ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันกันสูง การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันนั้นจะต้องวางแผนด้านต่างๆ อย่างรอบคอบ ทั้งเรื่องของการพัฒนาสินค้าและบริการ การเพิ่มยอดขายและผลกำไร การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย รวมถึงการสร้างแบรนด์และขยายฐานลูกค้า
ขณะเดียวกันสินทรัพย์ขององค์กรอย่าง ‘บุคลากร’ กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างผลประกอบการที่แข็งแกร่งและยั่งยืน
ข้อมูลจาก PwC ชี้ว่า การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานภายในองค์กรนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะพนักงานเปรียบเสมือนลูกค้าคนหนึ่งที่มีความคาดหวัง มีความต้องการที่อยากให้องค์กรส่งมอบสิ่งดีๆ และตรงตามความคาดหวังของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้
สิ่งที่ PwC พบคือ องค์กรที่สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานได้จะสามารถเพิ่มผลกำไรได้มากถึง 4 เท่า และสร้างรายได้ต่อพนักงานได้สูงขึ้นกว่า 3 เท่า อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการลาออกจากงานได้ถึง 40% เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้มีการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน
ซึ่งสำหรับ ‘ไทยออยล์’ หนึ่งในองค์กรยักษ์ใหญ่ของไทย ก็ได้ยกให้พนักงานมาเป็นอันดับหนึ่ง หรือ People First เพราะนี่ถือเป็นพลังที่จะผลักดันให้ไทยออยล์เติบโตจนเป็นองค์กร 100 ปี ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
‘คน’ คือขุมพลังหลัก
สิ่งที่น่าสนใจคือ ไทยออยล์ตระหนักว่า ‘คน’ เป็นขุมพลังหลักในการขับเคลื่อนองค์กร ฉะนั้นจึงมุ่งมั่นให้ความสำคัญในการดูแลคนมาเป็นอันดับหนึ่ง (People First)
จึงไม่แปลกที่กลุ่มไทยออยล์จะเอาใจใส่ดูแลพนักงานตั้งแต่วันแรกของการเริ่มงานจนถึงวันสุดท้ายของการทำงาน (Hire to Retire) ด้วยการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นเลิศ พร้อมสนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ
จุดนี้เองได้กลายเป็นที่มาของกลยุทธ์ ‘5 สุข’ ซึ่งริเริ่มขึ้นจากความตั้งใจที่จะดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานหลากหลายเจเนอเรชันในทุกมิติ
ไทยออยล์ได้ส่งมอบประสบการณ์ ‘ความสุข’ ให้พนักงานได้สัมผัสทุก ‘สุข’ Anywhere, Anytime ตามวิถี New/Next Normal โดยสามารถเข้าถึงและเติมเต็มได้ทุกเพศ ทุกเจเนอเรชัน อย่างสร้างสรรค์
‘4 สุข’ สู่ Happy Workplace
สำหรับ 4 สุขแรก ประกอบไปด้วย สุขกาย สุขใจ สุขเงิน และสุขสังคม ซึ่งทั้ง 4 สุขนี้ถูกวางเป้าหมายเพื่อสร้างให้ไทยออยล์เป็น Happy Workplace ที่พนักงานในองค์กรมีความสมดุลในชีวิตการทำงานภายใต้ความเชื่อที่ว่า เมื่อพนักงานได้รับประสบการณ์ในที่ทำงานที่ดีแล้ว พนักงานจะสามารถสรรค์สร้างผลงานให้องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะนี่คือโลกยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ไทยออยล์จึงนำ Digital Platform ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมประสบการณ์ของพนักงาน (Employee Experience) ในการตอบโจทย์ความสุขทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
- สุขกาย ที่ดูแลสุขภาพร่างกายของพนักงานเชิงรุก รวบรวมข้อมูลสุขภาพ ช่วยประเมินความเสี่ยง พร้อมคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของแต่ละคนที่เข้าใจง่าย ผ่าน Health Meter Application
- สุขใจ ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสุขทางใจ ไม่ว่าจะปัญหาเล็กหรือใหญ่ กังวลใจทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว พนักงานสามารถนัดหมายจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งพร้อมรับฟังทุกปัญหาทางใจผ่านวิดีโอคอล โดยพนักงานเป็นผู้ที่เลือกเวลาได้เอง
- สุขเงิน ที่สามารถนำสวัสดิการบางอย่างมาแลกเปลี่ยนเป็น Coins เพื่อใช้เบิกจ่ายสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ผ่าน Flexible Benefits Application
- สุขสังคม ที่ทำให้พนักงานสามารถสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกันได้ง่ายขึ้น แบบ Virtual Social ผ่าน SAP JAM Application และการร่วมสนุกเล่นเกม We Connected ผ่าน Microsoft Teams Application และ Kahoot ที่พนักงานทั้งองค์กรสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสนุกสนานต่างๆ ได้
เรียกได้ว่าเป็นการรับมือกับวิถีชีวิตใหม่ New Normal Work Life ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบโจทย์พนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกความสนใจ
‘สุขชื่นชม’ ยกระดับ ‘ความสุข’ ในการทำงานของพนักงานอีกขั้น
เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยออยล์ได้เพิ่มสุขที่ 5 คือ ‘สุขชื่นชม’ ที่ต้องการยกระดับ ‘ความสุข’ ในการทำงานของพนักงานขึ้นไปอีกขั้น โดยยกระดับ Recognition Culture หรือวัฒนธรรมการชื่นชม การให้กำลังใจซึ่งกันและกันในการทำงาน
วิลเลียม เจมส์ นักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า “หลักการที่ลึกซึ้งที่สุดของธรรมชาติของมนุษย์คือความปรารถนาที่จะได้รับการชื่นชม” ทำให้รู้สึกว่าการมีอยู่ของเรามีความสำคัญกับคนอื่น รู้สึกมีคุณค่า ได้รับการยอมรับ ซึ่งนี่ได้ชี้ให้เห็นว่า การชื่นชมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกของการทำงานทุกวันนี้
ข้อมูลจาก Work.com ชี้ว่า พนักงาน 54% จะลาออกจากงานในบริษัทที่พวกเขาไม่รู้สึกได้รับการชื่นชม นอกจากนี้พนักงานที่ไม่รู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับในการทำงานมีแนวโน้มที่จะลาออกจากงานในปีหน้าเป็น 2 เท่า
ดังนั้นการชื่นชมนี้เองถือเป็นการลด Boundary ระหว่างพนักงานกับผู้บริหาร และระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ไม่ว่าจะคนละแผนกหรือคนละฝ่าย การเริ่มต้นที่จะชื่นชม จะส่งพลังบวกเพื่อขอบคุณ ให้กำลังใจ และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงโควิดที่ทุกคนต้อง Work from Home ทำให้ไม่ได้เจอหน้ากัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอาจจะลดลงไปบ้าง แต่สุขชื่นชมจะทำให้พนักงานสามารถส่งพลังใจดีๆ ให้กันได้ เป็นกิมมิกน่ารักๆ ในการชื่นชมกันตั้งแต่เรื่องการทำงานด้วยความทุ่มเท ตั้งใจ และมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย ไปจนถึงการเป็นคนจิตใจดี ช่วยเหลือกัน และการมีน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่กัน ตามคุณลักษณะ ‘เก่ง-ดี-รักษ์องค์กร’
เรียกได้ว่า ‘ไทยออยล์’ นั้นใส่ใจพนักงานในทุกเรื่อง สมกับการยึดมั่นในหลักของ People First จริงๆ
อ้างอิง: