×

ธนาคารกลางอาเซียนแห่ใช้นโยบายการเงินตึงตัว-ขึ้นดอกเบี้ย สกัดเงินอ่อนค่า หลังดอลลาร์แข็งอีกระลอก

28.09.2023
  • LOADING...
ธงสัญลักษณ์อาเซียน

บรรดาธนาคารกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศกำลังใช้เครื่องมืออื่นๆ นอกเหนือจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อป้องกันการอ่อนค่าของสกุลเงินตนเอง หลังจากดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าอีกรอบ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง และคงไว้นานขึ้น (Higher for Longer) 

 

โดยธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยการดึงสภาพคล่องเข้าสู่ระบบผ่านการขายตั๋วเงินของกระทรวงคลัง (Bills) ขณะที่มาเลเซียก็ดันอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม

 

ขณะที่ Abhay Gupta นักกลยุทธ์จาก Bank of America ในสิงคโปร์ กล่าวว่า “เราคาดว่าธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงผสมผสานระหว่างการดูดซับสภาพคล่องกับการแทรกแซงค่าเงิน เพื่อป้องกันการอ่อนค่าของสกุลเงินตนเอง หรือการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวเทียมมากขึ้น (Pseudo Tightening)”

 

ปัจจุบันส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายระหว่างธนาคารสหรัฐฯ (Fed) กับธนาคารกลางหลายแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธนาคารกลางอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ได้หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปชั่วคราวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

 

แม้จะมีช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยที่กว้าง แต่ธนาคารอินโดนีเซียก็ยังคงไม่ส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่กลับเริ่มขายพันธบัตรอายุ 6 เดือน, 9 เดือน และ 12 เดือนแทน เพื่อดึงดูดการไหลเข้าของต่างประเทศ และลดการพึ่งพาการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากกังวลว่าหากใช้นโยบายเข้มงวดมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

 

ไม่ใช่แค่อินโดนีเซียเท่านั้น ธนาคารกลางมาเลเซียและฟิลิปปินส์ยังใช้การขายตั๋วเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องและดันอัตราดอกเบี้ย (รวมถึงยีลด์) ในระบบให้สูงขึ้นเช่นกัน เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติ

 

โดยในวันนี้ (28 กันยายน) เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ราว 36.63-36.80% อ่อนค่าราว 6.17% (YTD) ขณะที่เปโซฟิลิปปินส์อยู่ที่ราว 56.97 เปโซต่อดอลลาร์ อ่อนค่าราว 2.21% (YTD) ส่วนรูเปียห์อินโดนีเซียอยู่ที่ราว 15,520 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยประมาณ 0.34% (YTD)

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันอังคาร ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์กล่าวว่า หากความเสี่ยงจากราคาพลังงานและการขนส่งเกิดขึ้นจริง ธนาคารกลางอาจขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 16 พฤศจิกายน หรือก่อนหน้านั้น ขณะที่ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยก็เพิ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 2.50% สูงสุดในรอบ 10 ปี เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X