ย้อนกลับไปในปี 2542 โรงเรียนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาต้องเจอกับเหตุกราดยิงครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตเด็กไร้เดียงสาไปมากมาย แม้เหตุการณ์นั้นตำรวจสายตรวจในพื้นที่จะไปถึงที่เกิดเหตุได้ในไม่กี่นาที แต่ก็ไม่สามารถป้องกันความสูญเสียใดๆ ได้ เพราะพวกเขาไม่มีความสามารถพอที่จะรับมือ
หลังเกิดเรื่องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทบทวนและถอดบทเรียนร่วมกันจนนำไปสู่คู่มือสำหรับประชาชนและตำรวจให้พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งไม่เว้นวัน ในประเทศที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้ประชาชนมีสิทธิครอบครองอาวุธอย่างเสรี
‘หนี-ซ่อน-สู้’ บทเรียนเอาตัวรอดที่ประเทศไทยได้เรียนรู้มาจากสหรัฐอเมริกาถูกนำกลับมาให้ความสำคัญอีกครั้ง หลังเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำภู เหตุการณ์ที่สร้างความสูญเสียและแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ในประเทศไทย
“ถ้ามีตำรวจถือปืนแล้วไปยิงกราดคน ถ้าวันหนึ่งเขามีอาการทางจิต กรมตำรวจที่อเมริกาต้องหมดหลายสิบล้านดอลลาร์ เราจะโดนประชาชนฟ้องร้องเต็มที่”
“ประชาชนจะต้องปลอดภัย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราต้องสามารถ ต้องมีประสิทธิภาพจัดการสถานการณ์ให้ได้…การเป็นตำรวจยากที่สุดคือปฏิภาณ ไหวพริบ เสี้ยววินาทีที่คุณต้องตัดสินใจ”
“ถ้าเกิดเหตุกราดยิงขึ้นมาอีก เราจะไม่รอแล้ว แม้แต่สายตรวจจะต้องสามารถบุกเข้าไปได้เพื่อที่จะไปช่วยชีวิตประชาชน…ในฐานะที่ผมเป็นตำรวจ การที่คนสูญเสียชีวิตมันเป็นสิ่งที่น่าเศร้า แล้วยิ่งเป็นเด็กมันสะเทือนใจทุกคนอย่างมาก”
“การเป็นตำรวจเขาจะตรวจสอบอย่างละเอียด จนถึงเรื่องเครดิต ถ้าเครดิตศูนย์เข้าไม่ได้ เพราะคุณเข้ามามีสิทธิ์ที่จะคอร์รัปชัน…ถ้าคุณไม่รับผิดชอบเครดิตเงินทองคุณ คุณจะมารับผิดชอบชีวิตของประชาชนได้อย่างไร”
“การปฏิรูปตำรวจ ไม่ว่าจะอเมริกาหรือเมืองไทย ต่างก็มีการทำงานของตำรวจเหมือนกับ Economics ที่อเมริกาปฏิรูปอยู่เรื่อย แม้จะเป็นระดับ Micro ไม่ใช่ Macro แต่ก็ต้องทำ…เพราะโลกเราเทคโนโลยีมันเปลี่ยนอยู่เรื่อย”