×

คณะกรรมการ PPP ปรับแผนร่วมทุนฯ 2563-2570 เผยปีนี้เร่ง 4 โครงการ มูลค่ารวม 1.6 แสนล้าน

23.02.2021
  • LOADING...
คณะกรรมการ PPP ปรับแผนร่วมทุนฯ 2563-2570 เผยปีนี้เร่ง 4 โครงการ มูลค่ารวม 1.6 แสนล้าน

ปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564 วันนี้ (23 กุมภาพันธ์) มีข้อสรุปว่า ทางคณะกรรมการ PPP เห็นชอบการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563-2570 (แผนการจัดทำโครงการ PPP) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) 

 

“การปรับปรุงแผนนี้ฯ มีการปรับลดโครงการเหลือ 77 โครงการ จากเดิมอยู่ที่ 92 โครงการ โดยบางส่วนที่ปรับออกไป เพราะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเช่าที่ราชพัสดุ และการจัดซื้อจัดจ้าง จึงต้องนำออกจากแผน”

 

ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการ PPP โดยจัดแบ่ง High Priority PPP Project หรือโครงการร่วมทุนที่จำเป็นเร่งด่วนเหลือ 20 โครงการ มูลค่ารวม 503,153 ล้านบาท จากโครงการร่วมทุนทั้งหมดที่มีราว 77 โครงการ 

 

ขณะที่จากโครงการเร่งด่วน 20 โครงการนี้ ภายในปี 2564 จะเร่งรัดทำรายงานโครงการให้เสร็จสิ้น 4 โครงการ เพื่อนำเสนอเข้าคณะกรรมการ PPP มูลค่าราว 163,052 ล้านบาท ได้แก่ 

 

  1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ของ รฟม. มูลค่าราว 124,791 ล้านบาท

 

  1. โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา ของกรมทางหลวง มูลค่าราว 1,606 ล้านบาท 

 

  1. โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง มูลค่าราว 1,454 ล้านบาท 

 

  1. โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ของ รฟม. มูลค่าราว 35,201 ล้านบาท

 

“โครงการเร่งด่วน 4 โครงการจะทำรายงานและนำเข้าคณะกรรมการ PPP ปีนี้ และจะส่งกลับสู่หน่วยงานต้นสังกัด แล้วนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามกฎหมายฯ ปี 2562” 

 

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ PPP ยังเห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาความสำคัญของโครงการร่วมลงทุน 

 

ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยโครงการต่างๆ ใต้ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 มีกรอบแนวทางในการพิจารณาที่มีความชัดเจน และเดินหน้าตามแผนงานตามกำหนดการ 

 

ขณะที่กรณีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ผ่านความเห็นชอบจาก PPP และ ครม. แล้ว จึงเป็นส่วนของ รฟม. ที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดต้องดำเนินการคัดเลือก และหาหลักเกณฑ์เพื่อเดินหน้าโครงการต่อไป

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising