มาลองทายกันดูเล่นๆ ไหมว่าโดยเฉลี่ยแล้วใน 1 วันเราจ้องหน้าจอโทรศัพท์กับหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละกี่ชั่วโมง
เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา มีการสำรวจพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วใน 1 วันคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านหน้าจอโทรศัพท์และหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาถึง 10.05 ชั่วโมง! ทั้งนี้คนวัยทำงานถือเป็นช่วงอายุที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่วัยเกษียณ
สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะพฤติกรรมของคนวัยทำงานในยุคนี้เป็นแบบ Multi-screen ซึ่งหมายถึงผู้คนในช่วงวัยนี้จะใช้งาน Device อย่างน้อยๆ 2 ชิ้นขึ้นไป เช่น โทรศัพท์มือถือและแล็ปท็อป ทำให้ใน 1 วันพวกเขาจะสลับสับเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆ ระหว่างหน้าจอของอุปกรณ์นี้ บ้างก็อาจใช้งานอุปกรณ์ทั้งสองร่วมกันเพื่อบรรลุกิจกรรมหนึ่งๆ เช่น เราอาจตรวจสอบตั๋วเครื่องบินผ่านโทรศัพท์มือถือ ก่อนที่จะมาจ่ายเงินซื้อตั๋วบนแล็ปท็อป หรือการแชตกับเพื่อนในโทรศัพท์ช่วงพักเที่ยง ก่อนจะเปลี่ยนมาคุยกันต่อผ่านคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศระหว่างเวลางาน
พฤติกรรมในลักษณะนี้ได้ค่อยๆ กลายเป็นธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในยุคนี้ของคนวัยทำงานไปแล้ว และแม้ว่าถ้ามองเผินๆ จะดูสะดวก คล่องแคล่ว และตอบโจทย์วิถีชีวิตที่ไม่เคยจะหยุดนิ่งของยุคสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันพฤติกรรมเช่นนี้ก็กลับยิ่งจะส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของคนวัยทำงานในระดับที่น่าสนใจ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น อาการตาพร่ามัว อาการที่ดวงตาเริ่มจะมองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน หรือเห็นภาพวัตถุต่างๆ เป็นภาพเบลอ ซึ่งอาการนี้เริ่มพบมากขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีการใช้สายตาอย่างหนักระหว่างวัน
สมองล้าคืออีกอาการหนึ่งซึ่งเป็นผลกระทบจากพฤติกรรม Multi-screen ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดจากอาการเครียดสะสม แต่ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ บนโลกดิจิทัลขับเคลื่อนไปด้วยความไวที่มากขึ้น การที่สมองต้องตอบสนองต่อสารพัดข้อมูลบนโลกออนไลน์ก็ย่อมจะสร้างความเครียดและความอ่อนล้าให้กับสมองเช่นกัน
นอกจากนี้การนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ที่โต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ หรือการก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ตลอดเวลายังส่งผลต่อบุคลิกของคนวัยทำงาน เช่น การจะเห็นคนไหล่ตก คอตกมากขึ้น เพราะในแต่ละวันของเขาอยู่กับการนั่งท่าเดิมๆ ทั้งวัน ยิ่งเมื่อไม่ได้ออกกำลังกายหรือขยับเขยื้อนร่างกายด้วยแล้วก็ยิ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หลังค่อม ที่หากปล่อยไว้อย่างนี้เรื่อยๆ จะนำมาซึ่งอาการปวดหลังเรื้อรังได้
อีกผลกระทบหนึ่งของพฤติกรรม Multi-screen คืออาการที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS) ซึ่งมักจะพบในกลุ่มคนที่ทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ติดต่อกันเกิน 2-3 ชั่วโมง โดยอาการนี้จะมีตั้งแต่การปวดแสบดวงตา หรือบางครั้งอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย โดยทั่วไปอาการ CVS จะพบได้ในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 75% เลยทีเดียว แต่เพราะหลายๆ คนมักเข้าใจว่าเป็นอาการปวดตาเพียงชั่วคราว ทำให้บ่อยครั้งคนทำงานจึงไม่ระมัดระวังถึงอันตรายของอาการนี้ ฝืนใช้คอมพิวเตอร์ต่อไปโดยไม่รู้เลยว่า CVS จะส่งผลให้สุขภาพดวงตาเสื่อมโทรมได้ภายในช่วงสั้นๆ หรืออาจนำไปสู่การสูญเสียดวงตาได้เลยด้วยซ้ำ
เพราะดวงตาคืออวัยวะสำคัญของคนวัยทำงาน เราจึงควรจะหมั่นเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าอย่าใช้ดวงตาหนักเกินไป ต้องคอยระวังเมื่อจดจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เช่นกันที่ต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าให้ดวงตาได้พักผ่อนบ้างผ่านการเบนสายตาไปหาสิ่งอื่นที่ไม่ใช่หน้าจอ LCD หรือการหลับตาสัก 2-3 นาทีก็ช่วยลดความตึงเครียดของดวงตาลงได้
การหาเครื่องดื่มบำรุงสมองและสายตาก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งของคนวัยทำงานที่จำเป็นต้องใช้ชีวิต Multi-screen อยู่กับสารพัดหน้าจอเป็นเวลานานๆ อย่าง Peptein Plus เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของซอยเปปไทด์และวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาที่อ่อนล้า รวมถึงวิตามินบี 12 ที่ช่วยในการบำรุงระบบประสาทและสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยรสชาติที่ดื่มง่าย ไม่มีน้ำตาล และแคลอรีต่ำ (20 แคลอรีเท่านั้น) Peptein Plus จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใครๆ ก็ดื่มได้ทุกวัน ทุกเวลา ไม่ต้องกังวลเลยว่าดื่มเช้าไปจะมีปัญหา หรือดื่มค่ำไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย
นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่จะช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมประสิทธิภาพโดยไม่ทำร้ายสุขภาพในตัวคุณ
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
อ้างอิง: