พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ณ เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2560
โดยเมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) เวลา 16.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง พล.อ. ประยุทธ์ พร้อมคณะได้พบและหารือกับ สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
สาระสำคัญคือการลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน จำนวน 4 ฉบับ
ฉบับที่ 1 – สัญญาการออกแบบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสารธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะที่ 1
ฉบับที่ 2 – สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสารธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะที่ 1
ฉบับที่ 3 – ร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน (พ.ศ. 2560-2564)
ฉบับที่ 4 – ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
โดย พล.อ. ประยุทธ์ ย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยในการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนให้สำเร็จลุล่วง เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์
นอกจากนี้ไทยยังสนับสนุนยุทธศาสตร์ Belt and Road (BRI) และ Made in China 2025 เพราะสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งไทยพร้อมกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน ตามระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน และเป็นประตูสู่ตลาดทั้งในกลุ่มประเทศ CLMV และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียนหรือ RCEP และประเทศเอเชียใต้
ขณะที่กำหนดการของ พล.อ. ประยุทธ์ ในวันนี้ (5 ก.ย.) คือการเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา
โดยพล.อ. ประยุทธ์ กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุม พร้อมขอบคุณจีนที่เชิญไทยเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังเสนอมุมมองของไทย 4 ประเด็นสำคัญในการสร้าง ‘ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา’
ประเด็นที่ 1 การเข้มแข็งจากภายในประเทศและเติบโตไปพร้อมกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเด็นที่ 2 การเชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียนซึ่งไทยมีความพร้อมทั้งทำเลที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และพร้อมผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงในภูมิภาคทุกมิติ
ประเด็นที่ 3 การเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
และ ประเด็นที่ 4 ไทยเห็นว่าทุกประเทศมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา จึงต้องคำนึงถึงผู้รับเป็นหลัก และมีช่องทางหลากหลาย
โดยการประชุมครั้งนี้จีนได้เชิญประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน จำนวน 5 ประเทศ ในฐานะแขกของประเทศเจ้าภาพ ได้แก่
(1) ไทย ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทสาคัญและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน
(2) สหรัฐฯ เม็กซิโก ในฐานะประเทศสมาชิกกลุ่ม 20 และตัวแทนจากภูมิภาคลาตินอเมริกา
(3) สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ในฐานะประเทศจากภูมิภาคตะวันออกกลาง
(4) สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านของจีน
(5) สาธารณรัฐกินี ในฐานะประธานสหภาพแอฟริกา (African Union หรือ AU)
โดยการประชุมครั้งนี้จีนได้เชิญประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน จำนวน 5 ประเทศ ในฐานะแขกของประเทศเจ้าภาพ ได้แก่ (1) ไทย ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทสาคัญและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน (2) สหรัฐเม็กซิโก ในฐานะประเทศสมาชิกกลุ่ม 20 และตัวแทนจากภูมิภาคลาตินอเมริกา (3) สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ในฐานะประเทศจากภูมิภาคตะวันออกกลาง (4) สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านของจีน และ (5) สาธารณรัฐกินี ในฐานะประธานสหภาพแอฟริกา (African Union หรือ AU)
โดยหัวข้อหลักของการประชุม EMDCD คือ การเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมเพื่อการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งประเด็นหลักที่จีนให้ความสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมการปฏิบัติการเพื่อการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะความร่วมมือใต้–ใต้
ในโอกาสนี้ ไทยจะเน้นย้ำถึงบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทสำคัญที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลก ต่อยอดจากการเป็นประธานกลุ่ม 77 และเป็นแขกรับเชิญพิเศษของจีนเมื่อจีนเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำกลุ่ม 20 ในปี 2559 รวมถึงบทบาทนำในการเป็นประเทศผู้ให้ภายใต้กรอบความร่วมมือใต้-ใต้
กำหนดการเข้าร่วมการประชุม มีดังนี้
วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2560
08.00 น. – นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร 2 (กองบิน 6) ไปยังเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
12.20 น. – เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมินเกาฉี (เวลาที่เมืองเซี่ยเหมินเร็วกว่าเวลาที่กรุงเทพฯ 1 ชั่วโมง)
– การบรรยายสรุปการเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา
16.15 น. – นายกรัฐมนตรีพบหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
16.40 น. – นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสักขีพยานการ ลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560
10.15 น. – นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา
12.30 น. – นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เป็นเจ้าภาพเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ
15.30 น. – นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมิน เกาฉี กลับประเทศไทย
17.50 น. – เดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 (กองบิน 6) กรุงเทพฯ
Cover Photo: TYRONE SIU/POOL/AFP
อ้างอิง:
- thaigov.go.th
- สำนักข่าวไทย
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- กลุ่มประเทศ BRICS คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economies) ที่ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในเวทีโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบไปด้วย บราซิล (B) รัสเซีย (R) อินเดีย (I) จีน (C) และแอฟริกาใต้ (S)