×

จารึกไว้ในแผ่นดิน สิ้น ประสิทธิ์ ชนิตราภิรักษ์ ศิลปินผู้แกะแม่พิมพ์ธนบัตรในหลวง ร.9

29.03.2018
  • LOADING...

“เวลาที่แกะแบบรัชกาลที่ 9 ผมจะคิดว่าเราต้องพยายามทาให้ดูแล้วเหมือนมีชีวิต จะถ่ายทอดอย่างไรให้พระเนตรดูเหมือนมีน้ำหล่อเลี้ยง รอยยิ้มดูเหมือนทรงแย้มพระสรวลจริง ตอนเดินเส้นแต่ละทีต้องจินตนาการไปด้วยว่าจะทำอย่างไรให้ออกมาดีท่ีสุด ขณะเดียวกันก็ต้องมีสติและสมาธิเพื่อไม่ให้พลาด” ประสิทธ์ิ ชนิตราภิรักษ์ อดีตพนักงานโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวไว้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิต

 

กว่า 36 ปีที่ประสิทธ์ิทำงานอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เขาคือศิลปินและผู้ชำนาญการแกะโลหะ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 บนธนบัตรที่ประชาชนคนไทยใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้

 

แต่กว่าท่ีเขาจะเริ่มมีผลงานปรากฏบนธนบัตรท่ีออกใช้จริง เขาต้องผ่านการฝึกงาน (ฝึกมือ) นานถึง 15 ปี ผลงานแกะแบบธนบัตรชิ้นแรกของเขา ได้แก่ ภาพเขื่อนภูมิพล ซึ่งเป็นภาพประกอบบนธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบ 14

 

กระทั่งมาถึงผลงานช้ินสุดท้ายก่อนลาออก นั่นคือการแกะแบบธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559

 

 

ไม่เพียงเป็นผลงานท่ีภาคภูมิใจสูงสุด แต่ประสิทธ์ิยังยกให้เป็นธนบัตรที่มีความสำคัญท่ีสุดในชีวิตของเขา เพราะเป็นธนบัตรท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติรัชกาลท่ี 9 ชุดสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ และเป็น 1 ใน 2 ชุดสุดท้ายที่แกะแบบในช่วงพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่

 

ล่าสุดมีข่าวที่ต้องโศกเศร้าครั้งใหญ่ เมื่อมีรายงานว่าเมื่อวันศุกร์ที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา เวลา 19.30 น. ประสิทธิ์ ชนิตราภิรักษ์ ได้จากโลกนี้ไปแล้วอย่างสงบในวัย 61 ปี โดยเขาใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขกับการทำงานเป็นศิลปินอิสระ

 

ผลงานอันทรงคุณค่าของเขาสมควรได้รับการจารึกไว้ในแผ่นดิน พร้อมทั้งชื่อของ ประสิทธิ์ ชนิตราภิรักษ์ จะถูกจดจำไว้ในฐานะผู้ทำให้พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เหมือนมีชีวิต ผู้ทำให้ประโยคที่ว่า “ทุกครั้งท่ีหยิบธนบัตรข้ึนมาจะเหมือนว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมองเราอยู่เสมอ และทรงอยู่กับเราทุกที่” เป็นจริงตลอดกาล

 

THE STANDARD ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของคุณประสิทธิ์ มา ณ ที่นี้ด้วย

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X