วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นครั้งแรกในประเทศสยาม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ พร้อมดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก อีกทั้งยังได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ (จดหมาย) ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า ‘ไปรษณียาคาร’
ด้วยเหตุนี้กิจการไปรษณีย์ไทยจึงถือกำเนิดในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจัดทำตั๋วแสตมป์สำหรับการส่งหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นกิจการไปรษณีย์ภายในกรุงเทพฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
แม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะมีขนส่งเอกชนมาแข่งขันหลากหลายเจ้า แต่ไปรษณีย์ไทยยังคงมีจุดแข็งเรื่องการเข้าถึงทุกซอกซอยของประเทศ อีกทั้งยังมีความคุ้นเคยของพนักงานส่งจดหมายและพัสดุที่รู้จักแทบทุกบ้านของพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ