนนพระราม 4 เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานแบบพรีเมียมเกรดเอ 5 อาคาร, พื้นที่รีเทล 4 โซน, โรงแรมระดับลักชัวรี 5 แห่ง และอาคารที่พักอาศัยระดับลักชัวรีอีก 3 อาคาร ซึ่งดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่คำนึงถึงผู้คน ความยั่งยืน และการใช้ชีวิตแบบเมืองอัจฉริยะ
  • สำหรับโรงแรมทั้ง 5 แห่งภายในโครงการฯ วัน แบงค็อก ได้จับมือกับเครือโรงแรมระดับนานาชาติชั้นแนวหน้า เพื่อรังสรรค์ที่พัก บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก และประสบการณ์ที่สะดวกสบายที่สุดให้กับนักท่องเที่ยว
  • ‘วัน แบงค็อก’ เป็นโครงการแห่งความภาคภูมิใจในอนาคตของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ที่คำนึงถึงความยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีโครงการที่สำเร็จก่อนหน้านี้ไปแล้วได้แก่ ‘เดอะ ปาร์ค’ โครงการไลฟ์สไตล์มิกซ์ยูสระดับพรีเมียม ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED Gold Version 4 อันเป็นมาตรฐานล่าสุดของอาคารสีเขียว และมุ่งสู่การรับรองมาตรฐาน WELL Certification มาตรฐานการออกแบบระดับโลกเพื่อยกระดับสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้อาคาร และยังได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ และเอเชียมากมาย, ‘ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์’ อาคารที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและแนวต้นไม้ เพื่อปรับทัศนียภาพของถนนในเมือง, ‘FYI Center’ มีจุดเด่นในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่เปิดโล่ง ลดอุณหภูมิ และศิลปะสาธารณะ ‘สามย่านมิตรทาวน์’ เพิ่มพื้นที่สาธารณะและทางเท้า และแนวต้นไม้ ทุกโครงการล้วนมีจุดเด่นที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนและความยั่งยืนของเมืองทั้งนั้น 
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising