×

“ผมพยายามเลือกทำในสิ่งที่ผมรัก” ความไม่ธรรมดาของ ‘พอล สิริสันต์’ จากดีเจ นักการตลาด และผู้บริหารค่ายเพลง สู่การเป็นซีอีโอ Vibal ผู้ให้บริการในธุรกิจอุตสาหกรรมบันเทิงที่อยากสร้างความแฟร์ให้กับทุกฝ่าย [ADVERTORIAL]

20.01.2024
  • LOADING...
Vibal Corporation

HIGHLIGHTS

6 min read
  • อีก 1 ปีต่อจากนี้ Vibal Corporation (ไวบอล คอร์ปอเรชั่น) ผู้ให้บริการในธุรกิจอุตสาหกรรมดนตรีและโปรดักชันเฮาส์ครบวงจร ที่ตั้งเป้าพลิกโฉมวงการผู้สร้างสรรค์ผลงานธุรกิจบันเทิงในประเทศไทย ด้วยธุรกิจโมเดลใหม่ที่มุ่งเน้นสนับสนุนศิลปินและครีเอเตอร์ในการสร้างสรรค์งานได้อย่างอิสระ และรับผลประโยชน์จากผลงานตนเองได้เต็มที่ อีกทั้งยังช่วยเสริม Ecosystem พร้อมยกระดับ New Creative Economy ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปลายปีนี้
  • ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ ผู้ที่ถูกวางตำแหน่งเป็นแม่ทัพผู้นำองค์กรอย่าง ‘พอล สิริสันต์’ ซึ่งมีประวัติที่ไม่ธรรมดา ตั้งแต่การเป็นดีเจ ปลุกปั้นค่ายหนังไทย เป็นนักการตลาดของบริษัทเครื่องดื่มระดับโลก ไปจนถึงผู้บริหารค่ายเพลง ซึ่งเขาย้ำว่า “ผมพยายามเลือกทำในสิ่งที่ผมรัก และเอาประสบการณ์ทางด้านธุรกิจ บวกกับแพสชันส่วนตัวในเรื่อง Creative Culture มาสร้างมุมมอง เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน Creative Industry เมืองไทยให้พัฒนาไปไกลยิ่งขึ้น 
  • กลุ่มเป้าหมายของ Vibal จะเป็นธุรกิจผลิตผลงานเชิงสร้างสรรค์ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ครอบคลุมทั้งการจัดหาพื้นที่และอุปกรณ์ รวมถึงการสนับสนุนเงินทุนสำหรับผู้ที่มีผลงานดีแต่ขาดเงินทุน
  • Vibal Corporation เป็นตัวอย่างที่ดีของการเชื่อมโยงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ ที่ส่งเสริมให้ศิลปินและครีเอเตอร์มีอิสระในการสร้างสรรค์และแสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริงผ่านงานศิลปะ นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมบันเทิงของไทย และเป็นการเปิดประตูสู่อนาคตที่สดใสสำหรับผู้สร้างสรรค์ทุกคนในอุตสาหกรรมนี้

อีก 1 ปีต่อจากนี้ Vibal Corporation (ไวบอล คอร์ปอเรชั่น) ผู้ให้บริการสตูดิโอ อุปกรณ์ถ่ายทำ บันทึกเสียง และ Post Production แบบครบวงจร รวมถึง Concert Hall ที่ตั้งเป้าพลิกโฉมวงการผู้สร้างสรรค์ผลงานธุรกิจบันเทิงในประเทศไทย ด้วยธุรกิจโมเดลใหม่ที่มุ่งเน้นสนับสนุนศิลปินและครีเอเตอร์ในการสร้างสรรค์งานได้อย่างอิสระ และรับผลประโยชน์จากผลงานตนเองได้เต็มที่ อีกทั้งยังช่วยเสริม Ecosystem พร้อมยกระดับ New Creative Economy ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปลายปีนี้

 

แต่ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ ผู้ที่ถูกวางตำแหน่งเป็นแม่ทัพผู้นำองค์กรอย่าง ‘พอล สิริสันต์’ ซึ่งมีประวัติที่ไม่ธรรมดา ตั้งแต่การเป็นดีเจ ปลุกปั้นค่ายหนังไทย เป็นนักการตลาดของบริษัทเครื่องดื่มระดับโลก ไปจนถึงผู้บริหารค่ายเพลง

 

“ผมพยายามเลือกทำในสิ่งที่ผมรัก” นี่คือประโยคที่พอลกล่าว และเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาตัดสินใจบุกเบิก Vibal Corporation

 

 

ย้อนกลับไป พอลเล่าว่าเขาชอบดนตรีตั้งแต่จำความได้ และชอบที่จะสร้างประสบการณ์ให้คนอื่นด้วย ตอนนั้นตัวเขาในวัย 15 ปี ได้ใช้โอกาสในวันครบรอบวันเกิดของน้องชายวัย 14 ปี จัดงานคอนเสิร์ตเล็กๆ เป็นการภายในในหมู่บ้าน

 

“ผมชอบเรียนรู้ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องสื่อ และกฎหมาย ทั้งๆ ที่เรื่องเหล่านี้อาจดูไม่เข้ากันก็ตาม” 

 

หลังจากจบปริญญาโททางด้านกฎหมายจากประเทศออสเตรเลีย พอลเริ่มทำงานแห่งแรกที่บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจภาพยนตร์ โดยจัดหาและซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากต่างประเทศ ด้วยความที่มีความรู้ด้านกฎหมาย จึงได้ทำงานในฝ่ายจัดซื้อและประสานงานกับฝ่ายการตลาดควบคู่กัน

 

ถึงอย่างนั้นด้วยความที่มีความรักดนตรีอยู่ในสายเลือด เมื่อทราบข่าวว่า Warner Music Thailand รับสมัครงาน จึงไม่รีรอที่จะไปสมัคร และได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการตลาดของศิลปินระดับโลกอย่าง Madonna, Linkin Park และ Green Day ในช่วงเวลานั้น 

 

หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในค่ายเพลงมาสักระยะหนึ่ง พอลก็มาร่วมงานกับ บริษัทเครื่องดื่มระดับโลก และได้เป็นผู้ปลุกปั้นเครื่องดื่มเซกเมนต์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนถูกดึงตัวไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก ก่อนที่จะเติบโตในสายงานด้วยการก้าวไปรับตำแหน่งอื่นที่ประเทศจีน สิงคโปร์ และเวียดนาม ตามลำดับ

 

 

ในขณะเดียวกันระหว่างทำงานที่ต่างประเทศ พอลยังออกเดินทางหาประสบการณ์ด้านดนตรีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ เพราะเชื่อว่าการจะเข้าใจผู้บริโภคได้นั้นจะต้องเอาตัวเองเข้าไปคลุกคลี จะมองแต่เพียงข้อมูลไม่ได้ หลังจากที่พอลย้ายมาเวียดนาม จึงกลับเมืองไทยบ่อยขึ้น และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งตลาดนัดขายของวินเทจที่โด่งดังที่สุดในเอเชีย

 

“การทำตลาดนัดขายของวินเทจในตอนนั้น ทำให้เรียนรู้ความสำคัญของการสร้างคอมมูนิตี้ขึ้นมา แม้ตอนนั้นแวดวงวินเทจอาจเป็นกลุ่มคนเล็กๆ แต่เมื่อรวมตัวกันก็สามารถที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้กับสังคมได้ 

 

เมื่ออยู่บริษัทเครื่องดื่มระดับโลกมานับ 10 ปี พอลก็มองว่าได้ทำอะไรที่เต็มอิ่มมากแล้ว ประกอบกับตอนนั้น Universal Music’ต้องการหา CEO ดูแลออฟฟิศในเมืองไทย เขาจึงไม่รีรอที่จะกลับเข้าสู่อุตสาหกรรมดนตรีอีกครั้ง โดยทำอยู่ 3 ปีครึ่ง เปลี่ยนจากค่ายที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเพลงไทยมาโลดแล่นในวงการเพลงไทยได้

 

แม้จะอยู่ค่ายเพลง แต่หนึ่งในตะกอนที่ติดค้างอยู่ในใจของพอลคือ อยากจะสร้างบริษัทที่ผลักดันให้ศิลปินมีอิสระในการสร้างงาน และเป็นเจ้าของผลงานที่ตัวเองผลิตออกมา เพราะเชื่อว่าในอนาคตจะมีศิลปินในอีกหลากหลายแขนงที่อยากจะมีอิสระในการบริหารตัวเอง 

 

“โดยเราตั้งใจที่จะสร้างบริษัทที่ให้บริการแก่ศิลปินและบุคคลอื่นๆ ใน Creative Economy ไม่ได้มองตัวเองเป็นนักลงทุนที่จะเข้าไปครอบศิลปิน”

 

 

กลุ่มเป้าหมายของ Vibal จะเป็นธุรกิจ Production Facility ที่เอื้ออำนวยงานสร้างสรรค์ทุกสเกล ไม่ว่าจะเล็กไปถึงใหญ่ โดยรูปแบบจะมีทั้งที่เป็นการปล่อยเช่าพื้นที่, Concert Hall, อุปกรณ์ ไปจนถึงการสนับสนุนเงินทุนในรายที่มีความคิดสร้างสรรค์ดีแต่ขาดเงินทุน

 

“เราทำงานแบบมองครบจบในที่เดียว ไม่ใช่แค่ช่วยเติมจิ๊กซอว์ให้ Ecosystem ในอุตสาหกรรมการผลิตผลงานเพื่อความบันเทิง แต่ยังเป็นการส่งเสริม New Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ในประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างเป็นรูปธรรม” 

 

New Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ จะถูกขับเคลื่อน โดยเหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงานอิสระไร้สังกัดหรือครีเอเตอร์รายย่อย ดังนั้นการเสนอสิ่งที่จำเป็นให้รายย่อยเข้าถึง จึงเป็นการนำเสนอโมเดลธุรกิจใหม่ที่ช่วยให้รายย่อยผู้มีไอเดีย ศิลปินที่มีฝีมือแต่ขาดเงินทุน สามารถผลิตผลงานและได้รับผลประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ของตนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

 

บริการของ Vibal แบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน เริ่มจากโปรดักชันสตูดิโอที่ติดตั้งเทคโนโลยีทันสมัย ได้แก่ Virtual Production ที่สามารถยกระดับงานถ่ายทำได้อย่างมาก 

 

ส่วนที่ 2 Creator Studio อีกหนึ่งไฮไลต์ของธุรกิจของ Vibal ซึ่งอยู่ภายในโครงการ Cloud 11 เช่นกัน โดยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เตรียมไว้ เน้นการบ่มเพาะและสร้างสังคมครีเอเตอร์ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ Cloud 11 เช่น Music Studio, Photography, Color Grading and Editing ที่มีทั้งห้องอัดเสียง ห้องถ่ายทำ ซ้อมเต้น ซ้อมดนตรี เพื่อการพัฒนาย่านสุขุมวิทใต้ให้เป็นแหล่งรวมของการสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นนวัตกรรมจากคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์รูปแบบใหม่เช่นกัน

 

ส่วนที่ 3 เป็นการให้บริการพื้นที่อเนกประสงค์กว่า 5,000 ตารางเมตร และจะเป็นเวทีการแสดงที่สามารถจุคนได้กว่า 3,000 คน รวมถึงโรงละครขนาดเล็ก (300 คน) ที่จะสามารถรองรับการแสดงละครเวทีได้อีกด้วย

 

และส่วนที่ 4 ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ได้แก่ ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจความบันเทิง (Consultation and Entertainment Management) ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจความบันเทิงเป็นผู้ให้คำแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นและพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

 

 

ส่วนสุดท้ายคือพื้นที่สังสรรค์รูปแบบใหม่ (Such a) Small World (ซัชอะสมอลเวิลด์) ซึ่งจะเป็นพื้นที่ Co-playing Space ตั้งอยู่ย่านเมืองเก่าเจริญกรุง-ตลาดน้อย ที่ซึ่งเพียบพร้อมด้วยกิจกรรมที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นลิสต์ภาพยนตร์มากมาย, มีเครื่องเล่นแผ่นเสียงและคอลเล็กชันแผ่นเสียงจำนวนเกือบ 6,500 แผ่น, เป็นห้องสมุดแผ่นเสียงแบบสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย, เครื่องเล่น PlayStation 5, Nintendo Switch, บอร์ดเกม รวมทั้งเป็นที่แสดงงานศิลปะ โดยเปิดตัวไปเมื่อช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา

 

พอลมองความท้าทายของ Vibal คือการที่ “ทำอะไรที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” แต่พอล เชื่อว่าถ้าบริษัทสามารถสร้าง Value ให้กับสังคม Creative Industry ได้ บริษัทก็จะยั่งยืน 

 

โดยปลายทางที่พอลอยากเห็นคือ “อยากเห็น Creative Economy ถูกผลักดันโดยผู้คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริงๆ ไม่ใช่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง อยากให้ทั้งแบรนด์หรือองค์กรต่างๆ เข้ามาเป็นจิ๊กซอว์ที่จะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านความหลากหลายที่มากขึ้น”

 

นอกจากนี้ หลังจากจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2567 นั้น พอลอยากจะให้ Vibal ขึ้นแท่นเป็นผู้นำธุรกิจนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใน 2 ปี หรือภายในปี 2568

 

 

การเปิดตัวของ Vibal Corporation นับเป็นก้าวสำคัญในอุตสาหกรรมดนตรีและโปรดักชันเฮาส์ของไทย การปรับเปลี่ยนและนำเสนอธุรกิจโมเดลใหม่ที่เน้นการสนับสนุนศิลปินและครีเอเตอร์ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระ และรับผลประโยชน์จากผลงานของตนเองได้อย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่เป็นการยกระดับธุรกิจบันเทิงในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้ Ecosystem ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใหม่ (New Creative Economy) เติบโตอย่างยั่งยืน

 

Vibal Corporation จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการเชื่อมโยงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ ที่ส่งเสริมให้ศิลปินและครีเอเตอร์มีอิสระในการสร้างสรรค์และแสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริงผ่านงานศิลปะ นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมบันเทิงของไทย และเป็นการเปิดประตูสู่อนาคตที่สดใสสำหรับผู้สร้างสรรค์ทุกคนในอุตสาหกรรมนี้

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X