×

ส่องอนาคตของวงการดนตรี เมื่อโดนดิสรัปต์ด้วย NFT เพลง

30.12.2021
  • LOADING...
NFT music

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • เช่นเดียวกับงานศิลปะ NFT ที่พวกมันสามารถสร้างมูลค่าที่สูงลิ่ว ดังนั้นผลงานเพลงต่างๆ ก็ถูกยกระดับมูลค่าขึ้นเมื่อกลายสภาพเป็น NFT ทำให้หนึ่งเพลงสามารถมีเจ้าของได้แค่หนึ่งคนเท่านั้น มูลค่าของเพลง NFT จึงไม่ต่างจากงานศิลปะในแกลเลอรีหรือพิพิธภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
  • ทว่าเราอาจตั้งคำถามในใจขึ้นว่าในเมื่อเราสามารถซื้อเพลงจาก iTunes ได้ในราคา 20 บาท ทำไมคนถึงต้องไปซื้อเพลงในราคาเกินแสนด้วย คำตอบคือ หนึ่ง ความสุขของการได้เป็นเจ้าของ การรับส่วนแบ่งค่า Royalty มากถึง 50% และยังสามารถขายเพลงนี้ต่อในอัตรากำไร หากมูลค่าเพลงสูงขึ้นตามชื่อเสียงของศิลปินที่โด่งดังยิ่งขึ้น
  • ศิลปินที่ทำเงินจากช่องทางนี้ต้องมีคุณสมบัติหลายอย่าง ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น ทั้งการสร้าง Wallet การลงงานในแพลตฟอร์ม การใช้ Twitter หรือ Discord ต้องมีการตลาดที่เก่ง ขยันผลิตคอนเทนต์ออกมาถี่ๆ และที่สำคัญคือต้องมีเวลา ดังที่เห็นจากศิลปิน Daniel Allan ผู้ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมงต่อวันใน Discord เพื่อสร้างฐานแฟนกว่าจะทำเงินได้

 

วงจรใหม่นี้คือการล้มระบบดนตรีแบบเดิมที่มีค่ายต้นสังกัดมาเป็นคนกลางคอยกินส่วนต่าง และควบคุมความคิดสร้างสรรค์ของตัวศิลปิน เพราะจากเดิมศิลปินต้องเซ็นสัญญากับค่าย และเมื่อทำเงินได้ก็ต้องถูกหักค่าฝึกซ้อม ค่า MV ค่าการตลาด ฯลฯ ซึ่งการตัดค่ายเพลงออกไปก็ทำให้ศิลปินมีอิสระในการแต่งเพลงในรูปแแบบที่ตัวเองต้องการมากขึ้น และแฟนเพลงก็ยังสามารถสนับสนุนศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบได้โดยตรง ทำให้ไม่ว่าศิลปินหน้าไหน จะรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ก็สามารถทำเงินหลักแสนถึงหลักล้านผ่านดนตรี NFT ได้ในชั่วข้ามคืนโดยไม่ต้องรออะไรอีกต่อไป 

 

ในโลกที่หมุนอย่างรวดเร็ว อีกสิ่งหนึ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปตลอดกาลคือวงการดนตรี เพราะ NFT ในรูปแบบของเพลงกำลังจะมาแทนที่การสร้างและกระจายดนตรีรูปแบบเดิมๆ

 

ในยุคปัจจุบันที่ทุกคนฟังเพลงผ่านสตรีมมิง ไม่ว่าจะเป็น Apple Music, Spotify, YouTube Premium ฯลฯ ทำให้ศิลปินที่อยู่เบื้องหลังได้รับค่าตอบแทนจากจำนวนครั้งที่คนกดฟังเพลง ซึ่งคิดเป็นจำนวนเศษเสี้ยวของเศษเหรียญอีกที อยู่ที่ราวๆ 0.003-0.0084 ดอลลาร์ หรือไม่ถึง 50 สตางค์ด้วยซำ้ต่อการสตรีมหนึ่งครั้ง ทำให้ต่อให้มีคนฟังเป็นล้าน รายได้ก็ยังอยู่ที่หลักร้อย และสิ่งที่เกิดขึ้นคือรายได้จากการสตรีมมิง 90% ทั้งหมดตกไปอยู่ในมือศิลปินระดับท็อปเพียง 1% เท่านั้น

 

แต่ความเหลื่อมล้ำในวงการดนตรีเหล่านี้กำลังจะหายไป เพราะเหล่านักดนตรีและกลุ่มแฟนเพลงได้หันมาปฏิรูปวงการนี้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งก็คือ NFT ในรูปแบบของเพลงที่จะเอื้อประโยชน์อย่างมากกับศิลปินอิสระหรือไม่สังกัดค่ายใหญ่ 

 

NFT music

Kings of Leon ออกอัลบั้ม When You See Yourself ในรูปแบบ NFT 

ภาพ: Danielle Del Valle / Getty Images

 

NFT music

Steve Aoki ก็เข้าสู่ตลาด NFT เช่นกัน 

ภาพ: Neville Hopwood / Getty Images for MDLBEAST SOUNDSTORM 

 

สิ่งนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร? 

เช่นเดียวกับงานศิลปะ NFT ที่พวกมันสามารถสร้างมูลค่าที่สูงลิ่ว ดังนั้นผลงานเพลงต่างๆ ก็ถูกยกระดับมูลค่าขึ้นเมื่อกลายสภาพเป็น NFT ทำให้หนึ่งเพลงสามารถมีเจ้าของได้แค่หนึ่งคนเท่านั้น มูลค่าของเพลง NFT จึงไม่ต่างจากงานศิลปะในแกลเลอรีหรือพิพิธภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

 

ทว่าเราอาจตั้งคำถามในใจขึ้นว่าในเมื่อเราสามารถซื้อเพลงจาก iTunes ได้ในราคา 20 บาท ทำไมคนถึงต้องไปซื้อเพลงในราคาเกินแสนด้วย คำตอบนั้นมีทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ หนึ่ง คือความสุขของการได้เป็นเจ้าของ เสมือนนักสะสมที่ซื้อภาพมาแขวนไว้ที่บ้าน แต่นอกจากการเป็นเจ้าของแล้ว เหล่าผู้สนับสนุนยังสามารถทำเงินต่อได้ ด้วยการรับส่วนแบ่งค่า Royalty มากถึง 50% และยังสามารถขายเพลงนี้ต่อในอัตรากำไร หากมูลค่าเพลงสูงขึ้นตามชื่อเสียงของศิลปินที่โด่งดังยิ่งขึ้น

 

NFT music

Grimes ถือเป็นศิลปินเบอร์แรกๆ ที่ทำเพลง NFT และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

ภาพ: @grimes

 

NFT music

Young & Sick ศิลปินอิสระที่ทำเพลงขายใน Nifty Gateway 

ภาพ: https://niftygateway.com/profile/youngandsick

 

และเหนือสิ่งอื่นใด วงจรใหม่นี้คือการล้มระบบดนตรีแบบเดิมที่มีค่ายต้นสังกัดมาเป็นคนกลางคอยกินส่วนต่าง และควบคุมความคิดสร้างสรรค์ของตัวศิลปิน เพราะจากเดิม ศิลปินต้องเซ็นสัญญากับค่าย และเมื่อทำเงินได้ก็ต้องถูกหักค่าฝึกซ้อม ค่า MV ค่าการตลาด ฯลฯ ซึ่งการตัดค่ายเพลงออกไปก็ทำให้ศิลปินมีอิสระในการแต่งเพลงในรูปแแบบที่ตัวเองต้องการมากขึ้น และแฟนเพลงก็ยังสามารถสนับสนุนศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบได้โดยตรง ทำให้ไม่ว่าศิลปินหน้าไหน จะรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ก็สามารถทำเงินหลักแสนถึงหลักล้านผ่านดนตรี NFT ได้ในชั่วข้ามคืน โดยไม่ต้องรออะไรอีกต่อไป 

 

ทั้งหมดนี้ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่จริงๆ แล้วก็มีความยากแฝงอยู่ เพราะศิลปินที่ทำเงินจากช่องทางนี้ต้องมีคุณสมบัติหลายอย่าง ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น ทั้งการสร้าง Wallet การลงงานในแพลตฟอร์ม การใช้ Twitter หรือ Discord ต้องมีการตลาดที่เก่ง ขยันผลิตคอนเทนต์ออกมาถี่ๆ และที่สำคัญคือต้องมีเวลา ดังที่เห็นจากศิลปิน Daniel Allan ผู้ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมงต่อวันใน Discord เพื่อสร้างฐานแฟนกว่าจะทำเงินได้

 

NFT music

Daniel Allan ศิลปินผู้ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมงต่อวันใน Discord เพื่อสร้างฐานแฟนกว่าจะทำเงินได้

 

NFT music

Bored Ape Yacht Club ในชื่อวง Kingship 

 

โดยรวมแล้ว NFT ดนตรีเป็นเรื่องที่ใหม่มาก พอๆ กับโลก Metaverse และยังเป็นเพียงคอนเซปต์มากกว่าการใช้งานจริง เราจึงยังมีพื้นที่ให้วิวัฒนาการและสร้างโอกาสอีกมาก ส่วนยักษ์ใหญ่อย่างค่าย Warner Music Group และ Universal Music Group ก็หันมาคว้าโอกาสนี้ด้วยการสร้างอวตารให้ศิลปินในค่าย และการสร้างวงดนตรีใหม่จากคอลเล็กชัน NFT ในตำนานอย่าง Bored Ape Yacht Club ในชื่อวง Kingship เรียกได้ว่าในปีถัดไปเราคงได้เห็นอะไรใหม่ๆ อีกมากจากอุตสาหกรรมดนตรีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนในประเทศไทยเราอาจจะได้เห็นศิลปินอิสระออกมารวมพลังทำอัลบั้ม NFT ดนตรีร่วมกันก็เป็นได้

 

คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising