×

PM2.5 ฟุ้งกระจายเกินค่ามาตรฐาน 29 พื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รัฐสภาถกกฎหมายอากาศสะอาดต่อ ก่อนลงมติในวาระแรก

โดย THE STANDARD TEAM
17.01.2024
  • LOADING...
ฝุ่น PM2.5

วันนี้ (17 มกราคม) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร พบว่า ตรวจวัดได้ 23.9-49.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 29 พื้นที่ 

 

  1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81: มีค่าเท่ากับ 49.4 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน: มีค่าเท่ากับ 49.3 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด: มีค่าเท่ากับ 48.4 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์: มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2: มีค่าเท่ากับ 45.6 มคก./ลบ.ม.
  6. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา: มีค่าเท่ากับ 45.5 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา: มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย: มีค่าเท่ากับ 44.5 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบัง ข้างป้อมตำรวจ: มีค่าเท่ากับ 44.3 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่: มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหสวรรย์: มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: มีค่าเท่ากับ 43.7 มคก./ลบ.ม.
  13. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย: มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.
  14. เขตปทุมวัน หน้าห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์: มีค่าเท่ากับ 42.8 มคก./ลบ.ม.
  15. เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา: มีค่าเท่ากับ 41.4 มคก./ลบ.ม.
  16. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี: มีค่าเท่ากับ 41.4 มคก./ลบ.ม.
  17. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน: มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
  18. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง: มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.
  19. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95: มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
  20. เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา: มีค่าเท่ากับ 40.2 มคก./ลบ.ม.
  21. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่: มีค่าเท่ากับ 40.0 มคก./ลบ.ม.
  22. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง: มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.
  23. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
  24. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ: มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.
  25. สวน 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง: มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.
  26. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน: มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.
  27. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี: มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.
  28. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช: มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.
  29. เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง: มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.

 

ทั้งนี้ เมื่อคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ใช้หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

 

ขณะที่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ใช้หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

 

นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 ในช่วงวันที่ 17-25 มกราคมนี้ว่า จะมีการระบายอากาศอ่อนถึงวันที่ 19 มกราคม เกิดภาวะอากาศค่อนข้างปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้เกิดภาวะสะสมของฝุ่นละอองค่อนข้างทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการระบายอากาศเป็นไปได้อย่างจำกัด 

 

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน 

 

รัฐสภาถกร่างกฎหมายอากาศสะอาดต่อ

 

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ เวลา 09.00 น. สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาวาระเร่งด่วนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฝุ่น มลพิษ และอากาศ ในวาระหนึ่งหรือขั้นรับหลักการ จำนวน 7 ฉบับ ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว 

 

ร่างกฎหมายอากาศสะอาด 7 ฉบับ มีของใครบ้าง 

 

  1. ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. ที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เป็นผู้จัดทำ และนำเสนอโดย ครม.
  2. ร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. …. โดยมี คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 22,251 คน เป็นผู้เสนอ
  3. ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อประชาชน พ.ศ. …. โดย อนุทิน ชาญวีรกูล และคณะ เป็นผู้เสนอ
  4. ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน พ.ศ. …. โดย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และคณะ เป็นผู้เสนอ
  5. ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. โดย ตรีนุช เทียนทอง และคณะ เป็นผู้เสนอ
  6. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ พ.ศ. …. โดย ร่มธรรม ขำนุรักษ์ และคณะ เป็นผู้เสนอ
  7. ร่าง พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน พ.ศ. …. โดย ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ และคณะ เป็นผู้เสนอ

 

ทั้งนี้ การอภิปรายในสัปดาห์ที่แล้วมี สส. ร่วมกันอภิปรายไปแล้ว 24 คน จากจำนวนที่ลงชื่อไว้ 56 คน โดยจะมีการอภิปรายกันต่อและลงมติวาระแรกในวันนี้ด้วย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X