×

15 มิถุนายน 2505 – ศาลโลกตัดสินให้ ‘ตัวปราสาทพระวิหาร’ เป็นของกัมพูชา

โดย THE STANDARD TEAM
08.06.2020
  • LOADING...

คดีปราสาทพระวิหารเป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร 

 

ไทยและกัมพูชาถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท

 

ฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2502

 

วันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกตัดสินด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ตัดสินว่าไทยต้องคืนวัตถุสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลาส่วนปรักหักพังของอนุสาวรีย์รูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผาโบราณ และปราสาทหรือบริเวณเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา

 

วันที่ 13 กรกฎาคม 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง อูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก โดยอ้างว่า คำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม นอกจากนี้ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต

 

50 ปีผ่านไป คดีความเรื่องเขาพระวิหารปะทุขึ้นอีกครั้ง เมื่อกัมพูชานำคดีเขาพระวิหารไปสู่ศาลโลกในปี 2554

 

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 เวลา 16.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) องค์คณะตุลาการ ศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาได้ยื่นร้องขอให้ศาลโลกตีความตามธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60 เรื่องข้อพิพาทในพื้นที่ใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร

 

คําพิพากษาของศาลโลกมีสาระสําคัญโดยสรุป ดังนี้

 

  1. ศาลโลกรับตีความตามคําร้องของฝ่ายกัมพูชาเฉพาะในประเด็นที่ศาลเห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจแตกต่างกัน และเฉพาะภายในขอบเขตของคําพิพากษาปี 2505 

 

  1. ศาลโลกไม่รับพิจารณาประเด็นเส้นเขตแดน หากแต่พิจารณาเฉพาะประเด็นอธิปไตยเหนือตัวปราสาทพระวิหารและขอบเขตของบริเวณใกล้เคียงปราสาท ซึ่งคําตัดสินของศาลโลกเป็นไปตามแนวทางการสู้คดีของฝ่ายไทย โดยศาลไม่รับพิจารณาข้อเรียกร้องของกัมพูชาเหนือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และศาลไม่ได้ตัดสินว่าแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000 ผูกพันไทยภายใต้คดีเดิมในฐานะเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา 

 

  1. ศาลโลกรับพิจารณาเกี่ยวกับบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นบริเวณพื้นที่ขนาดเล็ก และศาลได้อธิบายขอบเขตของบริเวณดังกล่าวในทางสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งจํากัดอยู่เฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร ไม่รวมถึงภูมะเขือ โดยในขั้นตอนต่อไป ไทยและกัมพูชาจะต้องหารือกันในรายละเอียดของขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทต่อไป 

 

  1. ศาลโลกแนะนําให้ไทยและกัมพูชาร่วมกันพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising