วันนี้ (22 สิงหาคม) ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายในประเด็นขั้นตอนและระยะเวลาพิจารณาคำร้องปมวาระ 8 ปีนายกรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ เพื่อตอบข้อสงสัยของประชาชนว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อใดดังนี้
- ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย
- งานธุรการศาล —> ส่งคำร้องให้คณะตุลาการพิจารณา (ภายใน 2 วัน) —> เพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องหรือไม่
- ระยะเวลาในการมีคำสั่งว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่
- กรณีสั่งรับคำร้อง —> มีระยะเวลา 5 วัน ในการตรวจและมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
- กรณีสั่งไม่รับคำร้อง —> ให้คณะตุลาการเสนอศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน พิจารณาภายใน 5 วัน
- คดีสำคัญที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (วาระ 8 ปี) —> ศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน อาจจะเป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ แทนที่จะเป็นคณะตุลาการคณะเล็ก
- ระยะเวลาในการพิจารณาคดีหลังจากมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
- รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาคดีไว้
- ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด (อาจมากหรือน้อยกว่า)
- การพิจารณาคดีใช้ระบบไต่สวนทำให้ศาลมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานได้อย่างกว้างขวาง
- หากศาลเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย หรือมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ ศาลมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีโดยไม่ทำการไต่สวนก็ได้
สรุป: หากศาลเห็นว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายหรือมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ ศาลมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในกระบวนพิจารณาคดีหลายอย่างถูกตัดออกไป และส่งผลให้ระยะเวลาในการพิจารณาคดีสั้นและรวดเร็ว