เริ่มต้นหมวดแรกของ POP Powerful Voices in Crisis กับรางวัลพิเศษที่เราอยากมอบเป็นกำลังใจให้กับบุคคลและองค์กรที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมอย่างไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย
เส้นด้าย: Zendai กลุ่มอาสาสมัครจากภาคประชาชน ที่เริ่มต้นจากภารกิจอาสาพาคนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีรถส่วนตัวไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาล ประสานงานหาเตียง หาที่รักษาตัวให้กับผู้ป่วยที่ติดต่อโรงพยาบาลไม่ได้ ก่อนจะค่อยๆ ขยายขอบเขตการทำงานไปจนแทบจะทุกองคาพยพของการช่วยเหลือตนเองของภาคประชาชน ที่แม้ทุกคนจะเหนื่อย แต่ก็เป็นการเหนื่อยที่แลกมาด้วยเสียงชื่นชมยอมรับอย่างล้นหลาม
หมอแล็บแพนด้า-ภาคภูมิ เดชหัสดิน คุณหมอสายฮา ขอบตาดำ ที่มักจะมีเรื่องขำขันมาสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับผู้คน ไปจนถึงช่วยให้ความรู้ แก้ไขข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการรักษา แต่พอสถานการณ์โควิดเริ่มระบาด หมอแล็บเริ่มต้นแคมเปญเข้าไปตรวจโควิดเชิงรุกในชุมชนพื้นที่เสี่ยงหรือคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลหรือจุดตรวจ ก่อนจะขยายการช่วยเหลือในมิติที่กว้างขึ้นจนใต้ตาคล้ำสมกับชื่อ ‘หมอแล็บแพนด้า’ โดยไม่ต้องใช้เมกอัพทาใต้ตาอีกต่อไปแล้ว!
ปิดท้ายด้วย เป็ดไทยสู้ภัย: Pedthaisupai คือการรวมตัวของอาสาสมัครจากกลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพที่หยุดพักจากงานประจำ ใช้ความรู้เรื่องเทคโนโยลีมาสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการต่อสู้การวิกฤตโควิดมาตลอด ตั้งแต่การระบาดรอบแรกจนถึงปัจจุบัน ที่กลุ่มเป็ดไทยสู้ภัยยังคงทำงานหนัก มีการร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
THE STANDARD POP ขอบคุณอีกครั้ง แด่ทุก ‘พลัง’ จากทุกชีวิตที่ลงมือทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพื่อประชาชน
Special (3)
- เส้นด้าย: Zendai / กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด
- หมอแล็บแพนด้า: Morlabpanda / เพจเฟซบุ๊ก
- เป็ดไทยสู้ภัย: Pedthaisupai / กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด
Special: เส้นด้าย
“บริการรถรับ-ส่งเคสผู้ป่วยติดโควิดเพื่อไปรักษา หรือพาผู้เสี่ยงสูงไปตรวจ”
ถ้ากดเข้าไปดูในหัวข้อ About (เกี่ยวกับ) ในเฟซบุ๊กกลุ่มเส้นด้าย ไม่มีสโลแกน, ไม่มีการโปรโมต, ไม่มีประวัติผลงานยาวเหยียด, ไม่มีข้อมูลเชิดชูเกียรติคุณของตัวเอง มีเพียงข้อความสั้นๆ ที่บอกว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ พร้อมกับอีเมล เบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อ และออกไปทำงาน (ที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวเอง) แบบไม่มีวันหยุดพัก
การสูญเสีย อัพ-กุลทรัพย์ วัฒนผล ผู้เป็นที่รักและบุคลากรคนสำคัญของวงการ E-Sport ที่ติดเชื้อโควิดแต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่กลุ่มเพื่อนในวงการต่างๆ ทั้งแพทย์ นักธุรกิจ ศิลปิน ข้าราชการ ฯลฯ กว่า 20 คน รวมตัวขึ้นมาเป็นอาสาสมัคร หวังว่าจะไม่มีใครต้องเสียชีวิตอย่างน่าเศร้าอีกต่อไป
กลุ่มเส้นด้ายเริ่มต้นจากอาสาพาคนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีรถส่วนตัวไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาล ประสานงานหาเตียง หาที่รักษาตัวให้กับผู้ป่วยที่ติดต่อโรงพยาบาลไม่ได้ ค่อยๆ ขยายขอบเขตการทำงานไปถึงช่วยดูแลสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของต้องไปรักษาตัว ช่วยประสานงานทำคดีให้กับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างไม่เป็นธรรม เป็นกระบอกเสียงให้กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งงานล่าสุดที่เปลี่ยนจากการพาคนไปตรวจเชื้อในตอนแรกมาเป็นลงพื้นที่ไปตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในชุมชนเล็กๆ ที่เดือดร้อนและไม่ได้รับความสนใจ ไปจนถึงการจัดอบรมให้ความรู้การการป้องกันตัวระหว่างการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดในบ้านและชุมชน ซึ่งทั้งหมดเป็น ‘หน้าที่’ ที่ควรมีรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอยจัดการอยู่แล้ว
ถึงแม้จะเป็นกลุ่มอาสาสมัครจากภาคประชาชน แต่ตลอดระยะเวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง กลุ่มเส้นด้ายสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยไปได้มากกว่า 10,000 เคส และยังพยายามพัฒนารูปแบบการทำงานของตัวเองให้มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนให้ได้มากที่สุด
หลายคนต้องละทิ้งหน้าที่การงานเพื่อมาทำงานตรงนี้อย่างเต็มตัว พวกเขาตั้งใจทำงานอย่างหนัก หนักจนหลายคนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่าทำไมพวกเขาต้องมาทำงานหนักถึงขนาดนี้
แน่นอนว่าการมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือเป็นเรื่องน่ายินดีและชื่นชม แต่คงจะดีกว่านี้อีกมาก ถ้ากลุ่มเส้นด้ายและอาสาสมัครจากภาคประชาชาอีกหลายกลุ่มจะใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ
เพราะรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่นี้โดยตรงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้
Special: Zendai
“Pick up service to send COVID-19 patient to the hospital or high-risk person to test”
Clicking at About button on the Facebook page ‘Zendai’, there is no slogan, no ads promotion, no long list of histories and rewards. Only a short message was written there telling what they were doing, attached with email and contact number. Then, they set off to do their (off-duty) job without any day off.
Losing Up-Kunlasab Wattanapol, the beloved man and significant person of E-sports who got infected and didn’t receive treatment in time, was the starting point for more than 20 friends in various fields such as medical, business, art, public officers, etc. to create a volunteer group, in hopes that no one would end up tragically like this anymore.
Zendai started its job by volunteering to take the risk-level people who have no transportation to get tested at the hospital. They cooperated to find available beds and treatment for patients who were not able to contact the hospital. Then, it expanded to the point where they looked after the infected patients’ pets while they were in the hospital, helped to operate the case when patients were treated unfairly, and volumed up the voice of people who couldn’t access the effective treatment.
At first, they took the patients to take a test at the hospital, but now they worked on-site testing people in the ignored communities by using the Antigen Test Kit (ATK) In their latest work. Moreover, they arranged a training teaching how to protect themselves while helping other COVID-19 patients in their families and communities. More importantly, these works they were doing were the government’s job which was supposed to be done by their official workers.
Even though this is only a volunteering group of people, Zendai which is three and a half months old has helped more than 10,000 cases. Furthermore, they are trying their best to develop the working process to have more efficiency and be able to help as many people as possible.
Some of the members had to leave their own jobs to work full-time here, but they are working so hard that many people questioned why they need to work this hard.
Volunteering is definitely full of praise and applause, but it is numerously better if Zendai group and the other volunteers built by people can live their lives more freely
When the government and its direct responsive departments start to work more efficiently.
Special: หมอแล็บแพนด้า-ภาคภูมิ เดชหัสดิน
ในสถานการณ์ปกติ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน คือคุณหมอสายฮา ขอบตาดำ ที่มักจะมีเรื่องขำขันมาสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับผู้คน ไปจนถึงช่วยให้ความรู้ แก้ไขข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการรักษา (ที่มักจะถูกส่งต่อกันมาผ่านไลน์กลุ่มครอบครัว) อยู่เสมอ
พอสถานการณ์โควิดเริ่มระบาดตั้งแต่ช่วง 1 ปีก่อน หมอแล็บเริ่มต้นแคมเปญเข้าไปตรวจโควิดเชิงรุกในชุมชนพื้นที่เสี่ยงหรือคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลหรือจุดตรวจ
ปัจจุบันหมอแล็บแพนด้ายังคงทำหน้าที่นั้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะเข้าขั้นวิกฤตและต้องใช้เงินส่วนตัวสำรองจ่ายไปจำนวนหลายล้านบาทเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินต่อได้
นอกจากนี้ หมอแล็บแพนด้ายังใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามมากกว่า 3.2 ล้านคนในเฟซบุ๊ก เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร, ทำงานร่วมกับบรรดาเพจต่างๆ และอินฟลูเอนเซอร์อีกหลายคน ช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาเตียงรักษาตัวให้กับคนไข้อย่างเร็วที่สุด
ไปพร้อมๆ กับการเป็นพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการแพทย์, การรักษาตัว, การดูแลตัวเอง การใช้ชุดตรวจโควิดอย่างถูกต้อง, การปรับชีวิตประจำวันเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และคนทำงานที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด
ที่สำคัญ ทุกการขับเคลื่อนซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิต ความปลอดภัย การร่วมมือจากกลุ่มและบุคคลจำนวนมากมาย หมอแล็บแพนด้ายังคงทำไปด้วยความสนุก มีสาระ ย่อยง่าย และน่าเชื่อถือเหมือนที่เขาเคยทำมาโดยตลอด
ยกเว้นอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนไป คือคราวนี้ดูเหมือนเขาจะทำงานหนัก อดนอนจนใต้ตาคล้ำสมกับชื่อ ‘หมอแล็บแพนด้า’ โดยไม่ต้องใช้เมกอัพทาใต้ตาอีกต่อไปแล้ว!
Special: Morlabpanda – Parkpoom Dejhutsadin
Normally, Parkpoom Dejhutsadin or Morlabpanda is a humorous and sleepless medical technologist who always tells funny stories or contentful knowledge about misunderstanding of treatment (which passed along via family’s group chat).
However, after COVID-19 pandemic started to spread last year, Morlab started a campaign of proactive screening in risk areas and tested people who couldn’t go to the hospital or testing points.
Until this moment, Morlab has been working this job, even though he has spent millions baht of his own fund as an advance money in order to continue his project during the crisis of the pandemic.
Moreover, he turned his social media platform with more than 3.2 million followers on Facebook to be a space to share important infos and news, collaborate with other pages and influencers to help with related departments, and seek for available beds in the hospital for infected patients as soon as possible.
Morlab has been doing his project along with being a space to share medical knowledge, treatment, health care, COVID-19 test kit guideline, and lifestyle changes in order to decrease medical officers’ work.
Significantly, every content concerning well-being, safety, and people’s cooperation, Morlab presented them with fun, trustable, and easy-understanding knowledge, just like what he had always been doing.
Except for one thing, which is the fact that he has been working hard and has been sleepless, living the name of ‘Morlabpanda’ (Panda Medical Technologist) with no need to put on makeup under his eyes anymore!
Special: เป็ดไทยสู้ภัย
หากบุคลากรทางแพทย์ หน่วยงาน และอาสาสมัคร คือกลุ่มคนลงพื้นที่ต่อสู้กับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด กลุ่มเป็ดไทยสู้ภัยคือหนึ่งในหน่วยสนับสนุน ‘ด่านหลัง’ ที่ทำงานอย่างหนัก เพื่อแบ่งเบาภาระของคน ‘ด่านหน้า’ อย่างเต็มกำลัง
เป็ดไทยสู้ภัยคือการรวมตัวของอาสาสมัครจากกลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพที่หยุดพักจากงานประจำ ใช้ความรู้เรื่องเทคโนโยลีมาสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการต่อสู้การวิกฤตโควิดมาตั้งแต่การระบาดรอบแรก และลดภาระของบุคลากรด่านหน้า รวมทั้งลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น เช่น
เป็ดข่าวสาร ที่ช่วยคัดกรองข่าวสารที่ถูกต้อง และจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์, เป็ดคัดกรอง ที่ช่วยแยกผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการดูแลรักษา, เป็ดติดตาม ช่วยติดตามการกักตัว 14 วันกลุ่มเสี่ยง และคนที่กลับมาจากต่างประเทศ, เป็ดที่พัก หาที่พักที่ปลอดภัยสำหรับคนกลุ่มเสี่ยง และเป็ดส่งของ ช่วยส่งยาและของใช้ที่จำเป็นให้กับประชาชน
กลุ่มเป็ดไทยสู้ภัยยังคงทำงานหนัก มีการร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การช่วยจัดการระบบการจองวัคซีน ยกระดับการคัดกรองผู้ป่วย และจัดระบบเดลิเวอรีเพื่อส่งยายาฟาวิพิราเวียร์ ไปให้ผู้ป่วยสีเขียวที่สามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการป่วยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงที่เรื่องเตียงรักษาในโรงพยาบาลเข้าขั้นวิกฤต
กลุ่มเป็ดไทยสู้ภัยยังนำเทคโนโลยีไปช่วยการบริหารจัดการในโรงพยาบาลสนามให้ใช้น้อยคนน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ฯลฯ รวมทั้งการทำงานอีกหลายรูปแบบที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ
ถ้ามองลงไปให้ลึกๆ ในทุกๆ การต่อสู้กับวิกฤตโควิดในครั้งนี้ เราจะเห็น ‘เป็ด’ น้อยใจสู้กลุ่มนี้ยืนอยู่ด้านหลัง ทำงานหนักไม่แพ้กัน เพื่อสนับสนุนกลุ่มคนด่านหน้าให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Special: Pedthaisupai
If medical workers, organizations, and volunteers are the frontline fighting against COVID-19 crisis, Pedthaisupai is one of the ‘backlines’ who also works hard to lessen frontlines’ hardship.
Pedthaisupai was created by a volunteer group of technology and startup developers who took a break from their jobs. They used their knowledge to create an innovation that supports COVID-19 services, reduces frontlines’ burden, and reduces unnecessary work since the first spread of the pandemic.
‘Info Duck’ digests the news and provides useful information. ‘Screening Duck’ divides patients and risk people to receive proper treatment. ‘Monitor Duck’ monitors 14 days quarantine of risk people and people who went to foreign countries. ‘Shelter Duck’ finds a safe shelter for risk people. ‘Deliver Duck’ delivers medicines and necessary stuff to people.
Pedthaisupai has collaborated with both public and private departments to develop new innovations to help in many possible ways, for example, the vaccine booking system.
Moreover, they developed the screening system and the medicine delivery service so that green level patients could get ‘Favipiravir’ to maintain their health condition and prevent them from turning into yellow and red levels, who are suffering from insufficient bed availability.
Pedthaisupai adapted their innovation to manage the field hospital’s system to use less workers and gain more efficiency. Eventually, they helped many other technology related systems to work better during this time.
Taking a closer look at every fight we are going through during this crisis, we will see these little but fearless ‘ducks’ standing at the backline, working their hearts out to get the smoothest and most efficient result.