×

อมรัตน์-สุพิศาล ลาออกที่ปรึกษารองประธานสภาแล้ว หลังปดิพัทธ์ทยอยพูดคุยหาสังกัดพรรคการเมืองใหม่ คาดตัดสินใจได้กลางเดือนนี้

โดย THE STANDARD TEAM
04.10.2023
  • LOADING...
ปดิพัทธ์ ทยอยพูดคุยหาพรรคการเมืองใหม่ อมรัตน์-สุพิศาล ลาออกที่ปรึกษา

วันนี้ (4 ตุลาคม) ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงการตัดสินใจแล้วหรือไม่ว่าจะไปสังกัดพรรคการเมืองใด หลังถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล ว่าขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มพูดคุยว่าจะไปอยู่พรรคไหน ซึ่งอันดับแรกจะต้องเห็นด้วยกับนโยบายของพรรคก่อน ต้องเห็นด้วยกับอุดมการณ์ของพรรค และต้องดูความคาดหวัง ตนอยากไปทำตัวให้มีประโยชน์กับพรรคใหม่ โดยพรรคที่ตนจะไปสังกัดต้องพูดเรื่องนี้กับตนให้ชัดเจน แต่ต้องย้ำว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ต้องติดต่อมาให้เสียเวลา 

 

ต่อคำถามที่ว่า ตัดสินใจแล้วหรือไม่ว่าจะไปสังกัดพรรคใด ปดิพัทธ์กล่าวว่า มีพรรคมาให้เลือกเยอะ พรรคฝ่ายค้านขณะนี้มีให้เลือก 2 พรรค หรือแม้กระทั่งพรรคนอกสภาที่กำลังพิจารณาอยู่ด้วย เนื่องจากมีข้อเสนอเข้ามาเช่นกัน

 

ส่วนจะสังกัดพรรคใหม่เมื่อใดนั้น ปดิพัทธ์กล่าวว่า ตนมีเวลา 30 วัน โดยสุดท้ายในการตัดสินใจคือวันที่ 28 ตุลาคมนี้ หากสัปดาห์นี้การเดินหน้าพบปะพูดคุยกันเป็นไปได้ด้วยดี ก็สามารถตัดสินใจได้ภายในกลางเดือนนี้ 

 

หลังจากถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งรองประธานสภาที่ตั้งขึ้นมาจะเดินหน้าต่ออย่างไร ปดิพัทธ์กล่าวว่า คนที่มีตำแหน่งในพรรคก้าวไกล เช่น พล.ต.ต. สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ที่ปรึกษารองประธานสภา ได้ยื่นหนังสือลาออกเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับ อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ที่ปรึกษารองประธานสภาอีกคนก็ได้ขอลาออกด้วยวาจาแล้ว โดยขณะนี้ติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาจะยื่นใบลาออกอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ซึ่งคณะทำงานคนไหนที่ยังมีบทบาทในพรรคก้าวไกลอย่างเป็นทางการจะต้องลาออกทั้งหมด หากมีความสัมพันธ์กับพรรค และไม่มีตำแหน่งใดๆ เราสามารถเป็นคณะทำงานร่วมงานกับตนได้ โดยตามกฎหมายไม่ได้ห้าม แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยจะทำทุกอย่างให้โปร่งใสและเปิดเผยรายชื่ออีกครั้ง 

 

เมื่อถามว่าอาจมีการส่งเรื่องให้ กกต. หรือศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องการขับออกจากพรรคก้าวไกลโดยมิชอบนั้น ปดิพัทธ์กล่าวว่า หากย้อนกลับไปดูคำแถลงวิสัยทัศน์ก่อนเข้ามาดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นั้น ตนเคยประกาศว่า จำเป็นต้องฟื้นฟูองค์กรที่เรียกว่านิติบัญญัติให้ไม่อยู่ใต้อาณัติของรัฐบาล และไม่อยู่ใต้อาณัติของตุลาการ สามอำนาจอธิปไตยจำเป็นที่จะต้องถ่วงดุลและเป็นอิสระจากกัน ซึ่งหวังว่าจะสามารถจัดการเรื่องนิติบัญญัติภายในองค์กรเองได้ หากนิติบัญญัติยังต้องพึ่งพาองค์กรที่เต็มไปด้วยคำถามเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง โดยเฉพาะองค์กรอิสระที่ยังมีองคาพยพมาจากการสืบทอดอำนาจของ คสช.

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X